Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 7 ต.ค.63 (YLG)

- Advertisement -

1 404

- Advertisement -

หากราคาดีดตัวขึ้นแนะนำขาเพื่อลดพอร์ตสถานะซื้อลง หากราคาขยับไม่ผ่านแนวต้าน 1,883-1,896 ดอลลาร์ต่อออนซ์ การเข้าซื้อคืนอาจทยอยบางส่วนบริเวณแนวรับโซน 1,863 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,863 1,847 1,833  แนวต้าน : 1,996 1,940 1,921

สรุป  ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 27.41  ดอลลาร์ต่อออนซ์  ถึงแม้ในระหว่างวันความหวังว่าทำเนียบขาวจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับสภาคองเกรสเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ได้กดดันดอลลาร์ให้อ่อนค่า  จนเป็นปัจจัยหนุนทองคำให้ทะยานขึ้นทำระดับสูงสุดครั้งใหม่ที่ 1,921.14 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไร  ประกอบกับสกุลเงินดอลลาร์ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด จึงเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกของราคาทองคำเพิ่มเติม  ก่อนที่ราคาทองคำจะดิ่งลงอย่างหนักในทันทีที่ประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐทวีตข้อความสั่งการให้คณะบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ “ยุติ” การเจรจาเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ไปจนถึงหลังวันเลือกตั้ง  ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนอย่างมาก  เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐ  ข่าวดังกล่าวส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงร่วงลง  และกลับเข้าซื้อดอลลาร์ในสกุลเงินปลอดภัยอีกครั้ง  จนเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงกว่า 50 ดอลลาร์ต่อออนซ์  จากระดับสูงสุดในระหว่างวันสู่ระดับต่ำสุดในช่วงเช้าวันนี้ในตลาดเอเชียบริเวณ 1,872 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR  ถือครองทองคำลดลง -4.08 ตันสู่ระดับ 1,271.52 ตัน  สำหรับวันนี้  ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ  แต่แนะนำติดตามการเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC Meeting Minutes ประจำวันที่ 15-16 ก.ย.

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) “พาวเวล”วอนคองเกรสเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ  นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเรียกร้องให้สภาคองเกรสออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่สหรัฐยังคงจำเป็นต้องมีการใช้มาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น  นายพาวเวลระบุว่า แม้ว่าขณะนี้มีความคืบหน้าในการสร้างงาน และการบริโภค แต่ผู้กำหนดนโยบายยังคงต้องเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป มิฉะนั้นจะส่งผลให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างอ่อนแอ และส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน  “ในทางตรงกันข้าม จะมีความเสี่ยงน้อยมากจากการกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป โดยหากเจ้าหน้าที่ดำเนินนโยบายมากกว่าที่จำเป็น สิ่งนี้ก็จะไม่สูญเปล่า โดยการฟื้นตัวจะแข็งแกร่งและรวดเร็วขึ้น หากมีการใช้นโยบายการเงินและการคลังควบคู่กันเพื่อพยุงเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะวิกฤต” นายพาวเวลกล่าว
  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขเปิดรับสมัครงานลดลงครั้งแรกรอบ 4 เดือนในส.ค.  สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยลดลง 204,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 6.49 ล้านตำแหน่งในเดือนส.ค.
  • (+) สหรัฐเผยขาดดุลการค้าพุ่งสูงสุดรอบ 14 ปีในเดือนส.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐพุ่งขึ้นมากกว่าคาดในเดือนส.ค. โดยเพิ่มขึ้น 5.9% สู่ระดับ 6.71 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2549 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.61 หมื่นล้านดอลลาร์
  • (+) WHO ชี้ประเทศทั่วโลกอาจได้รับวัคซีนต้านโควิด-19 ช่วงปลายปีหน้า  องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ประเทศทั่วโลกอาจได้รับวัคซีนต้านโควิด-19 ในช่วงปลายปีหน้า ซึ่งล่าช้ากว่าที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะมีการแจกจ่ายวัคซีนในช่วงกลางปีหน้า  นายโซคอร์โร เอสคาแลนเต ผู้ประสานงานประจำภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกของ WHO กล่าวว่า ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ COVAX ของ WHO ซึ่งเป็นโครงการกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 ให้แก่ประเทศสมาชิก จะยังไม่สามารถได้รับวัคซีนดังกล่าวเป็นเวลาอีกกว่า 1 ปีจากในขณะนี้ เมื่อพิจารณาจากความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการเลื่อนเป้าหมายกำหนดเวลาสำหรับโครงการ COVAX ในการรับวัคซีนจำนวน 2 พันล้านโดสออกไปเป็นปลายปีหน้า 
  • (-) ทรัมป์สั่งระงับเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกับเดโมแครตจนถึงหลังวันเลือกตั้ง  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้สั่งการให้คณะบริหารของทำเนียบขาวระงับการเจรจาเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่กับพรรคเดโมแครต ไปจนถึงหลังวันเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย.  “ผมได้สั่งการให้คณะบริหารของผมระงับการเจรจาไปจนถึงหลังวันเลือกตั้ง ซึ่งเมื่อผมชนะการเลือกตั้ง เราก็จะผ่านร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การให้ความช่วยเหลือชาวอเมริกันที่ทำงานหนัก และภาคธุรกิจขนาดเล็ก” ปธน.ทรัมป์ทวีตข้อความในวันอังคารตามเวลาสหรัฐ
  • (-) ดอลล์แข็งค่า รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหลังทรัมป์ระงับเจรจาแผนกระตุ้นศก.  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้สั่งการให้คณะบริหารของทำเนียบขาวระงับการเจรจาเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่กับพรรคเดโมแครต ไปจนถึงหลังวันเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.18% แตะที่ระดับ 93.6840 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9166 ฟรังก์ จากระดับ 0.9160 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3297 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3268 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 105.55 เยน จากระดับ 105.72 เยน  ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1752 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1774 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2900 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2971 ดอลลาร์
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดร่วง 375.88 จุด หลังทรัมป์ระงับเจรจามาตรการกระตุ้นศก.  ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ต.ค.) หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้สั่งการให้คณะบริหารของทำเนียบขาวระงับการเจรจาเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่กับพรรคเดโมแครต ไปจนถึงหลังวันเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย. ซึ่งข่าวดังกล่าวถือเป็นการดับความหวังของนักลงทุนที่ต่างก็เชื่อมั่นว่า ทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตจะสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อออกมาตรการดังกล่าวในเร็วๆนี้  ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 27,772.76 จุด ลดลง 375.88 จุด หรือ -1.34% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,154.60 จุด ลดลง 177.89 จุด หรือ -1.57% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,360.95 จุด ลดลง 47.68 จุด หรือ -1.40%

- Advertisement -

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Leave A Reply

Your email address will not be published.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More