คุณธีรรัฐ จุฑาวรากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์โกลด์ โกลด์เทรด จำกัด กล่าวว่า “ในตลาดการลงทุนผมเชื่อมาเสมอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน จังหวะ หรือสิ่งที่เราลงทุน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือประสบการณ์และความรู้ในการลงทุน ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีในตลาดการลงทุนซื้อขายทองคำแท่ง ผมดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับความรู้ในการลงทุนเสมอ ผมมีความคิดมาตลอดว่าจะทำยังไงให้เพื่อนๆนักลงทุน หรือลูกค้าของผมมีความเข้าใจในพื้นฐานความรู้และการเข้าถึงข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนที่ถูกต้องและอยู่รอดในตลาดการลงทุนทองคำได้ในระยะยาว”
“เรามีการทำ Content ต่างๆ ทำช่อง Youtube เพื่อให้ความรู้นักลงทุน จนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 10 ของอินเตอร์โกลด์แล้ว ซึ่งเป็นจังหวะที่ดี ที่มีแฟนคลับที่ติดตามช่อง Youtube Intergold ที่เป็นสำนักพิมพ์สนใจที่จะออกหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนทองคำ เรามีทีมบุคคลากรที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในตลาดลงทุนทองคำที่พร้อมจะส่งต่อความรู้ดีๆที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ออกไป สุดท้ายจึงกลายมาเป็นหนังสือ “ ลงทุนทองให้เป็น เล่นให้รวย” ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนทองคำ ซึ่งจะตอบข้อสงสัย และเป็นแนวทางในการวางแผนการลงทุนให้กับทุกคนได้”
“ทั้งนี้ผมจะขอยกเนื้อหาบางส่วนของหนังสือเล่มนี้มาปรับใช้ในการวิเคราะห์ ข้อสงสัยของหลายๆท่านในตอนนี้ที่ว่า ทำไมทองคำถึงไม่ยอมลงกลับมา 20,000 บาทซักที? สถานการณ์หลายๆอย่างเหมือนกำลังจะดีขึ้นแต่ทำไมราคาทองคำยังดูไม่มีทีท่าว่าจะปรับตัวลงมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 หรือที่ประมาณ 20,000 บาท อะไรที่อุ้มราคาทองคำไว้อยู่? โดยเราจะใช้หลักการของเรื่อง วัฏจักรของการลงทุน มาคุยกันนะครับ
วัฏจักรของการลงทุน (Investment Clock) ถูกแบ่งออกเป็น 4 ฤดูกาล อันได้แก่
- Reflation stage, 2. Recovery stage, 3. Overheat, 4. Stagflation
โดยที่ปกติทองคำจะมีแนวโน้มเป็นบวก หรือทำให้ราคาทองมีโอกาสปรับตัวขึ้น ในสภาวะ Reflation stage และ Stagflation นั่นเอง
ในสภาวะ Reflation stage คือช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงานเยอะ และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ เศรษฐกิจต้องการความช่วยเหลือทางการเงินสูง ธนาคารกลางจะออกนโยบาย ผ่อนคลายทางการเงิน ทำQE หรือลดดอกเบี้ย
ขณะเดียวกัน ในสภาวะ Stagflation หรือสภาวะเงินเฟ้อ แต่เศรษฐกิจฝืด เกิดจากการที่เงินเฟ้อจากต้นทุนการผลิต ไม่ได้เกิดจากประชาชนร่ำรวยจนมีความต้องการซื้อ สภาวะแบบนี้ธนาคารกลางจะดำเนินนโยบายลำบาก เพราะไม่สามารถออกนโยบายเพื่อดึงเงินออกจากระบบ หรือขึ้นดอกเบี้ยได้ ผลที่ตามมาก็คือเงินจะไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง ไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ตราสารหนี้หรือเงินสด ซึ่งทั้ง 2 สภาวะที่กล่าวมาก็จะส่งผลให้ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นได้ครับ
เพราะฉะนั้นหากเราพิจารณาในสถานการณ์ปัจจุบัน เงินเฟ้อสูงทั่วโลกโดยมีสาเหตุหลักมาจากประเทศมหาอำนาจต่างทำการพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะกระทบกับต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นโดยปริยาย นี่แหละคือการที่เราอยู่ในช่วง Stagflation อย่างชัดเจน เงินในระบบมีโอกาสที่จะไหลเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเช่น ทองคำ ทำให้นักลงทุนที่ยังมีทองคำอยู่ในพอร์ตการลงทุนสบายใจได้ว่า ในระยะเวลาสั้นๆ จนถึงปีหน้าทองจะยังไม่ใช่ขาลงอย่างแน่นอน
ขอบคุณครับ
ธีรรัฐ จุฑาวรากุล
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.