Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 12 ส.ค.65 by YLG

- Advertisement -

1,320

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ $1,772-1,781

จุดทำกำไร    ขายเพื่อทำกำไร $1,807-1,800

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากผ่าน $1,754

แนวรับ : 1,771 1,754 1,736  แนวต้าน : 1,807 1,825 1,840

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 2.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ระหว่างวันราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,799.24 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี PPI ปรับตัวลง 0.5% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากปรับตัวขึ้น 1.0% ในเดือนมิ.ย.

ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 5.8% หลังจากดีดตัวขึ้น 6.4% ในเดือนมิ.ย. สะท้อนแรงกดดันด้านราคาในฝั่งของผู้ผลิตชะลอตัวลงซึ่งกระตุ้นการคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนเป็นปัจจัยกดดันดัชนีดอลลาร์ และหนุนทองคำให้ทะยานขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,799.24 ดอลลาร์ต่อออนซ์

อย่างไรก็ดี ราคาทองคำปรับตัวลงในเวลาต่อมาโดยได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีของสหรัฐที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 22 ก.ค. ที่ 2.902% หลังจากการดีมานด์ในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 30 ปีมูลค่า 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์เป็นไปอย่างซบเซา สะท้อนจาก Bid coverage ratio ที่เป็นมาตรวัดความต้องการครั้งนี้อยู่ที่ 2.31 ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่เม.ย.

นอกจากนี้ทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากความเห็นในเชิง Hawkish ของนางแมรี เดลี ประธานเฟดซานฟรานซิสโก ที่กล่าวกับ Bloomberg TV เมื่อวันพฤหัสบดีว่า แม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในเดือนกันยายน “สมเหตุสมผล” แต่เธอยังคงเปิดรับความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย 75 bps เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่สูงเกินไป สถานการณ์ดังกล่าวกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงมาปิดตลาดในแดนลบ

ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภค จาก UoM

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) ดอลลาร์อ่อนค่า หลังเงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัว-เก็งเฟดไม่ขึ้นดบ.แรง  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (11 ส.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลง ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.10% แตะที่ระดับ 105.0900  ดอลลาร์ขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 132.95 เยน จากระดับ 132.90 เยน ขณะที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9419 ฟรังก์ จากระดับ 0.9424 ฟรังก์ และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2760 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2784 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0327 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0306 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าสู่ระดับ 1.2201 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2226 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7107 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7085 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) สหรัฐเผยดัชนี PPI -0.5% ในเดือนก.ค. สวนทางคาดการณ์ +0.2%  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวลง 0.5% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากปรับตัวขึ้น 1.0% ในเดือนมิ.ย.  ทั้งนี้ การปรับตัวลงของดัชนี PPI ในเดือนก.ค. ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของโควิด-19  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 9.8% ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 10.4% หลังจากดีดตัวขึ้น 11.3% ในเดือนมิ.ย.  การชะลอตัวของดัชนี PPI มีสาเหตุจากการดิ่งลงของราคาพลังงาน  ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย.  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 5.8% หลังจากดีดตัวขึ้น 6.4% ในเดือนมิ.ย.
  • (+) ไต้หวัน’ ยัน ภัยคุกคามจากจีนยังคงอยู่ แม้การซ้อมรบลดลงไปแล้ว  ประธานาธิบดีไช่ อิง-เหวิน แห่งไต้หวัน กล่าวว่า ภัยคุกคามจากจีนนั้นยังไม่ได้ลดน้อยลงเลย แม้ว่าการซ้อมรบของกองทัพกรุงปักกิ่งรอบ ๆ เกาะไต้หวันจะสิ้นสุดไปบางส่วนแล้ว ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์  ผู้นำกรุงไทเประบุความคิดเห็นดังกล่าวออกมาในวันพฤหัสบดี หลังจากที่ทางการจีนประกาศในวันก่อนหน้าว่า จะเดินหน้าส่งทีมลาดตระเวณรอบ ๆ ไต้หวันต่อไป แม้กองทัพจะ “สำเร็จเสร็จสิ้นภารกิจหลายชิ้น” ไปแล้ว ซึ่งเป็นเหมือนสัญญาณว่า เกมสงครามที่ปะทุขึ้นมาเมื่อสัปดาห์ก่อนน่าจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ปักกิ่งก็จะยังทำการกดดันไต้หวันต่อไป
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้น 2 สัปดาห์ติด  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้น 14,000 ราย สู่ระดับ 262,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 263,000 ราย  นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวสูงกว่า 215,000 ราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดบวก 27.16 จุด ขานรับข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัว  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นในวันพฤหัสบดี (11 ส.ค.) ขานรับการเปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ แต่ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ปิดลดลง เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงต่อไป เพื่อสกัดกั้นอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,336.67 จุด เพิ่มขึ้น 27.16 จุด หรือ +0.08%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,207.27 จุด ลดลง 2.97 จุด หรือ -0.07% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,779.91 จุด ลดลง 74.89 จุด หรือ -0.58%
  • (+/-) โอเปกหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลก,อุปสงค์น้ำมันปีนี้  กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ออกรายงานปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์น้ำมันในปีนี้  ทั้งนี้ โอเปกคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.1% ในปีนี้ โดยลดลงจากระดับ 3.5% ในตัวเลขคาดการณ์ในเดือนพ.ค.  รายงานระบุว่า เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญความเสี่ยงจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์, ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน, การแพร่ระบาดของโควิด-19, เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น, หนี้สาธารณะในหลายประเทศ รวมทั้งการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางจากสหรัฐ อังกฤษ ยูโรโซน และญี่ปุ่น  นอกจากนี้ โอเปกยังได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกสู่ระดับ 100 ล้านบาร์เรล/วัน จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 100.3 ล้านบาร์เรล/วัน โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More