Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 2 ก.ย.65 by YLG

- Advertisement -

262

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ $1,688-1,676

จุดทำกำไร    ขายเพื่อทำกำไร $1,713-1,732

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,676

แนวรับ : 1,688 1,676 1,658  แนวต้าน : 1,713 1,732 1,746

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดลดลง 14.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ก่อนที่จะ “คง” ดอกเบี้ยไว้ตลอดทั้งปีหน้าโดย “ไม่รีบเร่ง” ในการปรับ “ลด” อัตราดอกเบี้ย แม้ระหว่างวันราคาทองคำจะดีดขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,711.34 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ก็มีแรงขายสลับออกมาชัดเจน จนกระทั่งราคาทองคำร่วงลงหลุดแนวรับจิตวิทยาบริเวณ 1,699 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังสหรัฐเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด อาทิ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานลดลงเกินคาดสู่ระดับ 232,000 รายในสัปดาห์ที่แล้วแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.

ส่วนดัชนีภาคการผลิตจาก ISM อยู่ที่ระดับ 52.8 ในเดือนส.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 52.0 สะท้อนให้เห็นว่าภาคการจ้างงานและภาคการผลิตของสหรัฐแข็งแกร่งพอที่จะสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด พร้อมกับกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุมเดือนก.ย.นี้ สะท้อนจาก FedWatch Tool ของ CME Group ที่บ่งชี้ว่ามีโอกาสมากถึง 74.0% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ สถานการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้นแตะ 109.97 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2002 พร้อมกับหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี พุ่งขึ้นเหนือระดับ 3.5% แตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 15 ปี

ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.297% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน จนเป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการดิ่งลงทดสอบระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์บริเวณ 1,688.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ของทองคำ

ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยตัวเลขตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราการว่างงานและรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงแรงงานของสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน

- Advertisement -

  • (+) ดาวโจนส์ปิดบวก 145.99 จุด นลท.จับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (1 ก.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงช้อนซื้อในช่วงท้ายตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,656.42 จุด เพิ่มขึ้น 145.99 จุด หรือ +0.46%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,966.85 จุด เพิ่มขึ้น 11.85 จุด หรือ +0.30% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,785.13 จุด ลดลง 31.08 จุด หรือ -0.26%
  • (+) ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาถรรพ์หุ้นตกเดือนกันยายน สถิติชี้ S&P 500 ร่วงเฉลี่ย 0.56% สถาบันวิจัย CFRA ออกรายงานระบุว่า สถิติบ่งชี้ว่า เดือนกันยายนเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวย่ำแย่ที่สุดของปี ทั้งนี้ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ดัชนี S&P 500 ร่วงลงเฉลี่ย 0.56% ในเดือนกันยายน และปรับตัวลง 56% สำหรับตลอดการซื้อขายในเดือนดังกล่าว นอกจากนี้ CFRA ชี้ว่า ปีนี้ซึ่งเป็นปีที่มีการเลือกตั้งกลางเทอมในสหรัฐ จะทำให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทยิ่งมีแนวโน้มดิ่งลงในเดือนกันยายน เนื่องจากนักลงทุนมักทำการเทขายหุ้นอย่างหนักในเดือนกันยายนและตุลาคมในปีเลือกตั้ง ก่อนที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นในไตรมาส 4 CFRA ยังเปิดเผยว่า เดือนกุมภาพันธ์เป็นอีกหนึ่งเดือนที่ดัชนี S&P 500 มักปรับตัวลง โดยมีสถิติร่วงลงเฉลี่ย 0.2%
  • (-) ดอลลาร์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (1 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.07% แตะที่ระดับ 108.6980 ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 140.20 เยน จากระดับ 138.74 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9822 ฟรังก์ จากระดับ 0.9762 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3165 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3122 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 0.9947 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0046 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1539 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1617 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6784 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6849 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งทะลุ 3.5% นิวไฮ 15 ปี เก็งเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) พุ่งขึ้นเหนือระดับ 3.5% แตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 15 ปี ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ณ เวลา 00.01 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี พุ่งขึ้นสู่ระดับ 3.522% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2550 ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.263% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.377%
  • (-) ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐต่ำสุดรอบ 2 ปีในเดือนส.ค. เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 51.5 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนก.ค.2563 จากระดับ 52.2 ในเดือนก.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 51.3
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐทรงตัวในเดือนส.ค. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 52.8 ในเดือนส.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ค. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 52.0
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 232,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 245,000 ราย
  • (-) น้ำมัน WTI ปิดร่วง $2.94 กังวลจีนล็อกดาวน์ฉุดดีมานด์ สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงกว่า 3% ในวันพฤหัสบดี (1 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการที่จีนสั่งล็อกดาวน์เมืองใหญ่หลายแห่งเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันชะลอตัวลง ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ร่วงลง 2.94 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 86.61 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. ร่วงลง 3.28 ดอลลาร์ หรือ 3.4% ปิดที่ 92.36 ดอลลาร์/บาร์เรล

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More