Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 23 ส.ค.65 by YLG

- Advertisement -

240

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะขาย $1,753-1,767

จุดทำกำไร    ซื้อคืนเพื่อทำกำไร $1,727-1,715

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,767

แนวรับ : 1,727 1,715 1,697  แนวต้าน : 1,753 1,767 1,789

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 11.96 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำวานนี้ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ (1.) ค่าเงินหยวนของจีนร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปีหลังจากที่ธนาคารกลางของจีน (PBOC) ปรับลดดอกเบี้ย LPR (Loan Prime Rate) ประเภท 1 และ 5 ปีซึ่งการอ่อนค่าของหยวนหนุนดอลลาร์ให้แข็งค่า (2.) นักลงทุนหันมาคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps

ในการประชุมเดือนก.ย.สะท้อนจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ในขณะนี้ว่า นักลงทุนเพิ่มโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. สู่ระดับ 55% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำกว่า 50% ในวันก่อนหน้า ส่วนโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ลดลงจากระดับ 53.5% เหลือ 45% ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์

ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ที่ 3.039% ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย และ (3.) ยูโรอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำกว่า 1 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 14 ก.ค. ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานในยุโรป ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย หลังจากก๊าซพรอมของรัสเซีย ประกาศจะปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ในวันที่ 31 ส.ค.-2 ก.ย.เพื่อทำการซ่อมบำรุง

สถานการณ์ดังกล่าวฉุดให้ทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 สัปดาห์ที่ 1,727.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำ -1.45 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ, ยอดขายบ้านใหม่ และดัชนีภาคการผลิตจากเฟดสาขาริชมอนด์

ข่าวสารประกอบการลงทุน

- Advertisement -

  • (+) บิตคอยน์ดิ่งใกล้หลุด $21,000 ร่วงตามวอลล์สตรีท กังวลเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย บิตคอยน์ดิ่งลงใกล้หลุดระดับ 21,000 ดอลลาร์ในวันนี้ โดยปรับตัวลงตามตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ท่ามกลางความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ณ เวลา 20.53 น.ตามเวลาไทย บิตคอยน์ดิ่งลง 1.27% สู่ระดับ 21,242.65 ดอลลาร์ ในการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Coinbase
  • (+) ซาอุฯส่งสัญญาณหั่นกำลังการผลิตรับมือความท้าทายในตลาด เจ้าชายอับดูลาซิส บิน ซัลมาน รัฐมนตรีพลังงานซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีความมุ่งมั่น ความยืดหยุ่น และแนวทางในการรับมือกับความท้าทาย ซึ่งรวมถึงการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันได้ทุกเวลา และในรูปแบบที่แตกต่างกัน
  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 643.13 จุด กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรงเดือนหน้า ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 600 จุดในวันจันทร์ (22 ส.ค.) โดยหุ้นทุกกลุ่มในตลาดดิ่งลง เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,063.61 จุด ร่วงลง 643.13 จุด หรือ -1.91%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,137.99 จุด ลดลง 90.49 จุด หรือ -2.14% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,381.57 จุด ร่วงลง 323.64 จุด หรือ -2.55%
  • (-) ดอลลาร์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (22 ส.ค.) ได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานในยุโรป ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.82% แตะที่ระดับ 109.0460 ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 0.9935 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0036 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1753 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1813 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6872 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6869 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 137.50 เยน จากระดับ 136.87 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9646 ฟรังก์ จากระดับ 0.9591 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3051 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2993 ดอลลาร์แคนาดา
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งทะลุ 3% เก็งเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรงสกัดเงินเฟ้อ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นทะลุ 3% ในวันนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ณ เวลา 23.38 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.028% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.248%
  • (-) ยูโรร่วงหลุด 1 ดอลลาร์ กังวลวิกฤตพลังงานฉุดเศรษฐกิจยุโรปถดถอย ยูโรอ่อนค่าต่ำกว่าระดับ 1 ดอลลาร์ในวันนี้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานในยุโรป ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย ณ เวลา 23.03 น.ตามเวลาไทย ยูโรดิ่งลง 1.017% สู่ระดับ 0.993 ดอลลาร์ ยูโรดิ่งลง 12% เทียบดอลลาร์ในปีนี้ โดยถูกกดดันจากการที่รัสเซียลดการส่งก๊าซไปยังยุโรปเพื่อตอบโต้ต่อมาตรการคว่ำบาตรจากยุโรป หลังจากที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครนตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. ก๊าซพรอม ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย ประกาศว่า บริษัทจะปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ในวันที่ 31 ส.ค.-2 ก.ย.เพื่อทำการซ่อมบำรุง
  • (-) ซิตี้กรุ๊ปเตือนเงินเฟ้ออังกฤษพุ่งทะลุ 18% ขณะชาวเมืองผู้ดีเผชิญค่าไฟอ่วม ซิตี้กรุ๊ปออกรายงานเตือนว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของอังกฤษจะพุ่งทะลุ 18% ในเดือนม.ค.2566 โดยได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่พุ่งขึ้น นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังเตือนว่าดัชนีราคาค้าปลีกจะพุ่งแตะระดับ 21% ในไตรมาสแรกของปี 2566 ทั้งนี้ Ofgem ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลอังกฤษที่มีหน้าที่กำหนดเพดานค่าไฟฟ้า จะทำการประกาศในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับการปรับขึ้นเพดานค่าไฟฟ้าซึ่งจะมีผลต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของอังกฤษตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2565 ถึงปี 2567 ซึ่งซิตี้กรุ๊ปคาดการณ์ว่า Ofgem จะปรับขึ้นเพดานค่าไฟฟ้า สู่ระดับ 3,717 ปอนด์/ปี จากระดับ 1,971 ปอนด์/ปีในปัจจุบัน   
  • (-) อังกฤษเผย GDP หดตัว 11.0% ในปี 2563 ทรุดตัวมากสุดรอบกว่า 300 ปี สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษหดตัว 11.0% ในปี 2563 ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงมากที่สุดในรอบกว่า 300 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2252 และร่วงลงมากกว่าเศรษฐกิจของประเทศชั้นนำอื่นๆ โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More