Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 6 ก.ย.64 by YLG

- Advertisement -

490

- Advertisement -

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรระยะสั้นการเข้าซื้อควรรอราคาอ่อนตัวลงบริเวณแนวรับ 1,813-1,807 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และหากราคาขยับขึ้นควรแบ่งขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านโซน 1,833-1,849 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้าผ่านได้สามารถถือต่อ

แนวรับ : 1,807 1,789 1,775  แนวต้าน : 1,833 1,849 1,864

สรุป  

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  17.69  ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนหลังกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า  ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 235,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 720,000 ตำแหน่ง  ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจยังไม่ประกาศปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 21-22 ก.ย.นี้  ทั้งนี้  การคาดการณ์ดังกล่าวกดดันดัชนีดอลลาร์ให้ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 91.947 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. จนเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้นผ่านระดับสูงสุดเดิมบริเวณ 1,823  ดอลลาร์ต่อออนซ์  พร้อมกับปรับตัวขึ้นต่อทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ  1,833.87 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรดี  มีแรงขายทำกำไรสลับออกมาท้ายตลาด  ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ  1.335% จากประมาณระดับ 1.299% ในช่วงก่อนการเปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงาน  โดยบอนด์ยีลด์พุ่งขึ้นจากความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ  หลังจากตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานที่เป็นข้อมูลบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเกินคาดถึง 0.6% จึงเป็นอีกปัจจัยที่สกัดช่วงบวกราคาทองคำเอาไว้  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ  ขณะที่ปริมาณซื้อขายในช่วงตลาดสหรัฐจะเบาบางกว่าปกติ เนื่องจากตลาดเงิน ตลาดทุนและตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการในวันแรงงาน

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อนค่า ผิดหวังตัวเลขจ้างงานสหรัฐต่ำกว่าคาดดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3 ก.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้บรรดานักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่มีแนวโน้มที่จะประกาศปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเดือนนี้  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.21% สู่ระดับ 92.0327  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยนที่ระดับ 109.62 เยน จากระดับ 109.96 เยน, ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9132 ฟรังก์ จากระดับ 0.9146 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2513 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2554 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1889 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1874 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3879 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3839 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7458 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7403 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 74.73 จุด ผิดหวังตัวเลขจ้างงานต่ำกว่าคาดดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (3 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังกับการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานของสหรัฐที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่ใจเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสสายพันธุ์เดลตา  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,369.09 จุด ลดลง 74.73 จุด หรือ -0.21% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,535.43 จุด ลดลง 1.52 จุด หรือ -0.03% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,363.52 จุด เพิ่มขึ้น 32.34 จุด หรือ +0.21%
  • (+) ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐต่ำสุดรอบ 8 เดือนในส.ค.ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ร่วงลงสู่ระดับ 55.1 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ธ.ค.2563 จากระดับ 59.9 ในเดือนก.ค.
  • (+) สหรัฐเผยจ้างงานวูบหนัก เพิ่มเพียง 235,000 ตำแหน่ง หลังพุ่งกว่า 1 ล้านในก.ค.กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 235,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 720,000 ตำแหน่ง จากระดับ 1,053,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค.  ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 5.2% ในเดือนส.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากแตะระดับ 5.4% ในเดือนก.ค.  กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนก.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 1,053,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 943,000 ตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนมิ.ย. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 962,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 938,000 ตำแหน่ง  กระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่าในเดือนส.ค. ภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 243,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานลดลง 8,000 ตำแหน่ง  ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 
  • (-) บิตคอยน์พุ่งทะลุ 5.1 หมื่นดอลล์ สูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพ.ค.ราคาบิตคอยน์ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 51,000 ดอลลาร์ในวันศุกร์ (3 ก.ย.) แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพ.ค.  บรรดานักลงทุนระบุว่า บิตคอยน์ปรับตัวขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับการที่ออปชั่นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์หมดอายุในวันศุกร์ และบ่งชี้ว่าบิตคอยน์จะปรับตัวขึ้นตามสินทรัพย์อื่นๆ ส่วนใหญ่ที่ได้แรงหนุนไปก่อนหน้านี้จากการที่นายเจอโรม พาวเวล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิ่งเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาว่า เฟดจะไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 61.7 ในเดือนส.ค.สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 61.7 ในเดือนส.ค. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 61.5 จากระดับ 64.1 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • (-) สหรัฐวางแผนลงทุน 6.5 หมื่นล้านดอลล์รับมือโรคระบาดครั้งใหม่หลังจบโควิดคณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้เปิดเผยแผนการมูลค่า 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยประเทศในการต่อสู้กับภัยคุกคามทางชีววิทยาครั้งใหม่ หลังจากที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สิ้นสุดลง  นายอีริก แลนเดอร์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของปธน.ไบเดน และผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (3 ก.ย.) ว่า การระบาดใหญ่ครั้งต่อไปนั้น มีแนวโน้มที่จะ “แตกต่างอย่างมาก” กับโรคโควิด-19 ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมในขณะนี้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากไวรัสในอนาคต

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More