Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 30 ส.ค.65 by YLG

- Advertisement -

382

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะขาย $1,745-1,752

จุดทำกำไร    ซื้อคืนเพื่อทำกำไร $1,719-1,716

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,752

แนวรับ : 1,716 1,697 1,681  แนวต้าน : 1,752 1,766 1,782

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากช่วงเช้าราคาทองคำร่วงลงแรง โดยได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์ที่พุ่งขึ้นแตะระดับ 109.48 ในระหว่างวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2002 ขานรับถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ให้คำมั่นว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีแตะระดับสูงที่สุดในรอบ 15 ปีบริเวณ 3.489% ส่วนอัตราผลอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งแตะ 3.13% จนกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเพิ่ม นั่นทำให้ทองคำดิ่งลงแรงจนกระทั่งทดสอบระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 เดือนบริเวณ 1,719.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์

อย่างไรก็ดี ราคาทองคำฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงตลาดสหรัฐ โดยกลับมาได้รับแรงหนุนจากดัชนีดอลลาร์ที่ร่วงลงท่ามกลางแรงขายทำกำไร ขณะที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้นขานรับถ้อนแถลงของกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่บ่งชี้ถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุม ECB ในวันที่ 8 กันยายน สถานการณ์ดังกล่าว ฉุดให้ดัชนีดอลลาร์ร่วงลงกลับมาปิดตลาดในแดนลบ ประกอบนักลงทุนบางส่วนกลับเข้าซื้อทองคำหลังจากราคาเข้าสู่ภาวะขายมากเกินไป(Oversold) สถานการณ์ดังกล่าวช่วยพลิกให้ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,745.32 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -3.77 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาบ้าน, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก CB และ JOLTS Job Openings รวมไปถึงถ้อยแถลงของนายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดริชมอนด์ และนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดนิวยอร์ก

ข่าวสารประกอบการลงทุน

- Advertisement -

  • (+) รัสเซียจัดซ้อมรบครั้งใหญ่กับอดีตสมาชิกโซเวียต – จีน อินเดีย ลาว ร่วมด้วย  รัสเซียประกาศในวันจันทร์ว่า จะเริ่มการซ้อมรบครั้งใหญ่ทางภาคตะวันออกของประเทศซึ่งจะรวมทหารจากหลายประเทศ รวมทั้งจีน ซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ทางทหารที่แนบแน่นระหว่างสองประเทศนี้ท่ามกลางความตึงเครียดกับชาติตะวันตกและสงครามยูเครน  กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศว่า การซ้อมรบ วอสตอก 2022 (Vostok 2022) ทางภาคตะวันออก จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 1-7 กันยายน ในหลายพื้นที่ทั้งในแถบตะวันออกไกลและทะเลญี่ปุ่น โดยจะมีทหารเข้าร่วมมากกว่า 50,000 คน หน่วยอาวุธเคลื่อนที่มากกว่า 5,000 หน่วย รวมทั้งเครื่องบิน 140 ลำ เรือรบ 60 ลำ เครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกล เครื่องบินลำเลียงทางทหาร และทหารพลร่ม  ประเทศที่จะส่งทหารเข้าร่วมการซ้อมรบครั้งนี้ ได้แก่ ประเทศอดีตสมาชิกสหภาพโซเวียตหลายประเทศ จีน อินเดีย ลาว มองโกเลีย นิคารากัว และซีเรีย  ก่อนหน้านี้ กองทัพรัสเซียเน้นย้ำว่าการซ้อมรบครั้งนี้คือส่วนหนึ่งของแผนการฝึกรบที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องแม้รัสเซียกำลัง “ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร” ในยูเครน
  • (+) น้ำมัน WTI ปิดพุ่ง $3.95 รับคาดการณ์โอเปกพลัสลดกำลังการผลิต สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 4% วันจันทร์ (29 ส.ค.) ขานรับการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส อาจจะปรับลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาด ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. พุ่งขึ้น 3.95 ดอลลาร์ หรือ 4.2% ปิดที่ 97.01 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. พุ่งขึ้น 4.10 ดอลลาร์ หรือ 4.1% ปิดที่ 105.09 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 184.41 จุด กังวลดอกเบี้ยขาขึ้นฉุดศก.ชะลอตัว  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (29 ส.ค.) โดยดาวโจนส์ปรับตัวลงต่อเนื่องจากวันศุกร์ หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้อาจจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงก็ตาม  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,098.99 จุด ลดลง 184.41 จุด หรือ -0.57%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,030.61 จุด ลดลง 27.05 จุด หรือ -0.67% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,017.67 จุด ลดลง 124.04 จุด หรือ -1.02%
  • (-) นักลงทุนเทน้ำหนัก 75% เก็งเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เดือนก.ย. นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนก.ย. หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ให้คำมั่นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 74.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 25.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%
  • (-) ดอลล์แข็งค่าต่อเนื่อง รับคาดการณ์เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (29 ส.ค.) หลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้คำมั่นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค. ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.03% แตะที่ระดับ 108.8350 หลังจากที่พุ่งขึ้นแตะระดับ 109.48 ในระหว่างวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2545   ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 138.82 เยน จากระดับ 137.37 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9688 ฟรังก์ จากระดับ 0.9664 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3006 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3026 ดอลลาร์แคนาดา   ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 0.9994 ดอลลาร์ จากระดับ 0.9968 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1703 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1744 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6902 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6894 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+/-) เฟดดัลลัสเผยดัชนีภาคการผลิตหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีชี้วัดกิจกรรมในภาคธุรกิจโดยรวมในรัฐเท็กซัสปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -12.9 ในเดือนส.ค. โดบสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ -22.6 ในเดือนก.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงมีค่าเป็นลบ ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะหดตัวของภาคการผลิตในเท็กซัส ขณะที่หดตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ขณะที่ภาคธุรกิจยังคงขาดความเชื่อมั่นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More