Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 11 ก.พ.65 by YLG

- Advertisement -

414

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ 1,821-1,806

จุดทำกำไร     ขายทำกำไร $1,853-1,841

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากผ่าน $1,792

แนวรับ : 1,806 1,792 1,778  แนวต้าน : 1,841 1,853 1,867

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 6.51 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำแกว่งตัวผันผวนทั้งทางบวกและทางลบ หลังสหรัฐเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 7.5% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.1982 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.2% ทั้งนี้ ราคาทองคำทะยานขึ้นจากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ทำให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ครั้งใหม่ที่บริเวณ 1,841.86 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น ได้กระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวมากขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ สะท้อนจาก FedWatch Tool ของ CME Group ที่ปรับตัวรับโอกาสถึง 85% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้นจากเดิมระดับ 14% ในช่วงก่อนการเปิดเผยตัวเลข CPI นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากถ้อยแถลงของนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดเซนต์หลุยส์ ที่กล่าวว่า เขามีมุมมองเชิง Hawkish เพิ่มขึ้น “อย่างมาก(dramatically)” หลังการเปิดเผย CPI และตอนนี้เขาต้องการขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ 1% ภายในวันที่ 1 ก.ค.นี้ หรือ ภายใน 3 การประชุมนโยบายการเงิน 3 ครั้งถัดไป การคาดการณ์ดังกล่าวหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวเหนือ 2.0% เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง และแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. ปี 2019 ที่ 2.056% จนเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยให้ร่วงลงกลับมาปิดตลาดในแดนลบในที่สุด ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ยูเครนเริ่มปฏิบัติการซ้อมรบ โต้กลับรัสเซียซ้อมรบในเบลารุส  ยูเครนเริ่มดำเนินการซ้อมรบในวันนี้ (10 ก.พ.) ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อตอบโต้การซ้อมรบของรัสเซียในประเทศเบลารุส ซึ่งยูเครนและชาติตะวันตกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมกำลังทางการทหารของรัสเซียในภูมิภาค  นายโอเลคซี เรซนิคอฟ รัฐมนตรีกลาโหมยูเครนกล่าวในสัปดาห์นี้ว่า การฝึกซ้อมรบของยูเครนจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 10-20 ก.พ. โดยกองทัพจะซ้อมรบโดยใช้โดรนเบย์รัคตาร์ (Bayraktar) ขีปนาวุธต่อต้านรถถังแจฟลิน (Javelin) รวมถึงขีปนาวุธต่อต้านรถถังรุ่นใหม่ (NLAW) ที่ได้จากชาติพันธมิตร
  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 526.47 จุด วิตกเฟดเร่งขึ้นดบ.หลังเงินเฟ้อสูงกว่าคาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 500 จุดในวันพฤหัสบดี (10 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่พุ่งขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์จะผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันมากขึ้นหลังจากนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ได้ส่งสัญญาณสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงถึง 1% ภายในเดือนก.ค.นี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,241.59 จุด ลดลง 526.47 จุด หรือ -1.47%,  ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,504.08 จุด ลดลง 83.10 จุด หรือ -1.81% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,185.64 จุด ลดลง 304.73 จุด หรือ -2.10%
  • (-) ดอลล์แข็งค่า คาดเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยหลังเงินเฟ้อพุ่งแรง  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (10 ก.พ.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.06% แตะที่ 95.5530 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.9210 เยน จากระดับ 115.4760 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9257 ฟรังก์ จากระดับ 0.9238 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2717 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2673 ดอลลาร์แคนาดา  สกุลเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1452 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1436 ดอลลาร์ ส่วนเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3574 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3537 ดอลลาร์
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งไม่หยุด ล่าสุดทะลุ 2% หลังเผยเงินเฟ้อสูงสุด 40 ปี  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวขึ้นทะลุระดับ 2.0% ในวันนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย  ณ เวลา 23.04 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 2.012% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.304%  ราคาพันธบัตร และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน
  • (-) คาดเฟดมีโอกาส 50:50 ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% เดือนหน้า หลังเงินเฟ้อพุ่งเกินคาด  นักลงทุนเพิ่มคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี.ค. หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปีในวันนี้ รวมทั้งเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งกว่าคาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  ทั้งนี้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 50% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี.ค. จากเดิมที่เคยให้น้ำหนักเพียง 14%
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 16,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 223,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 230,000 ราย  ทั้งนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว
  • (+/-) สหรัฐเผยดัชนี CPI พุ่ง 7.5% สูงกว่าคาดการณ์ ทำนิวไฮ 40 ปี  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 7.5% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2525 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.2% จากระดับ 7.0% ในเดือนธ.ค.  นอกจากนี้ ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% จากระดับ 0.5% ในเดือนธ.ค.  ขณะเดียวกัน ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น 6.0% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2525 แลุสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.9% จากระดับ 5.5% ในเดือนธ.ค.  นอกจากนี้ ดัชนี CPI พื้นฐานดีดตัวขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% จากระดับ 0.6% ในเดือนธ.ค.

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More