Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

ราคาทองค่ำร่วงหลุด $1800 เดือนพ.ย.ลดลงเกือบ $200 ด้านราคาทองไทยลดลง 2,050 บาท

- Advertisement -

366

- Advertisement -

ราคาทองคำยังอาการหนัก เมื่อคืนถูกทุบหลุด $1800 ไปแตะ $1773 ก่อนที่เช้านี้จะมีแรงรีบาวด์กลับมาเคลื่อนไหวแนว  $1785 ภาพรวมเดือนพ.ย.ลดลงไปเกือบ $200 ด้านราคาทองคำในประเทศเช้านี้ ยังลดลงอีกบาทละ 250 บาททำให้ในสัปดาห์นี้ลดลงไปแล้ว 1,150 บาท เฉพาะเดือน พ.ย.ลดลงไปแล้ว 2,050 บาท ด้านนายกสมาคมค้าทองคำมอง แนวโน้มระยะสั้นยังน่าห่วง

สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาทองคำประจำวันที่ 28 พ.ย. 2563

ทองคำแท่ง

รับซื้อ บาทละ 25,600.00 บาท ขายออก บาทละ 25,700.00บาท

ทองรูปพรรณ

- Advertisement -

รับซื้อ บาทละ 25,135.28 บาท ขายออก บาทละ 26,200.00บาท

ราคาทองคำยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวานนนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. ปิดที่ 1,788.1 ดอลลาร์ ลดลง 23.1 ดอลลาร์ หรือ 1.28% โดยในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาทองคำร่วงลง 4.5% ซึ่งเป็นการร่วงลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 25 ก.ย.

ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาทองคำ ก็คือการพัฒนาวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ทำให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำ และแม้ว่าดัชนีดอลลาร์จะอ่อนค่าลง 0.22% แตะที่ระดับ 91.8047 ก็ได้ช่วยให้ทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งโดยปกติแล้วดอลลาร์ที่อ่อนค่าจะเป็นแรงหนุนสัญญาทองคำ

แต่ขณะนี้นักลงทุนได้หันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากดัชนี้ตลาดหุ้นยังคงทะยานขึ้นต่อเนื่อง โดยเมื่อคืนนี้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 29,910.37 จุด เพิ่มขึ้น 37.9 จุด หรือ +0.13% ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์  เพิ่มขึ้น 2.2% โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มค้าปลีก เนื่องจากผู้บริโภคสหรัฐเริ่มทำการช้อปปิ้งออนไลน์ในช่วงเริ่มต้นเทศกาลวันหยุดปลายปี แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ก็ตาม

- Advertisement -

ขณะที่การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ราคาได้ร่วงไปแตะจุดต่ำสุดที่ระดับ 1,773 ดอลลาร์ ได้มีแรงรีบสวด์กลับเข้ามาทำให้ราคาขยับขึ้นมาแตะระดับ 1,788 ดอลลาร์ ก่อนมาเคลื่อนไหวแนว 1,785 ดอลลาร์

อย่างไรก็ดีสถานการณ์ในภาพรวมยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะในทางเทคนิคระยะสั้น ทองคำยังอยู่ในช่วงขาลง ขณะที่ราคาทองคำในประเทศเช้านี้ สมาคมค้าทองคำเปิดราคาแรกลดลงถึงบาทละ 250 บาท ทำให้ราคาจ่อลงไปแตะระดับบาทละ 25,500 บาทแล้ว

ทำให้ในสัปดาห์นี้ราคาทองคำได้ลดลงถึงบาทละ 1,150 บาท หากดูในภาพรวมเดือนพ.ย. ราคาลดลงไปบาทละ 2,050 บาท จากที่วันที่ 2 พ.ย.ราคาขายออกทองคำแท่ง 27,750 บาทในวันนี้ขายออกอยู่ที่ บาทละ 25,700 บาท

หากมองราคา goldspot ในเดือนพฤศจิกายน ถือเป็นอีกช่วงที่ราคาลดลงมามาก โดยจากต้นเดือนจุดสูงสุดอยู่ที่ระดับ 1,965 ดอลลาร์ ลงมาแตะจุดต่ำสุดที่ 1,773 ดอลลาร์ ลดลงเกือบ 200 ดอลลาร์  ปัจจัยหลักมาจากเรื่องความคืบหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 ซึ่งขณะนี้มี 3 กลุ่มที่ประกาศความคืบหน้าการทดลองเกิน 90 เปอร์เซ็นต์ อยู่ระหว่างการยื่นขอการรับรองจาก FDA ขณะที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็มีความชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ

นายจิตติ ตังสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า ราคาทองคำใช้เวลา 3 เดือน ไต่ขึ้นจากระดับ 1,670 ดอลลาร์ ไปทำจุดสูงสุดที่ 2,075 ดอลลาร์ เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม และใช้เวลา 4 เดือนลดลงมาแตะระดับ 1,800 ดอลลาร์ และราคาในประเทศลดลงจากจุดสูดมาจนถึงขณะนี้ร่วมบาทละ 4,000 บาท และในระยะสั้นยังมองว่าแนวโน้มอาจจะลดลงได้อีก เพราะขณะนี้ปัจจัยโดยรอบล้วนแต่เป็นลบต่อราคาทองคำ และเชื่อว่าภายในปีนี้คงยากที่ราคาทองคำจะกลับขึ้นไปแตะ 2,000 ดอลลาร์ แต่ยังไม่อยากคาดการณ์ว่าราคาจะปิดสิ้นปีที่ระดับใด ขอดูเป็นสัปดาห์ต่อสัปดาห์

ในระยะสั้นหากราคาลดลงต่ำกว่า 1,800 ดอลลาร์ แนวรับถัดไปจะอยู่แถว 1,780 ดอลลาร์ หรือประมาณ บาทละ 25,500 บาท แต่หากราคาดีดกลับมาได้ แนวต้านต่อไปจะอยู่ที่ 1,825 ดอลลาร์ หรือบาทละ 26,500 บาท และ1,860 ดอลลาร์ หรือบาทละ 27,000 บาท ซึ่งในส่วนของราคาในประเทศ ต้องดูค่าเงินบาทประกอบด้วย เพราะในช่วงนี้ค่อนข้างจะแข็งค่ามาก ซึ่งทาง ธปท.คงไม่อยากจะให้หลุดต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์

นายจิตติ ตังสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ ได้แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ว่า ขอให้เน้นลงทุนระยะสั้น และไม่ควรถือเกิน 3 วัน หากปิดได้วันต่อวันจะยิ่งดี เพราะปัจจัยที่ส่งผลกับราคาทองคำค่อนข้างจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งช่วงนี้นักลงทุนต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More