Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

สรุปเช้าข่าวทองคำ วันที่ 9 ม.ค.66 | GoldAround Podcast

- Advertisement -

782

- Advertisement -

gold spot ปิดบวก 3 สัปดาห์ติด เป้าหมายต่อไป $1,880

ภาพรวมทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงร้อนแรง โดยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 42 ดอลลาร์ และปรับตัวเพิ่มขึ้น 3 สัปดาห์ติดต่อกัน

โดยราคาได้ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 1,869 ดอลลาร์ สูงสุดในรอบ 7 เดือน แม้ว่าในช่วงระหว่างสัปดาห์ ราคาจะพักตัวลงมาประมาณ 30 ดอลลาร์ ลงมาแตะจุดต่ำสุดแถว 1,823 ดอลลาร์

รับชมคลิปเสียง GoldAround Podcast

แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาได้ปรับตัวขึ้นแรงถึง 33 ดอลลาร์ ก่อนจะมาปิดสัปดาห์ที่ 1,866 ดอลลาร์

- Advertisement -

ทั้งนี้ ไฮไลท์สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็คงหนีไม่พ้นการประกาศตัวเลขการจ้างงาน โดยเฉพาะเมื่อวันศุกร์ ได้มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ธ.ค. ปรากฎว่าเพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 200,000 ตำแหน่ง

ขณะที่ อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.7%

แต่ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมง โดยเฉลี่ยของแรงงาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณเกี่ยวกับเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน ชะลอตัวจากระดับ 0.6% ในเดือน พ.ย. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.4% ซึ่งบ่งชี้ว่า เงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว

ทำให้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 70.2% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.- 1 ก.พ. และให้น้ำหนักเพียง 29.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

ด้าน นาย ราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา ระบุว่า

- Advertisement -

ตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหากข้อมูลยังคงบ่งชี้ทิศทางดังกล่าว เฟดก็จะสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมเดือน ก.พ.

อย่างไรก็ดี ข้อมูลการจ้างงานที่ออกมาไม่ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองส่วนตัวที่ว่า เฟดควรเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงสุดระยะหนึ่ง จนกว่าจะถึงปี 2567 เพื่อให้เงินเฟ้อชะลอตัว

พร้อมกันนั้น นาย บอสติกฯ ยังมองว่าสหรัฐฯ จะไม่เผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ และคาดว่าอัตราว่างงานจะแตะระดับ 4% ในช่วงปลายปี ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของเจ้าหน้าที่เฟดหลายราย

ส่วนประเด็นที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้

ในคืนวันพฤหัส จะมีการเปิดเผยดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) เดือน ธ.ค. ซึ่งทาง Bloomberg คาดการณ์ว่า จะร่วงแตะระดับ 6.6% หลังจากเดือน พ.ย. อยู่ที่ระดับ 7.1% และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

ไปดูการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาทองคำในสัปดาห์นี้

ทาง บจ.เล่งหงษ์ คอมโมดิตีส์ มองว่า ทิศทางราคา Gold Spot สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นในกรอบ Channel Sideway up โดยทำจุดสูงสุดใหม่ที่1,869 ดอลลาร์ และดูเหมือนยังพร้อมจะไปต่อได้อีกในสัปดาห์นี้

โดยโซนแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,880-1,895 ดอลลาร์ และ 1,910-1,920 ดอลลาร์ ตามลำดับ แต่ให้ระวังที่โซน 1,880 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดเก่าเมื่อกลางปี 2022 และ โซนราคาใกล้ ๆ $1,900 ซึ่งอาจจะมีแรงขายทำกำไร ทำให้เกิดความผันผวนสูง

โซนแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,825-1,835 ดอลลาร์ ตามแนว Channel Trendline ซึ่งอาจจะมีการขยับแนวรับขึ้นมาได้อีกเล็กน้อยภายในสัปดาห์

โดยภาพรวมโมเมนตั้มของทองคำยังค่อนข้างเป็นบวก จึงน่าจะยังไม่หลุดต่ำกว่านี้ภายในสัปดาห์ แต่หากราคาลง ให้ไปรอดูที่ 1,800-1,785 ดอลลาร์

ส่วนภาพรวมการเคลื่อนไหวราคาทองคำในประเทศไทย ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ภาพรวมลดลงไป 100 บาท โดยราคาเปิดตลาดเมื่อวันที่ 2 ม.ค. ราคาขายออกทองคำแท่ง 96.5 อยู่ที่ 29,850 บาท

ขณะที่ ราคารับซื้ออยู่ที่ 29,750 บาท และมาปิดตลาด เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ม.ค. ราคาขายออกทองคำแท่ง 96.5 อยู่ที่ 29,750 บาท ขณะที่ ราคารับซื้ออยู่ที่ 29,650 บาท

วันนี้ (9 ม.ค.) จับตาการเปิดประเทศของจีนอีกครั้งหลังจากปิดไป 3 ปี เนื่องจาก การแพร่ระบาดของ โควิด-19

โดยขณะนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปมาโดยไม่ต้องกักตัว ในส่วนของไทย ในช่วงเที่ยง ๆ ทาง รมว.สาธารณสุข รมว.คมนาคม และ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา และ ผู้บริหารจากทั้ง 3 กระทรวง จะเข้าร่วมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจากสาธารณประชาชนจีนที่เดินทางมาประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

และมีการคาดกันว่า หลังอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว ก็อาจจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ โดยอาจจะไปแตะระดับ 32 บาทกว่า ๆ ก็ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด

- Advertisement -

Comments are closed.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More