Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 18 ก.พ.64 (YLG)

- Advertisement -

303

- Advertisement -

คำแนะนำ

หากยังไม่สามารถผ่าน 1,795-1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้ อาจใช้วิธีการลดพอร์ตการลงทุน และสำหรับนักลงทุนที่เก็งกำไรฝั่งซื้อควรเน้นการลงทุนระยะสั้นและต้องตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจน

แนวรับ : 1,764 1,746 1,721  แนวต้าน : 1,803 1,821 1,839

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลง 18.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และถือเป็นการปรับตัวลง 5 วันทำการติดต่อกัน โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีเกินคาด หลังยอดค้าปลีกดีดขึ้นแข็งแกร่ง 5.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยได้แรงหนุนจากการที่ชาวอเมริกันได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กลับมากระเตื้องขึ้นหลังจากที่หยุดชะงักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ PPI เพิ่มขึ้น 1.3% ในเดือนม.ค. มากสุดในรอบกว่า 11 ปี นอกจากนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ออกมาแข็งแกร่งเกินคาดเช่นกัน จึงหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และกระตุ้นแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นในขณะเดียวกัน หนุนให้ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (17 ก.พ.) สำหรับทางด้านบอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปียังคงแกว่งตัวไม่ไกลจากระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ยังคงสร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำเนื่องจากไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย สำหรับวันนี้ จีนจะกลับมาเปิดซื้อขายตามปกติหลังก่อนหน้านี้หยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีน อาจหนุนแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง แต่ยังแนะนำให้จับตาความเคลื่อนไหวของดอลลาร์ บอนด์ยีลด์ และตลาดหุ้นประกอบการลงทุนทองคำเป็นสำคัญ สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ อาทิ ดัชนีภาคการผลิตจากเฟดฟิลาเดลเฟีย จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ การอนุญาตก่อสร้างและข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) โควิดดันหนี้ทั่วโลกพุ่ง 24 ล้านล้านดอลลาร์ โครงการรัฐมีสัดส่วนหนี้สูงสุด  สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เปิดเผยในวันนี้ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หนี้สินทั่วโลก เพิ่มขึ้น 24 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา แตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 281 ล้านล้านดอลลาร์ และอัตราส่วนหนี้สินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลกอยู่ที่ระดับสูงกว่า 355%  ทั้งนี้ IIF ประมาณการณ์ว่า โครงการสนับสนุนของรัฐบาลทั่วโลกคิดเป็นสัดส่วนการก่อหนี้เพิ่มขึ้นถึงครึ่งหนึ่ง ขณะที่บริษัท, ธนาคาร และภาคครัวเรือนทั่วโลกก่อหนี้ 5.4 ล้านล้านดอลลาร์, 3.9 ล้านล้านดอลลาร์ และ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์ตามลำดับ
  • (+) ไบเดนเตือนจีนอาจเผชิญผลลัพธ์จากการละเมิดสิทธิมนุษยชน  นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐเตือนว่า จีนอาจต้องเผชิญกับผลลัพธ์ของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยการแสดงความเห็นดังกล่าวมีขึ้นในระหว่างการตอบคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการจัดการชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในเขตปกครองตนเองซินเจียงของจีน  ที่ผ่านมานั้น ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั่วโลกในเรื่องการจัดการกับชาวมุสลิมอุยกูร์ในค่ายกักกันและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีอื่นๆ  “จีนจะต้องเผชิญกับผลลัพธ์ในเรื่องนี้ และปธน.สี จิ้นผิง ก็รู้เรื่องนี้ดี ” ปธน.ไบเดนกล่าวเมื่อผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกันปธน.ไบเดนกล่าวว่า สหรัฐจะเน้นย้ำบทบาทในระดับโลกของตนเองอีกครั้งในเรื่องการพูดถึงสิทธิมนุษยชน และสหรัฐจะทำงานร่วมกับประชาคมโลกเพื่อผลักดันให้จีนปกป้องคนเหล่านั้น
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 90.27 จุด ขานรับเฟดกระตุ้นศก.-ยอดค้าปลีกสดใส  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (17 ก.พ.) หลังจากรายงานการประชุมเดือนม.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เฟดจะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยหนุนจากรายงานยอดค้าปลีกของสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนม.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดลบเป็นวันที่ 2 เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,613.02 จุด เพิ่มขึ้น 90.27 จุด หรือ +0.29% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,931.33 จุด ลดลง 1.26 จุด หรือ -0.03% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,965.50 จุด ลดลง 82.00 จุด หรือ -0.58%
  • (-) ภาคการผลิตสหรัฐเพิ่มต่อเนื่องเดือนที่ 9 โควิดดันอุปสงค์สินค้าครัวเรือน  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ เพิ่มขึ้นเกินคาด 1.0% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์คาดไว้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรม อาจเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนม.ค.
  • (-) สหรัฐเผยดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 1.3% ในเดือนม.ค. มากสุดในรอบกว่า 11 ปี  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 1.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2552 เนื่องจากราคาต้นทุนสินค้าและบริการพุ่งขึ้น บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อที่หน้าประตูโรงงานเริ่มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง  ดัชนี PPI เดือนม.ค. เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่ปรับตัวขึ้นเพียง 0.3% ในเดือนธ.ค. ขณะที่เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI ปรับตัวขึ้น 1.7% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนธ.ค.  ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหาร พลังงาน และภาคบริการ เพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค.  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI พื้นฐานเดือนม.ค. พุ่งขึ้น 2.0% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนธ.ค.
  • (-) ยอดค้าปลีกสหรัฐเดือนม.ค.พุ่ง 5.3% จากอานิสงส์มาตรการกระตุ้นใช้จ่ายของรัฐ  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกดีดขึ้นแข็งแกร่ง 5.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยได้แรงหนุนจากการที่ชาวอเมริกันได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กลับมากระเตื้องขึ้นหลังจากที่หยุดชะงักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา  ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกจะดีดตัวขึ้น 1.1% ในเดือนม.ค. หลังจากที่ลดลง 1.0% ในเดือนธ.ค.
  • (-) ดอลล์แข็งค่า รับบอนด์ยีลด์พุ่ง-ข้อมูลเศรษฐกิจสดใส ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17 ก.พ.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายเดือน นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากรายงานยอดค้าปลีกของสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนม.ค.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.47% แตะที่ 90.9514 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.91 เยน จากระดับ 105.89 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8991 ฟรังก์ จากระดับ 0.8918 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2699 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2679 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2036 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2115 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3860 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3910 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7749 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7762 ดอลลาร์สหรัฐ

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More