Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 16 พ.ย.64 by YLG

- Advertisement -

331

- Advertisement -

คำแนะนำ :

บริเวณ 1,855-1,849 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่หลุด แนะนำเข้าซื้อ เพื่อทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัวในทิศทางค่อยๆปรับตัวขึ้น  ทั้งนี้ สามารถทยอยแบ่งปิดสถานะซื้อทำกำไร หากราคาดีดตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้าน 1,870-1,876 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,849 1,833 1,823  แนวต้าน : 1,876 1,889 1,900

สรุป  

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 2.34  ดอลลาร์ต่อออนซ์  ระหว่างวันราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดบริเวณ  1,855.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์  สู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนครั้งใหม่ที่ 1,869.97 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แต่ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยถูกกดดันจากแรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิค  ประกอบกับดัชนีดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 0.41% ขานรับการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ที่พุ่งขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 30.9 ในเดือนพ.ย. นอกจากนี้  ดัชนีดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนเพิ่ม  จากการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโร  หลังจากนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า การใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ  อาจทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจในยูโรโซนหยุดชะงักได้  ซึ่งการส่งสัญญาณในเชิง Dovish หรือ การเดินหน้าผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไปเป็นปัจจัยกดดันยูโรและทองคำ  ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.632%  จากแรงขายพันธบัตรก่อนที่กิจกรรมในตลาดบอนด์ของสหรัฐจะชะลอตัวในสัปดาห์หน้าเนื่องจากตลาดจะปิดทำการในวันพฤหัสบดีหน้าเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า เป็นอีกปัจจัยที่กดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยอีกด้วย  อย่างไรก็ดี  การปรับตัวลดลงของทองคำยังคงเป็นไปอย่างจำกัด  เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อทองคำเพื่อป้องกับความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยยอดค้าปลีก, การผลิตภาคอุตสาหกรรม, อัตราการใช้กำลังผลิต, สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ และดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย โดย NAHB รวมถึงถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) อังกฤษยกระดับเตือนภัยก่อการร้าย หลังเกิดคาร์บอมบ์ในลิเวอร์พูล  กระทรวงมหาดไทยของอังกฤษประกาศยกระดับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายสู่ระดับ “severe” ในวันนี้ ซึ่งหมายความว่า “มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดการก่อการร้าย” จากเดิมอยู่ที่ระดับ “substantial” ซึ่งหมายความว่า “มีแนวโน้มที่จะเกิดการก่อการร้าย”  การยกระดับภัยคุกคามดังกล่าวมีขึ้น หลังจากเกิดเหตุโจมตีในอังกฤษถึง 2 ครั้งในช่วงเวลาเพียง 1 เดือน
  •   ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (15 พ.ย.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยฉุดหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานยอดค้าปลีกประจำเดือนต.ค.ของสหรัฐในวันนี้ รวมทั้งผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ในสัปดาห์นี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,087.45 จุด ลดลง 12.86 จุด หรือ -0.04%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,682.80 จุด ลดลง 0.05 จุด หรือ -0.00% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,853.85 จุด ลดลง 7.11 จุด หรือ -0.04%
  •   ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) สูงกว่าคาดในวันนี้  ทั้งนี้ เฟดสาขานิวยอร์ก รายงานว่า ดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นสู่ระดับ 30.9 ในเดือนพ.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 22.0 จากระดับ 19.8 ในเดือนต.ค.  ดัชนีภาคการผลิตได้รับปัจจัยหนุนจากการดีดตัวขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงาน  ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 0 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคการผลิตในนิวยอร์ก
  •   กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงต้นปีหน้า  รายงานระบุว่า ผลจากการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงชั่วคราวในช่วงกลางปี 2564 ได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนต.ค.อยู่ที่ 4.5%  นอกจากนี้ ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของราคาด้านพลังงานได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นด้วย  ขณะเดียวกัน ภาวะชะงักงันในห่วงโซ่อุปทานมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งหมายความว่า กิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มว่าจะยังคงไม่ฟื้นตัวในปีหน้า  ส่วนผลผลิตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้
  •   ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 พ.ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกเดือนต.ค. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางการดำเนินมาตรการทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.30% แตะที่ 95.4078 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 114.08 เยน จากระดับ 113.95 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9246 ฟรังก์ จากระดับ 0.9208 ฟรังก์ แต่ดอลลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2510 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2551 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1385 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1443 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3427 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3417 ดอลลาร์ ส่วนดอลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7350 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7331 ดอลลาร์สหรัฐ
  •   ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐได้ลงนามบังคับใช้กฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Bipartisan Infrastructure Framework – BIF) วงเงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์แล้วเมื่อวานนี้ (15 พ.ย.) ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของปธน.ไบเดนที่สามารถรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งว่า เขาจะสร้างงานจำนวนหลายล้านตำแหน่ง และผลักดันสหรัฐให้สามารถแข่งขันกับจีนได้  กฎหมาย BIF ซึ่งรวมถึงงบประมาณการใช้จ่ายระยะเวลา 5 ปีวงเงิน 5.50 แสนล้านดอลลาร์นั้น ใช้เวลานานหลายเดือนก่อนที่จะผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรส โดยกฎหมายฉบับนี้จะเปิดทางให้โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของปธน.ไบเดนกลายเป็นรูปธรรม ซึ่งรวมถึงการสร้างถนน, สะพาน, การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการสร้างเครือข่ายสถานีชาร์ตแบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ  “กฎหมายฉบับนี้จะทำให้ปี 2565 เป็นปีแรกในรอบ 20 ปีที่การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐขยายตัวรวดเร็วกว่าจีน” ปธน.ไบเดนกล่าวในพิธีลงนามบังคับใช้กฎหมาย BIF ที่ทำเนียบขาวเมื่อวานนี

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More