Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

“ ทรัมป์ ” จะสร้างปาฎิหารย์ได้อีกคำรบหรือไม่

- Advertisement -

301

- Advertisement -

วันนี้( 3 พ.ย.) เป็นอีกหนึ่งวันที่มี่ความสำคัญของอเมริกันชน เพราะจะได้ไปลงคะแนนเพื่อเลือกผู้นำประเทศคนใหม่ ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ถูกจับตาจากทุกฝ่ายทั่วโลก เพราะผู้ที่คว้าชัยและได้ขึ้นมาเป็นผู้นำของสหรัฐคนต่อไป จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโลกอย่างแน่นอน

ที่สำคัญสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้งในครั้งนี้จะคล้ายคลึงกับเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา ที่”ฮิลลารี่ คลินตัน” มีคะแนนเหนือ “โดนัล ทรัมป์” ซึ่งนักวิเคราะห์ทุกสำนักก็ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า “ฮิลลารี่”ชนะแบบแบเบอร์แต่สุดท้าย”ทรัมป์”กลับมาพลิกชนะ

..ทำให้ ในครั้งจึงยังไม่มีใครกล้าที่จะฟันธงตรงๆ ว่าใครจะเข้าป้าย แม้ว่าผลคะแนนความนิยม ของโจ ไบเดน” นำห่างจาก”ทรัมป์” อยู่ระดับหนึ่งก็ตาม

ก่อนหน้านี้ Traderider.com ได้นำเสนอบทความ  เรื่อง “การขึ้นแท่นของ”ไบเดน”จากโพลทุกสำนักจะประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือน 4 ปีที่แล้วหรือไม่?” ซึ่งถือว่าน่าสนใจทีเดียว จึงอยากจะนำมาให้ได้อ่านกัน   

- Advertisement -

ทุก ๆ ครั้งที่ ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวถึงผลคะแนนที่ตามหลัง โจ ไบเดน คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ตามผลรายงานของโพลทุกสำนัก เจ้าตัวก็มักจะกล่าวตอบโต้ข้อมูลเหล่านั้นอยู่เสมอว่าล้วนเป็นข่าวเท็จ เพราะหากผลโพลถูกต้องทุกครั้ง เหตุใดจึงยังได้ครองตำแหน่งผู้นำของประเทศแทนที่จะเป็น “ฮิลลารี คลินตัน” ซึ่งคะแนนนำหน้าจากผลสำรวจทั่วประเทศในปี 2016 เช่นกัน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหาก “ทรัมป์” จะคิดว่าสุดท้ายแล้วจะยังได้ครองบัลลังก์ในทำเนียบขาวต่ออีกสมัย อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสำรวจก็ได้กล่าวไว้ว่า มีเหตุผลดี ๆ หลายข้อที่จะทำให้โพลของปีนี้มีความน่าเชื่อถือกว่าเมื่อปี 2016

จากการพลิกกลับมาเป็นฝ่ายคว้าชัยชนะของ “ทรัมป์” เมื่อ 4 ปีก่อน ก็ทำให้นักสำรวจความเห็นประชาชนปรับเปลี่ยนวิธีการการสำรวจในสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงการแบ่งกลุ่มประชากรศาสตร์ให้ดีขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับข้อมูลเฉพาะจากกองเชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

จากการศึกษาที่ผ่านมาทำให้พบว่า กลุ่มคนขาวที่มีการศึกษาไม่เกินระดับไฮสคูลมักโอนเอียงไปทางฝ่ายรีพับลิกัน จึงให้โพลต่าง ๆ ซึ่งร่วมถึง Reuters/Ipsos ใช้วิธีถ่วงน้ำหนักเรื่องการศึกษาลงไปในผลสำรวจปีนี้ นั่นก็หมายถึงหากผลสำรวจทำการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มคนขาวที่การศึกษาไม่สูงได้น้อยลง ก็จะทำให้ผลสำรวจของข้อมูลชุดนั้นมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ

เหตุผลสำคัญต่อมาก็น่าจะเป็นเรื่องที่ชาวอเมริกันเป็นจำนวนมากติดปัญหาในการตัดสินใจ เมื่อทั้ง “ทรัมป์” และ “คลินตัน” ต่างไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนักในเวลานั้น จนมีรายงานที่ชี้ว่าผู้มีสิทธิโหวตราว 20% ยังไม่ฟันธงว่าจะเลือกใครจนกระทั่งสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้งในปี 2016

- Advertisement -

นั่นยังอธิบายได้ถึงความไม่แน่นอนและความผันผวนที่เกิดขึ้นกับทิศทางการเมืองของสหรัฐฯเมื่อ 4 ปีก่อน จากตัวเลขของผู้ที่คาดว่าจะสนับสนุน “คลินตัน” จำนวนหนึ่งกลับหายวับไปกับตาก่อนการเลือกตั้งไม่นาน หลังจากที่พวกเขาตัดสินใจได้ว่าจะเลือกตัวแทนจากอีกฝ่าย

หากแต่ในปีนี้จำนวนผู้มีสิทธิโหวตที่ยังไม่ได้ตัดสินใจกลับมีอยู่ไม่มากนัก โดยผลสำรวจล่าสุดของ Reuters/Ipsos ระบุว่า ชาวอเมริกันที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใครมีอยู่ไม่ถึง 7% หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของตัวเลขเมื่อ 4 ปีก่อน

จากผลลัพธ์ล่าสุดในโพลยังแสดงให้เห็นถึงเสียงสนับสนุนของ “ไบเดน” ที่ 52% ในขณะที่ “ทรัมป์” มีเพียง 42% เพราะฉะนั้นต่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจทั้งหมดหันไปเทคะแนนให้ ทรัมป์ ก็ยังไม่น่าจะเพียงพอต่อการทำคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตแซงหน้า “ไบเดน”

นอกจากนี้หลาย ๆ องค์กรยังลงทุนด้านทรัพยากรมากมายไปกับโพลของรัฐโดยเฉพาะภายในพื้นที่ที่มีการแข่งขันกันสูง เช่น Reuters ที่จัดทำ 36 โพลภายใน 6 รัฐสมรภูมิเดือดตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย.เป็นต้นมา

แม้การมีโพลเป็นจำนวนมากจะไม่ได้หมายถึงความแม่นยำที่เพิ่มขึ้นเสมอไป แต่มันก็ช่วยทำให้ผู้สำรวจสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ในช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้น และเพิ่มโอกาสให้พวกเขาได้มองเห็นความขัดแย้งต่าง ๆ ภายในชุดข้อมูล

จนถึงขณะนี้โพลของ Reuters/Ipsos ได้ชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันที่คู่คี่สูสีกันภายในรัฐแอริโซนา, ฟลอริดา และนอร์ทแคโรไลนา ในขณะที่ ไบเดน ยังรักษาความได้เปรียบอยู่ในรัฐวิสคอนซิน, เพนซิลเวเนีย และมิชิแกน

สุดท้ายแล้วมันอาจจะต้องใช้เวลานานหลายวันหรือหลายสัปดาห์เพื่อที่จะนับคะแนนโหวตทั้งหมด เพื่อที่จะตัดสินว่าเทพีแห่งชัยชนะจะยืนอยู่เคียงข้างใคร

CR:Traderider corp.

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More