Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 3 ต.ค.65 by YLG

- Advertisement -

636

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ$1,651

จุดทำกำไร    ขายเพื่อทำกำไร $1,676-1,688

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,633

แนวรับ : 1,651 1,633 1,614  แนวต้าน : 1,688 1,711 1,735

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.93 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนในกรอบ 1,675.20-1,659.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ ระหว่างวันราคาทองคำได้รับแรงหนุนจาก

(1.) แรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศผนวกดินแดน 4 แคว้นของยูเครนได้แก่ โดเนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริซเซีย เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ และ

(2.)การเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่บางรายการออกมาแย่เกินคาด อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่ ปรับตัวขึ้น “น้อยกว่าคาด” สู่ระดับ 58.6 ในเดือนก.ย. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกที่ลดลงเกินคาด สู่ระดับ 45.7 ในเดือนก.ย. ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวหนุนราคาทองคำใหเดีดตัวขึ้นทดสอบกรอบด้านบนบริเวณ 1,675 ดอลลาร์ต่อออนซ์

อย่างไรก็ดี ราคาทองคำปรับตัวลดลงในเวลาต่อมา โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวต่อไป หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี Core PCE เพิ่มขึ้น 4.9% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.7% ขณะที่ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าเฟดยังคงย้ำจุดยืนเดิมในการเดินปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นสักระยะหนึ่งและจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควร นั่นทำให้ดัชนีดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดในแดนบวก

ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.823% จนเป็นปัจจัยกดดันทองคำในช่วงท้ายตลาด ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.45 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตและข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 500.10 จุด วิตกเงินเฟ้อ-เศรษฐกิจถดถอยกดดันตลาด ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันศุกร์ (30 ก.ย.) โดยถูกกดดันหลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก และทำให้นักลงทุนวิตกว่าเศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะถดถอยทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 28,725.51 จุด ลดลง 500.10 จุด หรือ -1.71%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,585.62 จุด ลดลง 54.85 จุด หรือ -1.51% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,575.62 จุด ลดลง 161.89 จุด หรือ -1.51%
  • (+) สหรัฐเผยการใช้จ่ายส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนส.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนส.ค. หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนก.ค. นอกจากนี้ รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ค. และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
  • (+) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ผู้บริโภคเพิ่มความเชื่อมั่น ขณะลดคาดการณ์เงินเฟ้อ ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 58.6 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน จากระดับ 58.2 ในเดือนส.ค. แต่ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 59.5 ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 4.7% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า โดยต่ำกว่าระดับ 4.8% ที่มีการสำรวจในเดือนที่แล้ว และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2564 สำหรับในช่วง 5 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 2.7% โดยต่ำกว่าระดับ 2.9% ที่มีการสำรวจในเดือนที่แล้ว และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2564
  • (+) ออสเตรเลียคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ หลังปูตินประกาศผนวก 4 แคว้นยูเครน ออสเตรเลียประกาศมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินและแบนการเดินทางชาวรัสเซีย 28 คน ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ระดับสูง และผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน หลังจากที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศผนวกดินแดน 4 แคว้นของยูเครนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย
  • (+) “ไบเดน” สั่งคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหม่ หลัง “ปูติน” ประกาศผนวก 4 แคว้นยูเครน สหรัฐประกาศมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียในวันศุกร์ (30 ก.ย.) หลังจากรัสเซียประกาศผนวกดินแดน 4 แคว้นของยูเครน โดยสหรัฐมุ่งเป้าคว่ำบาตรประชาชนและบริษัทจำนวนหลาย 100 ราย ซึ่งรวมถึงบุคคลในกองทัพและภาคอุตสาหกรรม และสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัสเซีย ทั้งนี้ สหรัฐประกาศคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหม่ หลังจากนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียประกาศผนวกดินแดนครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
  • (+) เกาหลีเหนือยั่วยุอีกแล้ว สั่งยิงขีปนาวุธ 2 ลูกลงสู่ทะเลญี่ปุ่นเช้านี้ เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธ 2 ลูกลงสู่ทะเลญี่ปุ่นเช้านี้ ซึ่งนับเป็นการยิงครั้งที่ 4 ในรอบไม่ถึง 1 สัปดาห์ กองทัพเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้ 2 ลูกระหว่างเวลา 06.45-07.03 น.ตามเวลาท้องถิ่นในช่วงเช้านี้จากเขตซูนานของกรุงเปียงยาง
  • (+) ยูเครนยื่นสมัครเป็นสมาชิกนาโตแบบ fast track หลังรัสเซียประกาศผนวกดินแดน ประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน กล่าวว่า ยูเครนได้ยื่นสมัครเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) แบบ fast track ในวันนี้ “เราได้ลงนามในเอกสารสมัครเป็นสมาชิกของนาโตแบบเร่งด่วนในวันนี้ โดยเราได้พิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐานของนาโต” ปธน.เซเลนสกีระบุ   
  • (+) “ปูติน” ประกาศผนวกดินแดน 4 แคว้นยูเครนเป็นของรัสเซียอย่างเป็นทางการ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศผนวกดินแดน 4 แคว้นของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการในวันนี้ ทั้งนี้ ปธน.ปูตินได้ลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนดังกล่าวร่วมกับผู้นำจากทั้ง 4 แคว้น ซึ่งได้แก่ โดเนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริซเซีย ในพิธีซึ่งจัดขึ้นที่ทำเนียบเครมลินในเวลา 15.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 19.00 น.ตามเวลาไทย   
  • (-) สหรัฐเผยดัชนี PCE พื้นฐานสูงกว่าคาดในเดือนส.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดีดตัวขึ้น 6.2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 6.4% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. หลังจากลดลง 0.1% ในเดือนก.ค.   ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 4.9% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 4.7% ในเดือนก.ค.   เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนส.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.5% หลังจากทรงตัวในเดือนก.ค.

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More