Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 12 ก.พ.64 (YLG)

- Advertisement -

322

- Advertisement -

คำแนะนำ :

สามารถถือทองคำต่อได้หากราคาไม่หลุดแนวรับ 1,808-1,805 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และไปรอลุ้นขายทำกำไรบริเวณแนวต้าน 1,839-1,855 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,805 1,784 1,764  แนวต้าน : 1,839 1,855 1,875

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง  17.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ในระหว่างวัน  ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,847 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยได้รับแรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ  หลังจากเมื่อวานนี้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนและประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้สนทนากันทางโทรศัพท์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปธน.ไบเดนสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ และดูเหมือนว่าการสนทนาจะเกิดความขัดแย้งกันในประเด็นส่วนใหญ่  อาทิ  การขยายอิทธิพลของจีนในอินโด-แปซิฟิก การปฏิบัติของจีนในฮ่องกง  ซินเจียงและไต้หวัน  ขณะที่ประธานาธิบดีสีเตือนว่า  การเผชิญหน้ากันจะเป็น “หายนะ” สำหรับทั้งสองประเทศ  สถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการคาดการณ์ว่าสหรัฐจะยังคงรักษาท่าทีในเชิงแข็งกร้าวต่อจีนซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  ประกอบกับกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 793,000 รายในสัปดาห์ที่แล้วซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้  จึงเป็นปัจจัยกดดันดอลลาร์และหนุนราคาทองคำเพิ่มเติม  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์เริ่มฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดที่ลงไปทดสอบในระหว่างวัน  ประกอบกับเกิดแรงขายทำกำไรและขายทางเทคนิคสลับออกมาในตลาดทองคำ  จนส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงแรงและแตะระดับต่ำสุดในบริเวณ 1,820.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -4.37 ตันสู่ระดับ 1,142.22 ตัน  สำหรับวันนี้  ติดตามการเปิดเผยคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากUoM และคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจากUoM

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 7.10 จุด หลังสหรัฐเผยจำนวนคนว่างงานสูงกว่าคาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขคนว่างงานรายสัปดาห์ที่สูงกว่าคาด อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนบวก โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมทั้งความหวังเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,430.70 จุด ลดลง 7.10 จุด หรือ -0.02% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,916.38 จุด เพิ่มขึ้น 6.50 จุด หรือ + 0.17% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,025.77 จุด เพิ่มขึ้น 53.24 จุด หรือ +0.38%
  • (+) อังกฤษโวย จีนประกาศแบนข่าว BBC เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้  นายโดมินิค ร้าบ รมว.ต่างประเทศอังกฤษ กล่าวว่า การที่จีนห้ามการเผยแพร่ข่าวของ BBC World News ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และจะเป็นการทำลายชื่อเสียงของจีนเอง  “การตัดสินใจของจีนในการปิดช่อง BBC World News เป็นการจำกัดเสรีภาพของสื่อที่ยอมรับไม่ได้ และเรื่องนี้จะกระทบต่อชื่อเสียงของจีนบนเวทีโลก ขณะที่จีนมีกฎหมายควบคุมเสรีภาพของสื่อและอินเทอร์เน็ตที่รุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก” นายร้าบกล่าว
  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 793,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 760,000 ราย แต่ต่ำกว่าระดับ 812,000 รายที่มีการรายงานในสัปดาห์ก่อนหน้านี้
  • (+) WHO คาดผู้เสียชีวิตสะสมจากโควิดในแอฟริกาพุ่งแตะ 100,000 รายอาทิตย์นี้  นางมัตชิดิโซ โมเอติ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคแอฟริกาขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า จำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในแอฟริกาได้พุ่งขึ้น เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้  นางโมเอติกล่าวว่า อัตราการตายจากโรคโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น 40% ในเดือนม.ค. หลังเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 และเกิดการระบาดของสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม  นางโมเอติคาดการณ์ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จะพุ่งแตะ 100,000 รายในวันอาทิตย์นี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีนับตั้งแต่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรกที่อียิปต์
  • (+) จีนประกาศแบนข่าว BBC อ้างมีเนื้อหาผิดกฎระเบียบ  สำนักงานกำกับวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติจีน (NRTA) ประกาศห้ามการเผยแพร่ข่าวของ BBC World News ในจีน เนื่องจากมีเนื้อหาที่ละเมิดกฎระเบียบของจีน  NRTA ระบุว่า รายงานข่าวของ BBC World News ได้ละเมิดกฎระเบียบของจีนที่ระบุให้มีการรายงานข่าวที่ถูกต้องและเที่ยงธรรม  นอกจากนี้ เนื้อหาของ BBC World News ยังได้บ่อนทำลายผลประโยชน์ของจีน และความเป็นเอกภาพของชาติพันธุ์ต่างๆ  แถลงการณ์ของ NRTA ระบุว่า BBC World News จะไม่ได้รับอนุญาตให้บริการภายในประเทศจีน และ NRTA จะไม่รับคำขอให้บริการสำหรับปี 2565
  • (+/-) ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อย หลังสหรัฐเผยข้อมูลแรงงาน  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (11 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.05% สู่ระดับ 90.4214 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 104.75 เยน จากระดับ 104.63 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8899 ฟรังก์ จากระดับ 0.8898 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2699 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2689 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2129 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2128 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3804 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3840 ดอลลาร์
  • (+/-) บิตคอยน์พุ่ง All Time High ทะลุ 1,454,000 บาท ขานรับแบงก์สหรัฐร่วมวงบิตคอยน์  บิตคอยน์ดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันนี้ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะระดับ 48,481 ดอลลาร์ หรือมากกว่า 1,454,000 บาท ขานรับข่าวที่ว่า แบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน คอร์ป ซึ่งเป็นธนาคารเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐ มีแผนที่จะทำธุรกรรมเกี่ยวกับบิตคอยน์
  • (+/-) “แบงก์ออฟนิวยอร์กเมลลอน” ธนาคารเก่าแก่สุดของสหรัฐ มีแผนทำธุรกรรมบิตคอยน์  หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานในวันนี้ว่า แบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน คอร์ป ซึ่งเป็นธนาคารเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐ มีแผนที่จะถือครอง, โอน และออกสกุลเงินบิตคอยน์ และสกุลเงินคริปโตอื่นๆ ในนามของลูกค้าในกลุ่มบริหารจัดการสินทรัพย์ในปีนี้  วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานโดยอ้างนายโรมัน รีเจลแมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจดิจิทัลและการบริการด้านสินทรัพย์ ระบุว่า แบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน กำลังหารือกับลูกค้าเกี่ยวกับการทำธุรกรรมดังกล่าว 

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More