Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 18 ส.ค.65 by YLG

- Advertisement -

375

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ $1,759-1,754

จุดทำกำไร    ขายเพื่อทำกำไร $1,782-1,803

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,754

แนวรับ : 1,754 1,736 1,717  แนวต้าน : 1,782 1,803 1,818

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 14.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้น ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ หลังจากอัตราเงินเฟ้อในอังกฤษพุ่งขึ้นสู่ตัวเลข 2 หลักที่ 10.1% ในเดือนก.ค. ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ก.พ. ปี 1982

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษอายุ 10 ปีพุ่งสู่ระดับ 2.249% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค., อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 1.08% ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค. ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีก็ดีดตัวขึ้นเช่นกันสู่ระดับ 2.899%

สถานการณ์ดังกล่าวกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย ประกอบกับดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น จากการอ่อนค่าของเงินปอนด์ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงจากภาวะถดถอย(Recession) ในอังกฤษ

ปัจจัยที่กล่าวมากดดันทองคำให้ร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1,759.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคาทองฟื้นตัวลดช่วงติดลบหลังจากรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 26-27 ก.ค. บ่งชี้ว่า กรรมการเฟดมีความมุ่งมั่นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงที่สุดเท่าที่จำเป็น จนกว่าจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ แต่ก็มีจุดยืนแข็งกร้าวน้อยลง(less aggressive) โดยระบุว่าอัตราการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจ รวมทั้งการประเมินว่าเศรษฐกิจตอบรับกับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นแล้วอย่างไร

ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -3.19 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเฟดฟิลาเดลเฟีย, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน, ยอดขายบ้านมือสอง และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจาก CB

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสินเชื่อจำนองลดลง แม้ดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวลง  สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง 2% ในสัปดาห์ที่แล้ว แม้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวลง  จำนวนผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์ลดลง 5% ในสัปดาห์ที่แล้ว และดิ่งลง 82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 171.69 จุด หลังเฟดเผยรายงานประชุม  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (17 ส.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมซึ่งระบุว่า กรรมการเฟดมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้ลดลงสู่ระดับที่สามารถควบคุมได้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,980.32 จุด ลดลง 171.69 จุด หรือ -0.50%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,274.04 จุด ลดลง 31.16 จุด หรือ -0.72% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,938.12 จุด ลดลง 164.43 จุด หรือ -1.25%
  • (+) ไต้หวันซ้อมรบเพื่อเเสดงพลังต้านเเรงกดดันจีน  กองทัพไต้หวันซ้อมรบเพื่อเเสดงพลังต้านทานเเรงกดดันจากจีน หลังจากที่จีนซ้อมรบรอบใหม่เช่นกัน ตามรายงานของเอพี  ไต้หวันซ้อมรบครั้งนี้บริเวณเขตหัวเหลียนทางตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่จีนส่งเครื่องบินและเรือของกองทัพเข้ามาที่น่านน้ำและน่านฟ้าไต้หวัน และกองทัพจีนยังซ้อมยิงขีปนาวุธอีกด้วย  โฆษกกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ซุน หลี่ฟาง กล่าวว่า “เราขอประณามการยั่วยุทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ต่อเนื่องรอบ ๆ ทะเลและน่านฟ้าของไต้หวัน ซึ่งเป็นการบั่นทอนสันติภาพของภูมิภาค”  เขาบอกด้วยว่า “ปฏิบัติการทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นการสร้างโอกาสเราที่จะเตรียมความพร้อมสำหรับการรบ”
  • (-) ดอลล์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังเฟดเผยรายงานประชุม  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (17 ส.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมซึ่งระบุว่า กรรมการเฟดมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้ลดลงสู่ระดับที่สามารถควบคุมได้  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.07% แตะที่ระดับ 106.5760  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 135.06 เยน จากระดับ 134.22 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9515 ฟรังก์ จากระดับ 0.9499 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2898 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2848 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 1.0185 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0172 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2064 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2090 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6943 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7022 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+/-) สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.4% สอดคล้องคาดการณ์  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากดีดตัวขึ้น 1.6% ในเดือนพ.ค.  เมื่อเทียบรายปี สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจพุ่งขึ้น 18.5% ในเดือนมิ.ย.
  • (+/-) รายงานประชุมชี้เฟดพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่อาจชะลออัตราปรับขึ้น  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 26-27 ก.ค. โดยระบุว่า กรรมการเฟดมีความมุ่งมั่นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงที่สุดเท่าที่จำเป็น จนกว่าจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ แต่ในขณะเดียวกัน เฟดก็ส่งสัญญาณว่าอาจจะชะลอการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฟดตระหนักว่าเศรษฐกิจของสหรัฐในขณะนี้มีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง  รายงานการประชุมซึ่งเผยแพร่ในวันพุธ (17 ส.ค.) ตามเวลาสหรัฐระบุว่า กรรมการเฟดพบหลักฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่บ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในสหรัฐเริ่มลดน้อยลง อย่างไรก็ดี กรรมการเฟดมองว่า การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคส่วนเหล่านี้ลดการใช้จ่ายและอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง  “แต่ถึงกระนั้นก็ตาม กรรมการเฟดย้ำว่า การชะลอตัวของอุปสงค์มีบทบาทสำคัญต่อการลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ”  รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่า แม้ปัญหาเงินเฟ้อเป็นประเด็นหลักที่สร้างความกังวล แต่เฟดเล็งเห็นว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่กรรมการเฟดจะอภิปรายกันในช่วงหลายเดือนข้างหน้าว่า ควรจะชะลอการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด และทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมานั้นสามารถสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อได้อย่างเป็นรูปธรรม

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More