Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 22 มิ.ย.65 by YLG

- Advertisement -

258

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะขาย $1,841-1,858

จุดทำกำไร    ซื้อคืนเพื่อทำกำไร $1,816

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,858

แนวรับ : 1,816 1,800 1,786  แนวต้าน : 1,841 1,858 1,879

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 6.37 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ราคาทองคำจะดีดตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,843.43 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองลดลง 3.4% สู่ระดับ 5.41 ล้านยูนิตในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งแม้จะสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ แต่ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2020

อย่างไรก็ดี ราคาทองคำเผชิญแรงขายในเวลาต่อมา โดยได้รับแรงกดดันจากการกลับมาเปิดรับความเสี่ยงของนักลงทุน(Risk on) สะท้อนจากดัชนีดาวโจนส์ที่ปิดพุ่งขึ้น 641.47 จุด หรือ +2.15%, ดัชนี S&P500 ปิด +2.45% และดัชนี Nasdaq ปิด + 2.51% จากแรงช้อนซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน และหุ้นเติบโต (Growth Stocks) นั่นทำให้นักลงทุนเททขายพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งแรงขายพันธบัตรผลักดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ให้ดีดตัวสู่ระดับ 3.302% จนเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย สถานการณ์ดังกล่าวฉุดให้ราคาทองคำร่วงลงจากระดับสูงสุดในระหว่างวันแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,828.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนจะปรับตัวลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,826.07 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้าของวันนี้ในตลาดเอเชีย

ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.74 ตัน สำหรับวันนี้จับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภา

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) ดอลลาร์อ่อนค่า นลท.จับตาพาวเวลแถลงสภาคองเกรส  สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (21 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ขณะที่เงินปอนด์ยังคงแข็งค่าหลังจากธนาคารกลางอังกฤษประกาศขึ้นดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.15% แตะที่ระดับ 104.4330  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9662 ฟรังก์ จากระดับ 0.9689 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2919 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2994 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 136.52 เยน จากระดับ 135.12 เยน  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0534 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0502 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2277 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2238 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6975 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6952 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) เครมลินลั่นชาวอเมริกันถูกจับในยูเครนอาจถูกตัดสินประหารชีวิต  นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่า ชะตากรรมของชาวอเมริกัน 2 คนที่ถูกจับกุมตัวได้ในยูเครนจะขึ้นอยู่กับศาลรัสเซีย ซึ่งอาจมีคำตัดสินประหารชีวิต  “เราไม่สามารถปฏิเสธคำตัดสินใดๆที่อาจมีขึ้น เนื่องจากขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาล ซึ่งเราขอไม่ออกความเห็น และไม่มีสิทธิที่จะก้าวล่วง” นายเพสคอฟกล่าว  นายเพสคอฟระบุว่า เขาไม่ทราบว่าชาวอเมริกันที่ถูกจับกุมตัวอยู่ที่ใดในขณะนี้
  • (+) ทำเนียบขาวโวย หลังรัสเซียอาจประหารชีวิตชาวอเมริกันถูกจับในยูเครน  นายจอห์น เคอร์บี เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวด้านความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่า การที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียกล่าวว่า ชาวอเมริกันที่ถูกจับกุมตัวในยูเครนอาจถูกตัดสินประหารชีวิต ถือเป็นเรื่องที่ “น่าตกใจ”  “เป็นเรื่องที่น่าตกใจที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียกล่าวว่าชาวอเมริกันที่ถูกจับในยูเครนอาจถูกตัดสินประหารชีวิต” นายเคอร์บีกล่าว
  • (+) สหรัฐยืนยันชาวอเมริกันเสียชีวิตจากการสู้รบในยูเครน  กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐออกแถลงการณ์ยืนยันการเสียชีวิตของชาวอเมริกันรายหนึ่งจากการสู้รบกับกองกำลังรัสเซียในยูเครน  “เราขอยืนยันการเสียชีวิตของคุณสตีเฟน ซาบิลสกีในยูเครน เราได้ติดต่อกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตแล้ว และได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านกงสุลเท่าที่จะทำได้” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศระบุ  ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ The Recorder ได้ลงประกาศข่าวมรณกรรมเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ระบุว่า “นายสตีเฟน ซาบิลสกี วัย 52 ปี ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ขณะที่ทำการสู้รบในสงครามที่หมู่บ้านโดรอซเนียนก์ ยูเครน”  นายซาบิลสกีนับเป็นชาวอเมริกันรายที่ 2 ซึ่งได้เสียชีวิตจากการสู้รบในยูเครน ส่วนรายแรกคือนายวิลลี โจเซฟ แคนเซิล วัย 22 ปี ซึ่งเสียชีวิตในเดือนเม.ย.
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 641.47 จุด รับแรงซื้อหุ้นพลังงาน จับตาพาวเวลแถลง  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 600 จุดในวันอังคาร (21 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงช้อนซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน และหุ้นเติบโต (Growth Stocks) ที่มีทุนจดทะเบียนสูง เช่นหุ้นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่างแอปเปิลและไมโครซอฟท์ ขณะที่นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะแถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,530.25 จุด พุ่งขึ้น 641.47 จุด หรือ +2.15%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,764.79 จุด เพิ่มขึ้น 89.95 จุด หรือ +2.45% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,069.30 จุด พุ่งขึ้น 270.95 จุด หรือ + 2.51%
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐดีดตัว นักลงทุนจับตาถ้อยแถลง “พาวเวล”  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้  ณ เวลา 23.12 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.302% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.368%
  • (-) ประธานเฟดริชมอนด์หนุนขึ้นดอกเบี้ย 0.50-0.75% ในการประชุมเดือนก.ค.  นายทอม บาร์คิน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาริชมอนด์ กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% หรือ 0.75% ในการประชุมของเฟดในเดือนก.ค. ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม  “ผมเห็นด้วยกับคุณพาวเวล เขาได้ให้ช่วงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มีความเหมาะสม” นายบาร์คินกล่าว
  • (+/-) สหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองต่ำสุดรอบ 2 ปีในเดือนพ.ค.  สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองลดลง 3.4% สู่ระดับ 5.41 ล้านยูนิตในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2563  เมื่อเทียบรายปี ยอดขายบ้านดิ่งลง 8.6% ในเดือนพ.ค.  ยอดขายบ้านมือสองได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาบ้านและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง ขณะที่สต็อกบ้านอยู่ในระดับต่ำ

- Advertisement -

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More