Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 25 พ.ย.64 by YLG

- Advertisement -

201

- Advertisement -

คำแนะนำ       ซื้อ $1,772-1,766

จุดทำกำไร     ขายทำกำไร $1,809-1,821

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,766

แนวรับ : 1,772 1,766 1,758  แนวต้าน : 1,809 1,821 1,833

สรุป  

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง  แม้จะเผชิญกับปัจจัยกดดันหลายประการ  ได้แก่  (1.) การอ่อนค่าของยูโร  หลัง Ifo เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันสู่ระดับ 96.5 ในเดือนพ.ย.  (2.) ความเห็นในเชิง Hawkish ของนางแมรี ดาลี ประธานเฟดซานฟรานซิสโก ที่กล่าววานนี้ว่า เธอเปิดกว้างสำหรับการเร่งอัตราการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE หากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นและการเติบโตของตำแหน่งงานยังคงแข็งแกร่ง (3.) การเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่แข็งแกร่ง  อาทิ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่ลดลงเกินคาดสู่ระดับ 199,000 รายซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 50 ปี, ประมาณการครั้งที่ 2 GDP ประจำ Q3/2021 ขยายตัว 2.1% สูงกว่าประมาณการครั้งแรก, ผลสำรวจของม.มิชิแกนที่แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในเดือนพ.ย.  และการใช้จ่ายส่วนบุคคลซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนต.ค. (4.) รายงานการประชุมเฟดประจำเดือนพ.ย.ที่แสดงให้เห็นว่าเฟดพร้อมเร่งลด QE เพื่อเปิดทางสำหรับการขึ้นดอกเบี้ย  ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือนครั้งใหม่  จนกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ  1,778.48 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนจะมีแรงซื้อ Buy the dip เข้ามาพยุงราคาเอาไว้  ส่งผลให้ราคาดีดขึ้นมาปิดทรงตัวแม้จะเผชิญกับแรงกดดันที่กล่าวมาก็ตาม  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเนื่องจากตลาดเงิน  ตลาดทุนและตลาดทองคำของสหรัฐ จะปิดทำการในวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day)  ทำให้ปริมาณการซื้อขายจะเบาบางกว่าปกติ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐเผย GDP Q3/64 ขยายตัว 2.1% สูงกว่าประมาณการครั้งแรก  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2564 ในวันนี้ โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัว 2.1% โดยสูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งแรกที่ระดับ 2.0% แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.2%
  • (-) รายงานประชุมส่งสัญญาณชัด เฟดพร้อมเร่งลด QE เพื่อเปิดทางขึ้นดอกเบี้ย  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) โดยระบุว่า กรรมการเฟดมีความเห็นตรงกันว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ควรเตรียมความพร้อมในการเร่งปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน  “กรรมการหลายคนของเฟดตระหนักว่า คณะกรรมการ FOMC ควรจะเตรียมความพร้อมในการปรับจังหวะเวลาในการลดวงเงิน QE และปรับเพิ่มกรอบเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Federal Funds Rate) ให้เร็วขึ้นจากการคาดการณ์ในปัจจุบัน หากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของคณะกรรมการ FOMC” เฟดระบุในรายงานการประชุมประจำวันที่ 2-3 พ.ย.  ขณะเดียวกัน กรรมการเฟดหลายคนได้เน้นย้ำว่า “ทัศนคติเกี่ยวกับความอดทน” ที่มีต่อข้อมูลที่เฟดจะได้รับในวันข้างหน้านั้น ยังคงเป็น “ท่าทีที่เหมาะสม” ซึ่งจะช่วยให้เฟดสามารถประเมินความคืบหน้าเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน, ตลาดแรงงาน และเงินเฟ้อได้อย่างเหมาะสม  “กรรมการเฟดต่างก็มองว่า คณะกรรมการ FOMC ไม่ควรลังเลที่จะใช้มาตรการที่เหมาะสมในการจัดการกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเป้าหมายในการสร้างเสถียรภาพด้านราคาและการจ้างงานในระยะยาวของของเฟด”  รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่า ในขณะที่กรรมการเฟดส่วนใหญ่สนับสนุนแผนการปรับลดวงเงิน QE ลงเดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์นั้น ได้มีกรรมการเฟดบางคนต้องการให้ลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร็วขึ้น เพื่อที่จะเปิดทางให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วขึ้น  “กรรมการเฟดบางคนระบุว่า การปรับลดวงเงิน QE ลงมากกว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนนั้นอาจเหมาะสม เพื่อให้คณะกรรมการ FOMC มีสถานะที่พร้อมมากขึ้นในการปรับเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ” รายงานการประชุมเฟดระบุ
  • (-) ดอลล์แข็งค่า ขานรับเจ้าหน้าที่เฟดหนุนเร่งลด QE  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) หลังจากที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้มีการเร่งปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งจะทำให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.39% แตะที่ 96.8639 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.43 เยน จากระดับ 115.06 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9341 ฟรังก์ จากระดับ 0.9332 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2671 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2682 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1199 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1250 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3323 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3381 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7192 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7223 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำสุดในรอบกว่า 50 ปี  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 71,000 ราย สู่ระดับ 199,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.2512  ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 260,000 ราย และปรับตัวลงเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน
  • (-) Ifo เผยความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนีต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ย.  Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน สู่ระดับ 96.5 ในเดือนพ.ย. จากระดับ 97.7 ในเดือนต.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 96.6
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดลบ 9.42 จุด ผิดหวังผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) หลังจากบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ซึ่งรวมถึงนอร์ดสตรอม และแก๊ป อิงค์ เปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนบวก โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มเทคโนโลยี  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,804.38 จุด ลดลง 9.42 จุด หรือ -0.03%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,701.46 จุด เพิ่มขึ้น 10.76 จุด หรือ +0.23% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,845.23 จุด เพิ่มขึ้น 70.09 จุด หรือ +0.44%

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More