Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 1 พ.ย.65 by YLG

- Advertisement -

165

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะขาย $1,645-1,659

จุดทำกำไร    ซื้อเพื่อทำกำไร $1,620-1,614

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากหลุด $1,659

แนวรับ : 1,614 1,600 1,584  แนวต้าน : 1,645 1,659 1,674

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 10.72 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำค่อยๆปรับตัวลดลงตลอดทั้งวันท่ามกลางแรงกดดันสำคัญ คือ การคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวเพื่อสกัดเงินเฟ้อ เนื่องจากตลาดแรงงานยังคงค่อนข้างแข็งแกร่ง

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงในระดับสูง นอกจากนี้นักลงทุนยังคงคาดการณ์อีกว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุมที่กำลังจะเสร็จสิ้นลงในวันช่วงกลางดึกของคืนวันพุธนี้ สะท้อนจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า มีโอกาส 86.7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย. ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ให้ปิดตลาดแข็งค่าขึ้น 0.72% พร้อมกับหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีซึ่งตามปกติแล้วจะเคลื่อนไหวตามการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ให้เพิ่มขึ้น 8.1 bps สู่ระดับ4.503% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้น 7.1 bps สู่ระดับ 4.081% จนเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเพิ่ม

ปัจจัยที่กล่าวมา กดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงทดสอบระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์บริเวณ 1,631.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ในระหว่างวันจะดีดตัวขึ้นหลัง MNI Indicators ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกลดลง สู่ระดับ 45.2 ในเดือนต.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 47.8 แต่ภาพรวมแล้วยังไม่สามารถทำระดับสูงสุดเหนือกว่าวันก่อนหน้าได้พร้อมกับเกิดแรงขายสลับออกมาเป็นระยะ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -2.02 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิต และตัวเลขการเปิดรับสมัครงานของสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (-) ส่องไทม์ไลน์เฟดขึ้นดอกเบี้ยถึงสิ้นปี 65 คาดทำสถิติขึ้น 0.75% ติดต่อกัน 4 ครั้ง นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินสัปดาห์นี้ และจะปรับขึ้นเพียง 0.50% ในการประชุมเดือนธ.ค. หลังการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 86.7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย. และให้น้ำหนัก 47.9% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค.   หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนพ.ย. ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกัน 4 ครั้ง หลังจากปรับขึ้น 0.75% ในเดือนมิ.ย.,ก.ค.และก.ย.
  • (-) ดอลล์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (31 ต.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 1-2 พ.ย.นี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.7% แตะที่ระดับ 111.5280   ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 148.62 เยน จากระดับ 147.51 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 1.0016 ฟรังก์ จากระดับ 0.9961 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3627 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3609 ดอลลาร์แคนาดา และแข็งค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดน ที่ระดับ 11.0451 โครนา จากระดับ 10.9606 โครนา   ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 0.9887 ดอลลาร์ จากระดับ 0.9958 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1470 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1611 ดอลลาร์
  • (+/-) ยูโรสแตทเผยเงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งเป็นประวัติการณ์แตะ 10.7% ในเดือนต.ค. สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับ 10.7% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่ยูโรสแตทเริ่มรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2540 หลังจากแตะระดับ 9.9% ในเดือนก.ย. ดัชนี CPI พุ่งขึ้นสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำหนดไว้ที่ระดับ 2%   เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนต.ค.

- Advertisement -

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More