Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

จุดเริ่มต้นความขัดเเย้ง รัสเซีย – ยูเครน (EP1)

- Advertisement -

756

- Advertisement -

ในช่วงที่สงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน กำลังเข้าสู่ภาวะตึงเคลียดอย่างหนัก วันนี้ เรามาย้อนดูสาเหตุสำคัญที่เป็นชนวนให้ รัสเซีย และ ยูเครน มีความขัดแย้งกันเรื่อยมา ว่าคืออะไร อินเตอร์โกลด์ จะมาเล่าให้ฟังครับ

ต้องย้อนไปตั้งแต่ที่ยูเครนแยกตัวเป็นเอกราชจากสาธารณรัฐรัสเซีย ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีการให้คำสัญญากันว่า NATO จะไม่ขยายตัวเองมากกว่านี้ ซึ่งช่วงที่ NATO ให้คำมั่นนี้ คือ ช่วงก่อนสหภาพโซเวียตล่มสลาย

อาณาเขต NATO คือ แผนที่ด้านบน ในภาพแรก และ แผนที่ด้านล่างในภาพที่ 1 คืออาณาเขตของ NATO หลังโซเวียตล่มสลาย

จากภาพที่ 1 เราจะเห็นได้ว่า ประเทศที่อยู่ฝั่ง NATO จริง ๆ ก็มีอาณาเขตติดกับรัสเซียบ้างอยู่แล้ว ตรงโปแลนด์ กับกลุ่มประเทศบัลติก (ลิตัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย)

- Advertisement -

กลุ่มประเทศบัลติกทั้งหลายนี่ ล้วนแต่เป็นประเทศเล็กที่เลือกโค่นระบบปกครองคอมมิวนิสต์แบบโซเวียตก่อนใคร แต่ว่าตรงกลางจริง ๆ ตอนนี้ ระหว่างรัสเซีย (สีแดง) กับประเทศ NATO (สีน้ำเงิน) จะเหลืออยู่แค่ประเทศหลัก ๆ ที่เรียกได้ว่า ทำหน้าที่เป็น buffer state หรือ รัฐกันชนสองประเทศ นั่นก็คือ เบลารุส กับ ยูเครน นั่นเอง (ภาพที่ 2)

แต่ในช่วงต้น ค.ศ. 2000 ความสัมพันธ์ระหว่าง ยูเครน กับ ชาติตะวันตก เพิ่มมากขึ้น หลัง วิกเตอร์ ยูชเชนโก ขึ้นครองตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2005 ซึ่งนโยบายหลักของเขาคือ การทำให้ยูเครนถอยห่างจากรัสเซีย รวมถึงผลักดันให้ยูเครนได้เข้าเป็นสมาชิก NATO และ ในปี 2008 NATO ได้ให้สัญญาว่า ในวันหนึ่งยูเครนจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO เต็มตัว

แต่ก็มีจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ ในยุคการปกครองของประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิช ที่เป็นฝ่ายหนุนรัสเซีย โดยเขาได้ครองอำนาจตั้งแต่ปี 2010-2014 ซึ่งในปี 2013 นี่เอง ที่ยานูโควิชตัดสินใจระงับข้อตกลงการค้าเสรีกับ EU เพื่อเอาใจรัสเซีย และพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ซึ่งนั่นเองทำให้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเคียฟ ช่วงปลายปี 2013

จากนั้นในต้นปี 2014 รัฐสภายูเครนลงมติถอดถอน ยานูโควิช ออกจากตำแหน่ง เเละมีการออกหมายจับ ทำให้เขาต้องหนีไปยังรัสเซีย โดย ยานูโควิช ประณามการลงมติถอดถอนเขาว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย พร้อมขอให้รัสเซียช่วยเหลือ ซึ่งทางฝั่งรัสเซียก็ชี้ว่า การโค่นอำนาจ ยานูโควิช เป็นการก่อรัฐประหาร และไม่ยอมรับรัฐบาลรักษาการของยูเครน

จากนั้นไม่นาน หลังจากที่ ยานูโควิช ถูกปลดชนวนขัดแย้งที่นำมาสู่การแตกหักถึงขั้นทำสงครามครั้งแรก ระหว่างรัสเซีย และ ยูเครน ก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดการเดินขบวนของกลุ่มผู้ประท้วงสนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคไครเมีย (Crimea) ที่เรียกร้องให้รัฐสภาท้องถิ่นต่อต้านรัฐบาลกลางชุดใหม่ และต้องการให้เปิดทำประชามติ สถานะของไครเมีย เพื่อแยกดินแดนผนวกรวมกับรัสเซีย

- Advertisement -

สงครามที่ไครเมีย จบลงอย่างไร เเละ รุนเเรงเเค่ไหน เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างไร ติดตามต่อไหนตอนหน้าครับ

เทรดเตอร์อินเตอร์โกลด์

รัสเซีย – ยูเครน ซีรี่ย์

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More