Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

ทยอยซื้อคืนทำกำไรหากราคาอ่อนตัวลงไม่หลุดแนวรับ 1,753 (YLG)

- Advertisement -

554

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 1.50  ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์

คำแนะนำ :

พิจารณาเสี่ยงเปิดสถานะขายเพื่อทำกำไรระยะสั้นหากราคาทองคำดีดตัวขึ้นยังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้าน1,769-1,779 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากผ่าน1,779 ดอลลาร์ต่อออนซ์) แล้วเข้าซื้อคืนเพื่อทำกำไรหากราคายืนเหนือ 1,753 ดอลลาร์ต่อออนซ์

พิจารณาเสี่ยงเปิดสถานะขายเพื่อทำกำไรระยะสั้นหากราคาทองคำดีดตัวขึ้นยังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้าน1,769-1,779 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากผ่าน1,779 ดอลลาร์ต่อออนซ์) แล้วเข้าซื้อคืนเพื่อทำกำไรหากราคายืนเหนือ 1,753 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,753 1,740 1,725 แนวต้าน : 1,769 1,779 1,790

- Advertisement -

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 1.50  ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ 

หลังจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐ  ประกอบกับยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐานของสหรัฐออกมาดีเกินคาด  ขณะที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐ และสหภาพยุโรป (EU)

เป็นอีกปัจจัยที่กดดันการเคลื่อนไหวของสกุลเงินยูโร จนเพิ่มแรงหนุนให้กับสกุลเงินดอลลาร์  ปัจจัยที่กล่าวมาแม้จะกดดันราคาทองคำ  แต่การปรับตัวลงของราคายังคงอยู่ในกรอบจำกัด 

ส่วนหนึ่งเพราะนักลงทุนบางส่วนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่า  ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานจำนวน 1.48 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.35 ล้านราย สะท้อนชาวอเมริกันหลายล้านคนยังยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องนานกว่า 1 เดือน

- Advertisement -

แม้ธุรกิจกลับมาเปิดดำเนินการแล้วไม่เพียงเท่านั้น  ความกังวลว่าการระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐจะส่งผลให้รัฐบาลกลับมาใช้มาตรการ Lockdown ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจเป็นอีกปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการทรงตัวในระดับสูงของทองคำเช่นกัน  ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลง -1.46ตัน สู่ระดับ 1,175.39 ตัน 

สำหรับวันนี้  ติดตามการเปิดเผยดัชนีการใช้จ่ายส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE), การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนมิ.ย.จากUoM

จจัยทางเทคนิค :

หากราคายังไม่สามารถผ่านแนวต้านโซน1,769-1,779 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรเนื่องจากวานนี้ราคาไม่มีการสร้างระดับสูงสุดใหม่

แต่สร้างระดับต่ำสุดใหม่จากวันก่อนหน้า เมื่อราคาปรับตัวขึ้นอาจมีแรงขายออกมาเพิ่มโดยประเมินแนวรับโซนแนวรับโซน 1,753 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่หลุดราคาจะเป็นเพียงการอ่อนตัวลงเพื่อสะสมแรงซื้อ

กลยุทธ์การลงทุน :

เสี่ยงเปิดสถานะขายหากราคาไม่ผ่านแนวต้าน 1,769-1,779 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากผ่าน 1,779 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ทยอยเข้าซื้อคืนเพื่อทำกำไรหากราคาอ่อนตัวลงไม่หลุดแนวรับ 1,753 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากหลุดโซน 1,746 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สามารถถือสถานะขายต่อ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้วกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจำนวน 1.48 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.35 ล้านราย
  • (+) นักวิเคราะห์ฟันธงทองพุ่งทะลุ 2,000 ดอลลาร์ แต่อาจปรับฐานในระยะใกล้  ราคาทองได้ดีดตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความหวังในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ  นักวิเคราะห์มองว่าการปรับตัวขึ้นของราคาทองจะยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า  นายพอล เซียนา นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา กล่าวว่า ราคาทองจะพุ่งขึ้นทดสอบ 1,790-1,805 ดอลลาร์/ออนซ์ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของปี 2555 และหากสามารถทะลุแนวต้าน 1,800 ดอลลาร์ ราคาทองก็จะมีเป้าหมายต่อไปที่ 1,920.70 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตลอดกาลที่ทำไว้ในปี 2554  นอกจากนี้ นายเซียนากล่าวว่า ราคาทองมีแนวโน้มแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์ โดยมีอัพไซด์อยู่ที่ 2,114-2,296 ดอลลาร์
  • (+) เท็กซัสพับแผนผ่อนคลายล็อกดาวน์เฟสต่อไป หลังผู้ติดเชื้อโควิดยังคงพุ่งขึ้น นายเกรก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส กล่าวว่า ทางรัฐจะระงับแผนการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในเฟสต่อไป เนื่องจากยังคงมีการรายงานการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างไรก็ดี ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการก่อนหน้านี้ จะยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้
  • (-) รัฐบาลสหรัฐประกาศผ่อนคลายข้อกำหนดการลงทุนสำหรับภาคธนาคาร คณะกรรมการประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) แถลงในวันนี้ว่า FDIC ได้ผ่อนคลายข้อกำหนดจาก Volcker Rule โดยจะอนุญาตให้ธนาคารสหรัฐสามารถทำการลงทุนได้มากขึ้น  ทั้งนี้ การผ่อนคลายข้อจำกัดดังกล่าว จะทำให้ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐสามารถเข้าลงทุนในกองทุนร่วมลงทุน (venture capital) หรือกองทุนอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน  นอกจากนี้ ธนาคารยังได้รับการยกเว้นจากการสำรองเงินสดสำหรับการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ระหว่างบริษัทในเครือ
  • (-) สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพุ่งในเดือนพ.ค. หลังดิ่งลงจากพิษโควิด กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป พุ่งขึ้น 15.8% ในเดือนพ.ค. หลังจากร่วงลง 18.1% ในเดือนเม.ย.  การพุ่งขึ้นของยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนพ.ค. ได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ หลังจากมีการปิดเศรษฐกิจก่อนหน้านี้เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ซึ่งเป็นคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน และสินค้าด้านอาวุธ โดยเป็นสิ่งบ่งชี้แผนการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือนพ.ค. หลังจากดิ่งลง 6.5% ในเดือนเม.ย.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐานจะเพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนพ.ค.
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 299.66 จุด หุ้นแบงก์พุ่งรับข่าวสหรัฐผ่อนคลายข้อกำหนดการลงทุน  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเกือบ 300 จุดเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนรุกซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากรัฐบาลสหรัฐประกาศผ่อนคลายข้อกำหนดการลงทุนสำหรับภาคธนาคาร ขณะที่นักลงทุนจับตาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,745.60 จุด เพิ่มขึ้น 299.66 จุด หรือ +1.18% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,083.76 จุด เพิ่มขึ้น 33.43 จุด หรือ +1.10% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,017.00 จุด เพิ่มขึ้น 107.84 จุด หรือ +1.09%
  • (+/-) สหรัฐเผย GDP Q1/63 หดตัว 5% ขณะคาด Q2 ทรุด 30% กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2563 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลง 5% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 หลังจากที่ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ระบุว่าหดตัวลง 4.8% โดยได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล ซึ่งทำให้มีการปิดเศรษฐกิจเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลข GDP ติดลบ นับตั้งแต่ที่มีการรายงานว่าเศรษฐกิจหดตัว 1.1% ในไตรมาส 1/2557 และเป็นตัวเลขที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจหดตัว 8.4% ในไตรมาส 4/2551 ซึ่งขณะนั้นสหรัฐกำลังเผชิญวิกฤตการเงิน
  • (-) ดอลล์แข็งเทียบสกุลเงินหลัก เหตุวิตกโควิดระบาดหนุนแรงซื้อสกุลเงินปลอดภัย  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเดินหน้าซื้อดอลลาร์ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐ และสหภาพยุโรป (EU)  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.29% สู่ระดับ 97.4380 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 107.20 เยน จากระดับ 106.94 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9489 ฟรังก์ จากระดับ 0.9478 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3649 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3611 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1215 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1258 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2405 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2423 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6871 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6867 ดอลลาร์

ขอขอบคุณ  : บจ.วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More