Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 19 ก.พ.64 (YLG)

- Advertisement -

330

- Advertisement -

คำแนะนำ :

หากราคาทดสอบแนวต้านโซน 1,777 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านได้ให้แบ่งขายทำกำไร แต่ถ้าผ่านได้ให้รอขายบริเวณแนวต้าน 1,795 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขึ้นไป อย่างไรก็ตามหากไม่ผ่าน ประเมินแนวรับที่ 1,760-1,749 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,749 1,733 1,716  แนวต้าน : 1,777 1,795 1,816

สรุป  

ราคาทองคำวานนี้ปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง  แม้ในระหว่างวัน ราคาทองจะดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง  โดยได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ  จนราคาแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,789 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างการซื้อขายของวานนี้  อย่างไรก็ดี  เป็นอีกครั้งที่ราคาไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  เนื่องจากแรงขายในตลาดทองคำยังคงอยู่ในระดับสูง  ประกอบกับวานนี้สหรัฐเปิดตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีเกินคาดหลายรายการ  อาทิ  ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ที่อยู่ที่ระดับ 23.1 ในเดือนก.พ., การอนุญาตก่อสร้างบ้านดีดตัวขึ้น 10.4% สู่ระดับ 1.881 ล้านยูนิตในเดือนม.ค. และดัชนีราคานำเข้าพุ่งขึ้น 1.4% เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2012 แม้ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานจะออกมาแย่เกินคาดก็ตาม  สถานการณ์ดังกล่าวทำให้นักลงทุนยังคงคาดการณ์เชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก  นั่นทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังคงเคลื่อนไหวไม่ไกลจากระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี  ซึ่งส่งผลเชิงลบต่อทองคำในสินทรัพย์ที่ไม่ได้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย   ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  ก่อนที่เช้านี้ราคาทองคำจะร่วงลงต่อจนแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,760ดอลลาร์ต่อออนซ์ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน  สำหรับวันนี้  ติดตามการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ และยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐ

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 119.68 จุด ผิดหวังตัวเลขว่างงาน-กังวลเงินเฟ้อพุ่ง  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (18 ก.พ.) หลังสหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่สูงเกินคาด ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยุติการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,493.34 จุด ลดลง 119.68 จุด หรือ -0.38% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,913.97 จุด ลดลง 17.36 จุด หรือ -0.44% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,865.36 จุด ลดลง 100.14 จุด หรือ -0.72%
  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านต่ำกว่าคาดในเดือนม.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 6.0% ในเดือนม.ค. สู่ระดับ 1.580 ล้านยูนิต ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.658 ล้านยูนิต  เมื่อเทียบรายปี ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 2.3% ในเดือนม.ค.  ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านที่ดิ่งลงในเดือนม.ค.ได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาไม้ ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างที่สำคัญในการสร้างบ้าน
  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกพุ่งขึ้นสู่ระดับ 861,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 773,000 ราย
  • (+) ผลการศึกษาชี้โควิด-19 ทำอายุขัยเฉลี่ยของชาวอเมริกันลดลงถึง 1 ปี  ผลการศึกษาของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ (CDC) ระบุว่า ตัวเลขคาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยของชาวอเมริกันลดลงถึง 1 ปีอันเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งถือเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2  ทั้งนี้ CDC เปิดเผยว่า ตัวเลขคาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยของชาวอเมริกันลดลง 1 ปีในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ไวรัสโควิด-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง สู่ระดับ 77.8 ปี โดยลดลงจาก 78.8 ปีในปี 2562  ส่วนตัวเลขคาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันลดลง 2.7 ปี สู่ระดับ 72 ปี ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2562 ขณะที่ตัวเลขคาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยของชาวอเมริกันเชื้อสายฮิสแปนิกลดลง 1.9 ปี สู่ระดับ 79.9 ปี ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า กังวลตัวเลขว่างงานสหรัฐสูงเกินคาด  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (18 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการว่างงานที่สูงกว่าคาด ซึ่งสร้างความผิดหวังต่อตลาดที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้น หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.39% สู่ระดับ 90.5966 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.68 เยน จากระดับ 105.91 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8964 ฟรังก์ จากระดับ 0.8991 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2681 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2699 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2085 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2036 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3974 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3860 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7766 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7749 ดอลลาร์สหรัฐ3
  • (-) สหรัฐเผยดัชนีราคานำเข้าพุ่งสูงสุดรอบเกือบ 9 ปีในเดือนม.ค.  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคานำเข้าดีดตัวขึ้นมากกว่าคาดในเดือนม.ค. โดยพุ่งขึ้น 1.4% เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2555 หลังจาเพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนธ.ค.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนม.ค.
  • (-) เฟดฟิลาเดลเฟียเผยดัชนีภาวะธุรกิจมิด-แอตแลนติกร่วงลงในเดือนก.พ.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ร่วงลงสู่ระดับ 23.1 ในเดือนก.พ. จากระดับ 26.5 ในเดือนม.ค.  การปรับตัวลงของดัชนีได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่นักลงทุนลดความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า  อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 0 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติกยังคงมีการขยายตัว

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More