Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 26 ก.พ.64 (YLG)

- Advertisement -

265

- Advertisement -

คำแนะนำ :

แนะนำซื้อขายทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยบริเวณแนวต้านโซน 1,787-1,809 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำไม่สามารยืนเหนือโซนดังกล่าวได้นำแบ่งทองคำออกขายเพื่อรอซื้อในโซนแนวรับ 1,760-1,744 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,760 1,744 1,730  แนวต้าน : 1,787 1,809 1,827

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดดิ่งลงอย่างหนักกว่า 34.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ท่ามกลางปัจจัยลบที่เข้ามาส่งผลกดดันราคาทองคำ  ไม่ว่าจะเป็น (1.) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นแตะ 1.55% หลังทะยานขึ้นสูงถึงระดับ 1.6% จากการคาดการณ์ที่ว่า อัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง  และการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 7 ปีของรัฐบาลสหรัฐมูลค่า 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์ที่อุปสงค์ซบเซานั่นส่งผลกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย  (2.) การเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีดเกินคาด  ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ลดลงสู่ระดับ 730,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 28 พ.ย.2020, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐที่ดีดเกินคาด  และตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2020 ที่ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 4.1% ซึ่งดีกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 4.0% (3.)การที่ดัชนีดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นจาก 89.677 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีและการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีเกินคาด และ (4.)การที่กองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลงอีก -6.12 ตัน  ปัจจัยที่กล่าวมากดดันให้ราคาทองคำดิ่งลงแรงจนทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,765 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และมีแนวโน้มปิดตลาดในสัปดาห์นี้  และปิดตลาดในเดือนก.พ.ในแดนลบ สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีการใช้จ่ายส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE), รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคล, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายจากUoM

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 559.85 จุด เหตุนลท.ขายหุ้นเทคโนฯ-ซื้อบอนด์  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 500 จุดเมื่อคืนนี้ (25 ก.พ.) และดัชนี Nasdaq ดิ่งลงมากที่สุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีออกมาเพื่อนำเงินไปลงทุนในตลาดพันธบัตรสหรัฐ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นอย่างมาก  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,402.01 จุด ร่วงลง 559.85 จุด หรือ -1.75%, ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 3,829.34 จุด ร่วงลง 96.09 จุด หรือ -2.45% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,119.43 จุด ร่วงลง 478.54 จุด หรือ -3.52%
  • (+) เฟดยันไม่ลดวงเงิน QE แม้สหรัฐมีแนวโน้มเศรษฐกิจแกร่ง  นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มแข็งแกร่ง และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้เฟดพิจารณาปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในแต่ละเดือนเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ “ท่านประธานเฟดต้องการให้คณะกรรมการเฟดมีการหารือกันเกี่ยวกับการปรับลดวงเงินในการทำ QE ก็ต่อเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเราจะไม่ทำอะไรล่วงหน้า ซึ่งแม้ผมคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่สดใส แต่มันก็ยังคงเป็นการคาดการณ์ และผมต้องการที่จะเห็นมันเป็นจริงก่อน” นายบูลลาร์ดกล่าว
  • (+) สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายลดลงเป็นเดือนที่ 5  สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ลดลง 2.8% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะทรงตัวในเดือนดังกล่าว
  • (-) สหรัฐปรับเพิ่ม GDP Q4/63 ขยายตัว 4.1% ขณะคาดเศรษฐกิจแกร่งปีนี้  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2563 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 4.1% โดยปรับตัวดีกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 4.0%
  • (-) ดอลล์แข็งค่า ขานรับบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่ง-ข้อมูลศก.แกร่ง  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสูงถึง 1.6% นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีเกินคาดช่วยหนุนดอลลาร์ด้วย  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 90.1344 เมื่อคืนนี้ หลังร่วงลงแตะ 89.677 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 106.20 เยน จากระดับ 105.94 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2576 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2529 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9046 ฟรังก์ จากระดับ 0.9076 ฟรังก์  ส่วนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2184 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2148 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.4036 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4123 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.7902 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7943 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนม.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป พุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนธ.ค.
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ 730,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 28 พ.ย.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 845,000 ราย
  • (+/-) เฟดชี้การดีดตัวของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวสะท้อนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ  นางเอสเธอร์ จอร์จ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแคนซัส ซิตี้ กล่าวว่า การดีดตัวของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในระยะนี้เป็นสัญญาณที่แสดงถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวงกว้าง  “การปรับตัวขึ้นดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และอาจถือเป็นสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับคาดการณ์การขยายตัวที่เพิ่มขึ้น” นางจอร์จกล่าว  นางจอร์จระบุว่า เฟดจะยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอน

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More