Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

จับตา 4 เรื่องร้อนที่จะส่งผลต่องตลาดทองคำในช่วงที่เหลือของปีนี้

- Advertisement -

207

- Advertisement -

หลังจากที่ทาง YLG ได้นำเสนอภาพรวมการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในเดือน ก.ย. และในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีไปแล้ว วันนี้จะมาดูถึงประเด็นที่จะต้องตามต่อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

เริ่มจากการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ในอนาคต ทั้งนี้ แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดมีบทบาทสำคัญต่อราคาทองคำอย่างมาก และปีนี้ ดูเหมือนจะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางด้านนโยบายการเงินของเฟด หลังผลการประชุม FOMC เดือน ก.ย. มีการส่งสัญญาณประกาศลด QE ในการประชุม เดือน พ.ย.

ขณะที่ กระบวนการลด QE (QE Tapering) อาจสิ้นสุดลงประมาณกลางปีหน้า ซึ่งจะเปิดทางให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อย่างเร็วสุดในปี 2022

หากจะยอนดูถึงประวติศาสตร์ ที่เฟดเคยปรับลด QE ในช่วงปี 2013-2018 จะพบว่า ราคาทองคำจะตอบสนองในเชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของเฟดมากที่สุดในช่วงก่อนที่เฟดจะดำเนินการลด QE จริง และราคาทองคำยังปรับตัวลงต่อในช่วงที่เฟดเริ่มลด QE ครั้งแรก ไปจนถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก

แต่การตอบสนองเชิงลบไม่มากเท่าระยะแรก และราคามีการปรับตัวลงทำระดับต่ำสุดในเดือนที่เฟดเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก และราคาทองคำเริ่มยกฐานขึ้นนับตั้งแต่เฟดเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ธ.ค. ปี 2015

- Advertisement -

“ดังนั้น หากเฟดมีการประกาศดำเนินการลด QE ภายในสิ้นปีนี้ และหาก History repeats itself อาจมีโอกาสที่ราคาทองคำจะปรับตัวลดลงจากข่าวดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำไม่ได้เคลื่อนไหวตามนโยบายการเงินของเฟดเพียงปัจจัยเดียว ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ นักลงทุนทองคำจึงต้องเตรียมพร้อม วางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด” คุณฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนฟิวเจอร์ส จำกัด หรือ YLG กล่าว

เรื่องต่อมา คือ หนี้สาธารณะที่ทะยานขึ้นจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งในปีที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเยียวยาชาวอเมริกันและภาคธุรกิจจากผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผลักดันราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา

นั่นเท่ากับว่า มีเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างน้อยๆกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ และในช่วงต้นปีรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ รวมถึงยังพยายามผลักดันมาตรการสร้างงานและช่วยเหลือครัวเรือนในสหรัฐฯ รอบใหม่ วงเงินรวมอีกหลายล้านล้านดอลลาร์ ทำให้สัดส่วน “หนี้สาธารณะต่อ GDP” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

สะท้อนจากตัวเลขของ usdebtclock.org พบว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะในสหรัฐฯ ต่อ GDP อยู่ที่ 125.87% เมื่อเทียบกับ GDP ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปี 2020 ซึ่งอยู่ราว 107% และเพิ่มขึ้นจากระดับ 56% ในปี 2000

- Advertisement -

“ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น จากการอัดฉีดเงินในปริมาณมาก อาจก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับ เงินเฟ้อ ในอนาคต พร้อมกันนี้ เงินธนบัตรหรือ เงินกระดาษ (Fiat Currency) อย่างดอลลาร์ อาจมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกด้วย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนราคาทองคำ” คุณฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร YLG กล่าว

ผลจากภาวะหนี้ในระดับสูง จะทำให้เฟดจำเป็นต้องรักษาระดับของอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ เพื่อลดภาระต่อรัฐบาลในการจ่ายคืนดอกเบี้ย และทำให้พันธบัตรสหรัฐฯ มีความเสี่ยง Default สูงขึ้น ความน่าดึงดูดใจลดลง ที่สำคัญ คือ เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจในปริมาณมากอาจกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในประเทศ จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ

อีกประเด็นหนุนราคาทองคำ คือ ความต้องการทองคำกายภาพจากจีนและอินเดีย ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่ใช้ทองคำมากที่สุดในโลกได้เริ่มฟื้นตัว หลังความต้องการทองคำในภาคเครื่องประดับในปี 2020 ลดลงเหลือ 1,411.6 ตัน หรือ ลดลง 34% จากปี 2019 เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ WGC เริ่มจดบันทึกตัวเลขดังกล่าว ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของ โควิด-19

อย่างไรก็ดี ความต้องการทองคำจากจีนและอินเดีย มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาทองคำไม่ให้ตกต่ำลงได้ และหากว่าความต้องการทองคำจากจีนและอินเดียสูงกว่าที่คาด ก็อาจเป็นปัจจัยที่ช่วยผลักดันราคาทองคำให้ปรับตัวสูงขึ้นได้เช่นกัน

ขณะที่ กระแสเงินทุนไหลเข้า-ออกจากกองทุน ETF ทองคำ ในปี 2020 การระบาดของ COVID-19 ทำให้อุปสงค์การลงทุนทองคำในภาคการลงทุน ETF ทองคำ ทั่วโลกเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 3,899.9 ตัน นำโดยกองทุน SPDR ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปัจจัยหลักที่หนุนส่งราคาทองคำในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ เกิดกระแสเงินทุนไหลออกจากกองทุน SPDR ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ทำให้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 04 ต.ค. 2021) กองทุน SPDR ถือครองทองลดลงแล้ว -184.20 ตัน สู่ระดับ 986.54 ตัน ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. ปี 2020

ดังนั้น หาก SPDR กลับมาเพิ่มการถือครองทองคำต่อไป จะสะท้อนความเชื่อมั่นในการลงทุนทองคำ ซึ่งเป็นสัญญาณเชิงบวกที่ช่วยหนุนราคาทองคำ หรือ ช่วยหนุนไม่ให้ราคาทองคำร่วงลงแรงดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 7 เดือนก่อนหน้านี้ กลับกันการลดการถือครองทองคำต่อเนื่องจะเป็นสัญญาณที่ทำให้นักลงทุนต้องระมัดระวังในการถือครองทองคำ

อีกปัจจัย ก็คือ คือความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเด็นไต้หวัน หลังจากในช่วง 4 วันที่ผ่านมา จีนได้ส่งเครื่องบินรบจำนวนเกือบ 150 ลำ บินเข้ามาในเขตน่านฟ้าของไต้หวัน ขณะที่จีนได้กล่าวโทษสหรัฐฯ ว่า เป็นตัวการที่เพิ่มความตึงเครียดในไต้หวัน พร้อมระบุว่าสหรัฐฯ ยั่วยุและทำลายสันติภาพในภูมิภาค โดยมีการขายอาวุธให้ไต้หวัน และแล่นเรือรบผ่านช่องแคบไต้หวันเป็นประจำ และจะใช้มาตรการตอบโต้ที่จำเป็น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ถดถอยลง จะช่วยสร้างฐานให้แก่ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

ขอขอบคุณ : YLG

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More