Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 4 ต.ค.65 by YLG

- Advertisement -

218

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ$1,681-1,678

จุดทำกำไร    ขายเพื่อทำกำไร $1,711-1,735

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,659

แนวรับ : 1,678 1,659 1,641  แนวต้าน : 1,711 1,735 1,754

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดทะยานขึ้น 38.67 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ +2.2% ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นภายในวันเดียวที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. ทั้งนี้ ทองคำได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย ได้แก่

(1.) การอ่อนค่าของดัชนีดอลลาร์ หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาแย่เกินคาด อาทิ ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐจาก ISM ที่ร่วงลงสู่ระดับ 50.9 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง หรือนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2020 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 52.3 และการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างดิ่งลงเกินคาดถึง 0.7% เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021

(2.) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรร่วงลงทั่วโลก นำโดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษที่ร่วงลงแรง หลังรัฐบาลอังกฤษยกเลิกการปรับลดภาษีในนโยบายการคลังฉบับใหม่ สถานการณ์ดังกล่าวฉุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ให้ปรับตัวลดลงตามมาอยู่ที่ 3.5694% นอกจากนี้ ตัวเลขกิจกรรมการผลิตของสหรัฐที่ร่วงลงเกินคาดเป็นอีกปัจจัยกดดันบอนยีลด์ของสหรัฐเพิ่ม ซึ่งช่วยหนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย

(3.) การทะยานขึ้นแรงของน้ำมัน และการพุ่งขึ้นกว่า 8% ของโลหะเงินจากแรงซื้อเพื่อปิดสถานะขาย(Short Covering)

(4.) กองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +3.19 ตัน และ

- Advertisement -

(5.) แรงซื้อทางทางเทคนิคหลังจากทองคำทะลุระดับสูงสุดของวันก่อนหน้า รวมถึงทะลุ MA 21 วัน และ Downtrend Line สถานการณ์ที่กล่าวมาผลักดันให้ทองคำทะยานขึ้นจนทดสอบระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1,701.37 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตําแหน่งงานว่างเปิดใหม่และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) ดอลลาร์อ่อนค่า หลังสหรัฐเผยข้อมูลศก.อ่อนแอ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (3 ต.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิตที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.33% แตะที่ระดับ 111.7460   ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 144.72 เยน จากระดับ 144.77 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3635 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3811 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9930 ฟรังก์ จากระดับ 0.9861 ฟรังก์   ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 0.9821 ดอลาร์ จากระดับ 0.9810 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.1313 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1173 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6517 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6410 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) สหรัฐเผยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลงเป็นเดือนที่ 3 ในส.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลงเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนส.ค. โดยดิ่งลง 0.7% เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2564 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงเพียง 0.3% หลังจากลดลง 0.6% ในเดือนก.ค.
  • (+) UN ออกโรงเบรกเฟดขึ้นดอกเบี้ย หวั่นฉุดเศรษฐกิจโลกถดถอย องค์การสหประชาชาคิ (UN) เรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางของชาติอื่นหลีกเลี่ยงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ รายงานประจำปีของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ระบุว่า เฟดมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หากเฟดยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง   อังค์ถัดคาดการณ์ว่า หากเฟดทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1% ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศร่ำรวย 0.5% ภายหลังจากนั้น 3 ปี และกระทบเศรษฐกิจของประเทศยากจน 0.8%
  • (+) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐต่ำสุดรอบกว่า 2 ปีในเดือนก.ย. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 50.9 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 52.3 จากระดับ 52.8 ในเดือนส.ค.
  • (+) น้ำมัน WTI ปิดพุ่ง $4.14 รับคาดการณ์โอเปกพลัสลดการผลิตครั้งใหญ่ สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 5% ในวันจันทร์ (3 ต.ค.) ขานรับการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันครั้งใหญ่ในการประชุมวันพุธนี้ ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 4.14 ดอลลาร์ หรือ 5.2% ปิดที่ 83.63 ดอลลาร์/บาร์เรล  ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 3.72 ดอลลาร์ หรือ 4.4% ปิดที่ 88.86 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • (+) สภารัสเซียให้การอนุมัติเป็นเอกฉันท์ผนวกดินแดน 4 แคว้นยูเครน สภาดูมา ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎรรัสเซีย ให้การอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์ต่อการผนวกดินแดน 4 แคว้นของยูเครน ได้แก่ โดเนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริซเซีย แม้ว่ายังคงมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวชายแดนของภูมิภาคดังกล่าว
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 765.38 จุด รับบอนด์ยีลด์ชะลอตัว-คลายกังวลเฟดขึ้นดบ. ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 700 จุดในวันจันทร์ (3 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิตที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการชะลอตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
  • (-) ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐปรับตัวขึ้นในเดือนก.ย. เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52.0 ในเดือนก.ย. จากระดับ 51.5 ในเดือนส.ค. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 51.8

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More