Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 24 ธ.ค.63 (YLG)

- Advertisement -

323

- Advertisement -

คำแนะนำ :

ขายเมื่อราคาปรับตัวขึ้นไม่ทะลุแนวต้านโซน 1,884-1,889 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่ผ่านอาจเห็นการอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับบริเวณ 1,858-1,855 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปริมาณการซื้อขายอาจลดลง เนื่องจากตลาดเงินตลาดทุนในบางประเทศ หยุดทำการตั้งแต่วันพฤหัสบดี เนื่องในวัน Christmas Eve

แนวรับ : 1,855 1,839 1,826  แนวต้าน : 1,889 1,907 1,921

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  12.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ว่าในระหว่างวันราคาทองคำจะมีการปรับตัวลดลงมาทำระดับต่ำสุดบริเวณ 1,858  ดอลลาร์ต่อออนซ์  หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด  โดยเฉพาะตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ลดลงเกินคาดสู่ระดับ 803,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ย.  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเวลาต่อมา  โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้น  รับความหวังที่ว่าอังกฤษและสหภาพยุโรป (EU) ใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงการค้า   หลังแหล่งข่าวจากวงการทูตระบุว่า สมาชิก 27 ชาติของ EU ได้เริ่มเตรียมการสำหรับกระบวนการบังคับใช้ข้อตกลงการค้าฉบับใหม่กับอังกฤษเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2021  บ่งชี้ว่า ทั้งสองฝ่ายใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าซึ่งจะทำให้อังกฤษสามารถหลีกเลี่ยง No-deal Brexit ได้  นอกจากนี้  ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของสกุลเงิน  ยังไดดรับแรงหนุนเพิ่มจากการคาดการณ์ว่าสหรัฐจะสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในท้ายที่สุด  แม้ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ขู่ว่าจะไม่ลงนามในมาตรการดังกล่าวก็ตาม  ปัจจัยที่กล่าวมากระตุ้นแรงซื้อ Buy the dip  ส่งผลให้ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในระหว่างวันจนมาปิดตลาดบริเวณ 1,872.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ปริมาณการซื้อขายอาจลดลงกว่าปกติ  เนื่องจากตลาดเงิน  ตลาดทุนของสหรัฐและตลาด COMEX

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐเผยดัชนี PCE เพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนพ.ย.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี หลังจากดีดตัวขึ้น 1.2% ในเดือนต.ค.  ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ทรงตัวเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนพ.ย.  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน เพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนพ.ย. เช่นเดียวกับเดือนต.ค.
  • (+) สหรัฐเผยการใช้จ่ายผู้บริโภคลดลงครั้งแรกในรอบ 7 เดือน  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐลดลง 0.4% ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนต.ค.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าการใช้จ่ายลดลง 0.2% ในเดือนพ.ย.
  • (+) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นในเดือนธ.ค.  ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวสู่ระดับ 80.7 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 76.9 ในเดือนพ.ย. แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 81.3
  • (+) สหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ย.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ดิ่งลง 11.0% สู่ระดับ 841,000 ยูนิตในเดือนพ.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 995,000 ยูนิต
  • (+) วงในเผยอังกฤษ-อียูใกล้บรรลุดีล Brexit  แหล่งข่าวจากวงการทูตระบุว่า สมาชิก 27 ชาติของสหภาพยุโรป (EU) ได้เริ่มเตรียมการสำหรับกระบวนการบังคับใช้ข้อตกลงการค้าฉบับใหม่กับอังกฤษเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2564  ข่าวดังกล่าวบ่งชี้ว่า ทั้งสองฝ่ายใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าที่จะมีการบังคับใช้หลังจากอังกฤษแยกตัวจาก EU (Brexit) ในช่วงสิ้นปีนี้  นอกจากนี้ นักการทูตจากชาติสมาชิกของ EU ยังได้รับแจ้งจากคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของ EU เพื่อให้เตรียมพร้อมสำหรับการเข้าประชุมในวันพรุ่งนี้ หากอังกฤษและ EU สามารถบรรลุข้อตกลง  “ดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายใกล้บรรลุข้อตกลงแล้ว โดยอยู่ที่ว่าจะมีการประกาศในวันนี้หรือพรุ่งนี้” นักการทูตรายหนึ่งกล่าว
  • (+) ปอนด์แข็งเทียบดอลล์ รับข่าวอังกฤษ-อียูใกล้บรรลุดีล Brexit  เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 ธ.ค.) โดยได้แรงหนุนข่าวที่ว่า อังกฤษและสหภาพยุโรป (EU) ใกล้จะบรรลุข้อตกลงการค้า ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ซึ่งรวมถึงยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงต่ำกว่าการคาดการณ์ในเดือนพ.ย.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.26% แตะที่ 90.4100 เมื่อคืนนี้  เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.3480 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3353 ดอลลาร์ ขณะที่สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2179 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2160 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7572 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7530 ดอลลาร์สหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 103.61 เยน จากระดับ 103.68 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8889 ฟรังก์ จากระดับ 0.8901 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2857 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2902 ดอลลาร์แคนาดา
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ 803,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 885,000 ราย จากระดับ 892,000 รายที่มีการรายงานในสัปดาห์ก่อนหน้านี้
  • (-) สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ย.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ย. หลังจากพุ่งขึ้น 1.8% ในเดือนต.ค.
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 114.32 จุด รับความหวังสหรัฐกระตุ้นศก.-ข้อมูลแรงงานสดใส  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (23 ธ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งความหวังที่ว่าสหรัฐจะสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในท้ายที่สุด แม้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ขู่ว่าจะไม่ลงนามในมาตรการดังกล่าวก็ตาม โดยปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนแรงซื้อหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มสายการบินและกลุ่มธนาคาร  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,129.83 จุด เพิ่มขึ้น 114.32 จุด หรือ +0.38% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,690.01 จุด เพิ่มขึ้น 2.75 จุด หรือ +0.07% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,771.11 จุด ลดลง 36.81 จุด หรือ -0.29%

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More