Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 9 ส.ค.64(YLG)

- Advertisement -

235

- Advertisement -

คำแนะนำ :

ราคายังไม่ผ่านโซน 1,758-1,760 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รอเปิดสถานะซื้อในบริเวณ 1,717-1,705 ดอลลาร์ต่อออนซ์(ตัดขาดทุนหากหลุดโซน 1,705 ดอลลาร์ต่อออนซ์) เน้นการลงทุนระยะสั้นและไม่ควรถือสถานะหลาย

แนวรับ : 1,717 1,705 1,680  แนวต้าน : 1,760 1,778 1,796

สรุป

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดดิ่งลง 41.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์  หรือ -2.3% เป็นการปิดร่วงลงรายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนมิ.ย. พร้อมกับปิดปรับตัวลดลงในรายสัปดาห์ที่มากที่สุดในรอบ 2 เดือน  ก่อนที่เช้านี้ราคาทองคำจะดิ่งลงต่อทำระดับต่ำสุดบริเวณ 1,680.23 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่พุ่งขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 845,000 ตำแหน่ง  ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงเกินคาดสู่ระดับ 5.4% ในเดือนก.ค. ทั้งนี้  ตัวเลขในตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งเกินคาดส่งผลกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า  ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเริ่มถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงิน “เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้”  ทั้งนี้  ตลาดคาดว่าเฟดอาจ “ประกาศอย่างเป็นทางการ” เกี่ยวกับการลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์รายเดือนตามมาตรการ QE อย่างเร็วสุดในการประชุมนโยบายการเงินที่กำลังจะมาถึงนี้  ก่อนที่จะเริ่มต้นดำเนินการลด QE ภายในสิ้นปี 2021 หรือ ต้นปี 2022  การคาดการณ์ดังกล่าว หนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น 0.58% พร้อมกับหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ดีดตัวสู่ระดับ 1.30%  ปัจจัยที่กล่าวมา  กดดันให้ทองคำดิ่งลงหลุดแนวรับสำคัญจนกระตุ้นแรงขายตามทางเทคนิคเพิ่มเติม  นั่นส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงอย่างหนักจนทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,758.66 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในวันศุกร์ พร้อมกับปรับตัวลงต่อในช่วงเช้าวันนี้ในตลาดเอเชีย  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -2.33 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่  และถ้อยแถลงของนายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดริชมอนด์  และนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดแอตแลนตา 

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) UN ชี้เกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการนิวเคลียร์-ขีปนาวุธในปีนี้  สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่า รายงานของสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า เกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งถือเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือย่ำแย่ลงก็ตาม
  • (+) “ไบเดน” เตือนจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในสหรัฐจะเพิ่มมากขึ้น ก่อนที่จะลดลง  ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเพิ่มมากขึ้น ก่อนที่จะลดลง ขณะที่เดลตากำลังเป็นไวรัสสายพันธุ์หลักในสหรัฐ
  • (-) ดอลล์แข็งค่า ขานรับข้อมูลจ้างงานสหรัฐแกร่ง  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานเดือนก.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาด  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.58% แตะที่ 92.7918 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.20 เยน จากระดับ 109.75 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9150 ฟรังก์ จากระดับ 0.9061 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2559 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2494 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1758 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1835 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3877 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3932 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7352 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7404 ดอลลาร์
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 144.26 จุด ขานรับข้อมูลจ้างงานพุ่งเกินคาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากนักลงทุนขานรับการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ และมองข้ามความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่กำลังส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,208.51 จุด เพิ่มขึ้น 144.26 จุด หรือ +0.41% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,436.52 จุด เพิ่มขึ้น 7.42 จุด หรือ +0.17% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,835.76 จุด ลดลง 59.36 จุด หรือ -0.40%
  • (-) “ไบเดน” ชูจ้างงานพุ่งเกินคาด บ่งชี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกำลังเห็นผล  ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวในวันนี้ว่า ตัวเลขการจ้างงานที่พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนก.ค. เป็นสิ่งที่แสดงว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เขาเป็นผู้ผลักดันกำลังบรรลุผล  ปธน.ไบเดนยังได้เรียกร้องให้สภาคองเกรสเร่งอนุมัติร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานวงเงินหลายล้านล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มการจ้างงานในสหรัฐ
  • (-) สหรัฐเผยจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งเกินคาดในเดือนก.ค.  กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 845,000 ตำแหน่ง จากระดับ 938,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.  ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 5.4% ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.7% หลังจากแตะระดับ 5.9% ในเดือนมิ.ย.  กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนพ.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 614,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 583,000 ตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนมิ.ย. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 938,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 850,000 ตำแหน่ง  กระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่าในเดือนก.ค. ภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 703,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานเพิ่มขึ้น 240,000 ตำแหน่ง  ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
  • (-) ทำเนียบขาวเผยชาวมะกันครึ่งประเทศฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดสแล้ว  ทำเนียบขาวเปิดเผยในวันศุกร์ (6 ส.ค.) ว่า ประชากรสหรัฐครึ่งประเทศได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบโดสแล้ว ขณะที่มีการระดมฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว 
  • (+/-) วุฒิสภาสหรัฐเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน  วุฒิสภาสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 67 ต่อ 27 เดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปสู่การผ่านความเห็นชอบในขั้นสุดท้าย  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน 18 คนสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว ส่วนวุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครตสนับสนุนทุกคน  อย่างไรก็ดี บรรดาวุฒิสมาชิกยังคงมีการต่อรองกันเพื่อแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว โดยนายมิตช์ แมคคอนเนลล์ แกนนำของพรรครีพับลิกันในวุฒิสภา กล่าวว่า รีพับลิกันต้องการให้มีการโหวตแก้ไขร่างกฎหมายเพิ่มเติมก่อนที่จะมีการโหวตครั้งสุดท้าย

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More