Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 21 ก.ย.65 by YLG

- Advertisement -

395

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะขาย $1,680-1,700

จุดทำกำไร    ซื้อคืนเพื่อทำกำไร $1,653-1,648

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,700

แนวรับ : 1,648 1,630 1,612  แนวต้าน : 1,680 1,700 1,720

ปัจจัยพื้นฐาน

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดลบ 13.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยปัจจัยหลักที่กดดันทองคำวานนี้เป็นความเคลื่อนไหวในตลาดพันธบัตรจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีและ 5 ปีของเยอรมนีแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2011 ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของเยอรมนี ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 เดือน

ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีให้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 ที่ 3.992% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งแตะ 3.604% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เม.ย. 2011 หลังราคาผู้ผลิตเดือนส.ค.ของเยอรมนีปรับตัวขึ้นที่อัตราแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลซึ่งกระตุ้นการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป(ECB)จะเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ประกอบกับธนาคารกลางสวีเดน (Riksbank) สร้างความประหลาดใจให้ตลาดด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 100 bps

นอกจากนี้ การคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75-100 bps ในการประชุมที่กำลังจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางดึกของคืนวันนี้เป็นปัจจัยหนุนบอนด์ยีลด์เพิ่ม สถานการณ์ดังกล่าวกดดันทองคำให้ร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,659.94 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -4.63 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยยอดขายบ้านมือสอง พร้อมจับตาผลการประชุมเฟดในเวลาตี 1 ของคืนวันนี้ คาดเฟด “ขึ้น” ดอกเบี้ย 75 bps และแนะนำรอดูมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐผ่านรายงาน Economic Projections

ซึ่งเป็นการคาดการณ์ GDP, อัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อ รวมไปถึงติดตามความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในอนาคต ผ่านรายงาน Dot Plot ซึ่งจะเป็นคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของเจ้าหน้าที่เฟด และติดตามถ้อยแถลงของประธานเฟดในเวลา ตี 1 ครึ่งว่าจะส่งสัญญาณในเชิง Hawkish มากกว่าคาด หรือ น้อยกว่าคาด

ข่าวสารประกอบการลงทุน

- Advertisement -

  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 313.45 จุด กังวลผลกระทบเฟดเร่งขึ้นดบ. ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 300 จุดในวันอังคาร (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่อีกครั้งในการประชุมซึ่งจะเสร็จสิ้นลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากสัญญาณบ่งชี้ว่าบริษัทรายใหญ่ของสหรัฐกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาเงินเฟ้อ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,706.23 จุด ร่วงลง 313.45 จุด หรือ -1.01%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,855.93 จุด ลดลง 43.96 จุด หรือ -1.13% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,425.05 จุด ลดลง 109.97 จุด หรือ -0.95%
  • (+) บิตคอยน์หลุด $19,000 ร่วงตามวอลล์สตรีท ผวาเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง บิตคอยน์ร่วงลงหลุดระดับ 19,000 ดอลลาร์ในวันนี้ โดยปรับตัวลงตามตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ณ เวลา 21.24 น.ตามเวลาไทย บิตคอยน์ร่วงลง 2.83% สู่ระดับ 18,962.50 ดอลลาร์ ในการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Coinbase
  • (-) นักวิเคราะห์คาดเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยถึงมี.ค.66 ก่อนคงดอกเบี้ยยาวเกือบ 1 ปี ผลการสำรวจของสำนักข่าว CNBC ระบุว่า นักวิเคราะห์ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนแตะระดับสูงสุด และจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวต่อไประยะหนึ่ง โดยเฟดจะใช้มาตรการดอกเบี้ยแบบ “ขึ้นแล้วคง” (hike and hold) แทนที่จะใช้มาตรการ “ขึ้นแล้วลง” (hike and cut) ตามที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ผลการสำรวจระบุว่า นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% หลังเสร็จสิ้นการประชุมในวันพรุ่งนี้ (21 ก.ย.) และเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนแตะระดับ 4.26% ในเดือนมี.ค.2566 โดยคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นเวลาเกือบ 11 เดือน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของบรรดานักวิเคราะห์ที่คาดว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือนไปจนถึง 2 ปี   นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า มีแนวโน้ม 52% ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเผชิญภาวะถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า อันเนื่องจากการที่เฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากเกินไป   ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์มองว่าเฟดต้องใช้เวลาอีกหลายปี ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมาย 2% โดยคาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เมื่อเทียบรายปี จะอยู่ที่ระดับ 6.8% ในช่วงสิ้นปี 2565 และอยู่ที่ 3.6% ช่วงสิ้นปี 2566 ก่อนที่จะปรับตัวลงสู่เป้าหมาย 2% ของเฟดในปี 2567
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านสูงกว่าคาดในเดือนส.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านพุ่งขึ้น 12.2% ในเดือนส.ค. สู่ระดับ 1.575 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.445 ล้านยูนิต จากระดับ 1.404 ล้านยูนิตในเดือนก.ค.   ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนส.ค. แม้ได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้าง และการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง อย่างไรก็ดี การอนุญาตก่อสร้างบ้านลดลง 10.0% สู่ระดับ 1.517 ล้านยูนิตในเดือนส.ค.
  • (-) ดอลลาร์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ยแรงสกัดเงินเฟ้อ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (20 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.44% แตะที่ระดับ 110.2150   ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 143.66 เยน จากระดับ 143.25 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3364 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3269 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ดอลลาร์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.9640 ฟรังก์ จากระดับ 0.9655 ฟรังก์  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 0.9972 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0014 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1370 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1420 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6692 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6714 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐยืนเหนือ 3.9% นิวไฮ 15 ปี เก็งเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงดีดตัวขึ้นในวันนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75-1.00% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของเฟด พุ่งขึ้นเหนือระดับ 3.9% แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 และอยู่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีและ 30 ปี

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More