Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 30 ก.ย.65 by YLG

- Advertisement -

598

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะขาย $1,669-1,688

จุดทำกำไร    ซื้อคืนเพื่อทำกำไร $1,642-1,621

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,688

แนวรับ : 1,642 1,621 1,600  แนวต้าน : 1,669 1,688 1,706

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนหลักจากการอ่อนค่าของดัชนีดอลลาร์ ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจากค่าเงินปอนด์ที่พุ่งขึ้น 1.8% ในวันพฤหัสบดี โดยปรับตัวขึ้นภายในวันเดียวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2020 หลังจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศมาตรการสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน ด้วยการรับซื้อพันธบัตรระยะยาวโดยไม่จำกัดจำนวน

ขณะที่ยูโรแข็งค่าขึ้น 0.82% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังเงินเฟ้อของเยอรมนีพุ่งขึ้น 10.9% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 10.0% บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ไว้ที่ 9.6% ซึ่งจะเพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางยุโรป( ECB) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 75 bps ในการประชุมนโยบายครั้งต่อไป

สถานการณ์ดังกล่าวช่วยหนุนให้ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในระหว่างวัน และปิดตลาดในแดนบวกได้ แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากถ้อยแถลงในเชิง Hawkish ของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาทิ นางลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดคลีฟแลนด์ ที่ระบุว่าเธอยังไม่เห็นปัญหาในตลาดการเงินของสหรัฐที่จะเปลี่ยนแผนการของเฟดในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ พร้อมระบุว่าเธอยังคงมองว่าเงินเฟ้อเป็นปัญหาสำคัญและเฟดจำเป็นต้องเร่งดำเนินการต่อไปเพื่อขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่สูงกว่า 4% สอดคล้องกับนางแมรี่ เดลี ประธานเฟดซานฟรานซิสโก ที่เชื่อว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ 4.5%-5% และคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงสิ้นปี 2023 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

แต่เธออาจสนับสนุนให้เฟดดำเนินการมากกว่านี้หากอัตราเงินเฟ้อไม่ลดลงตามคาด สถานการณ์ดังกล่าวกดดันการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ ด้านกองทุน SPDR ถืองครองทองคำเพิ่มขึ้น +0.29 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี Core PCE, การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล, ดัชนี PMI เขตชิคาโกและคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากม.มิชิแกน

ข่าวสารประกอบการลงทุน

- Advertisement -

  • (+) ดอลล์อ่อนเทียบยูโร เหตุวิตกเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (29 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.31% แตะที่ระดับ 112.2540   ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 0.9793 ดอลลาร์ จากระดับ 0.9748 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.1058 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0903 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6478 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6526 ดอลลาร์  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 144.40 เยน จากระดับ 143.99 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9779 ฟรังก์ จากระดับ 0.9759 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3707 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3616 ดอลลาร์แคนาดา
  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 458.13 จุด หวั่นเฟดเร่งขึ้นดบ.ฉุดเศรษฐกิจถดถอย  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 400 จุดในวันพฤหัสบดี (29 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้ ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดปริวรรตเงินตราและตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกยังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้น  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 29,225.61 จุด ลดลง 458.13 จุด หรือ -1.54%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,640.47 จุด ลดลง 78.57 จุด หรือ -2.11% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,737.51 จุด ลดลง 314.13 จุด หรือ -2.84%
  • (+) ฟินแลนด์ปิดพรมแดนสำหรับนักท่องเที่ยวรัสเซียตั้งแต่เที่ยงคืนวันนี้ รัฐบาลฟินแลนด์ประกาศปิดพรมแดนสำหรับนักท่องเที่ยวรัสเซียตั้งแต่เที่ยงคืนวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากที่มีชาวรัสเซียจำนวนมากแห่เดินทางออกจากประเทศเข้าสู่ฟินแลนด์ หลังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศระดมกำลังพลจำนวน 300,000 นายเพื่อยกระดับการทำสงครามกับยูเครน
  • (+) เลขาฯ UN แสดงความกังวล หลังรัสเซียเตรียมผนวกดินแดนยูเครน นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) แสดงความกังวล หลังมีรายงานว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย จะประกาศผนวกดินแดน 4 แคว้นของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐดีดตัว หลังร่วงลงวานนี้จากการแทรกแซงตลาดของ BoE  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้น หลังปรับตัวลงวานนี้จากการที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยไม่จำกัดจำนวนเพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาด  ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 4.2% และอยู่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีและ 30 ปี  ณ เวลา 21.19 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 4.229% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 3.81% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี อยู่ที่ระดับ 3.751%  การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานลดลงสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางคาดการณ์  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 16,000 ราย สู่ระดับ 193,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 213,000 ราย
  • (-) รัสเซียส่งสัญญาณไฟเขียวจัดการเจรจาอาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐ นางมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า รัสเซียกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการประชุมแบบพบหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่รัสเซียและสหรัฐเพื่อเจรจาสนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนี้ นางซาคาโรวากล่าวว่า รัสเซียเปิดกว้างสำหรับการรื้อฟื้นการเข้าตรวจสอบภายใต้สนธิสัญญา START ฉบับใหม่ หลังจากที่ถูกระงับไปในปี 2563 อันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • (+/-) สหรัฐเผย GDP -0.6% ใน Q2 หลัง -1.6% ใน Q1 บ่งชี้เศรษฐกิจถดถอย กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 2 ในวันนี้ โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐหดตัว 0.6% ในไตรมาสดังกล่าว ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ขณะที่ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ระบุว่า เศรษฐกิจหดตัว 0.9%

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More