Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 8 ธ.ค.63 (YLG)

- Advertisement -

292

- Advertisement -

คำแนะนำ :

หลังจากราคาขยับขึ้นแรงและมีแรงขายสลับเข้าไม่มาก แต่หากราคาปรับตัวขึ้นต่อไปเลย อาจต้องระมัดระวังแรงทำกำไรที่สลับเข้ามาเพิ่ม แนะนำซื้อขายทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัวของราคา แม้ว่าแนวโน้มราคาจะเป็นบวกเพิ่มขึ้นก็ตาม

แนวรับ : 1,846 1,829 1,815  แนวต้าน : 1,878 1,887 1,899

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 21.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ในระหว่างการซื้อของวานนี้ทองคำจะร่วงแรงตามการดิ่งลงของเงินปอนด์  จากความวิตกเกี่ยวกับ No-deal Brexit  หลัง Reuters รายงานว่า  การเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าหลังอังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หยุดชะงักลง  ปัจจัยดังกล่าวหนุนให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะ 91.238 จนเป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้ราคาทองคำดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,823.27 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเวลาต่อมา  เพราะดอลลาร์ลดช่วงบวกลง  ขณะที่นักลงทุนเทขายดอลลาร์จากความวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในสหรัฐ รวมทั้งการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดในบางรัฐซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ  นอกจากนี้  ดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากความพยายามผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังรอบใหม่ของสหรัฐอีกด้วย  ประกอบกับตลาดหุ้นสหรัฐแกว่งตัวในแดนลบ  ท่ามกลางความตึงเครียดจีน-สหรัฐระลอกใหม่  หลังวานนี้ทางการสหรัฐตัดสินใจคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน 14 ราย โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้มีบทบาทในการตัดสิทธินักการเมืองฝ่ายค้านในฮ่องกงไป 4 ราย  ปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  จนกระทั่งราคาทะลุผ่าน 1,848 ดอลลาร์ต่อออนซ์จึงเกิดแรงซื้อตามทางเทคนิคเพิ่มเติม  ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนให้ราคาทองคำพุ่งกว่า 40 ดอลลาร์ต่อออนซ์แตะระดับสูงสุดบริเวณ  1,868.16 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -2.92 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจขนาดเล็กจาก NFIB, ประสิทธิภาพการผลิตและประสิทธิภาพต้นทุนแรงงานต่อหน่วย

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน 14 ราย อ้างประเด็นการเมืองฮ่องกง  เว็บไซต์กระทรวงการคลังสหรัฐระบุว่า ทางการสหรัฐได้ตัดสินใจคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน 14 รายในวันนี้ โดยสหรัฐอ้างว่าเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้มีบทบาทในการตัดสิทธินักการเมืองฝ่ายค้านในฮ่องกงไป 4 ราย  ข้อความบนเว็บไซต์ระบุว่า บุคคลทั้ง 14 รายนี้เป็นสมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติจีนทั้งหมด  ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่จีนได้ออกมาตรการเมื่อเดือนที่ผ่านมา กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฮ่องกงจะต้องเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อชาติ ซึ่งส่งผลให้สมาชิกสภาฝ่ายค้านลาออกเป็นจำนวนมาก  มาตรการดังกล่าวของจีนผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPCSC) เพื่อให้อำนาจรัฐบาลฮ่องกงขับไล่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่ไม่จงรักภักดีต่อชาติโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของศาล ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดเพื่อควบคุมความขัดแย้งในสภานิติบัญญัติ ซึ่งการออกมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ส.ส.หลายคนของฮ่องกงที่ไม่เห็นด้วยตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 148.47 จุด วิตกยอดโควิดพุ่งในสหรัฐ  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (7 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสหรัฐ รวมทั้งการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในบางรัฐของสหรัฐ นอกจากนี้ ดาวโจนส์ยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดทำนิวไฮ โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากนักลงทุนมองว่าบริษัทเทคโนโลยีจะได้ประโยชน์จากคำสั่งให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,069.79 จุด ลดลง 148.47 จุด หรือ -0.49% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,691.96 จุด ลดลง 7.16 จุด หรือ -0.19% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,519.95 จุด เพิ่มขึ้น 55.72 จุด หรือ +0.45%
  • (-) ปอนด์อ่อน กังวลเจรจาข้อตกลงหลัง Brexit ไม่คืบหน้า  เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (7 ธ.ค.) หลังจากนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ยังไม่สามารถทำข้อตกลงการค้าหลังอังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)  เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3399 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3442 ดอลลาร์ ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.2119 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2136 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7429 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7437 ดอลลาร์สหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 103.97 เยน จากระดับ 104.09 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8902 ฟรังก์ จากระดับ 0.8904 ฟรังก์ แต่เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2795 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2781 ดอลลาร์แคนาดา  ส่วนดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ขยับขึ้นเพียง 0.09% แตะที่ 90.7893 เมื่อคืนนี้
  • (+/-) ผู้นำอังกฤษ,ยุโรปเตรียมโทรคุยคืนนี้ หวังเดินหน้าเจรจาข้อตกลงหลัง Brexit  สื่อท้องถิ่นรายงานว่า นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) จะพูดคุยกันทางโทรศัพท์เวลา 16.00 น. ของวันนี้ตามเวลาอังกฤษ หรือ 23.00 น. ตามเวลาไทย เพื่อเดินหน้าเจรจาข้อตกลงการค้าหลังอังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)  สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า การพูดคุยครั้งนี้สำคัญมาก เนื่องจากใกล้หมดเวลาที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องบรรลุข้อตกลงก่อนสิ้นสุดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านหลังการถอนอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปที่จะสิ้นสุดลงสิ้นปีนี้  รายงานข่าวระบุว่า ผู้นำทั้งสองจะประเมินว่าจะยังบรรลุข้อตกลงการค้าหลัง Brexit ด้วยกันได้หรือไม่
  • (+/-) BIS เตือนการแข็งค่าของดอลลาร์จะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเดือดร้อน  ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ซึ่งถือเป็นธนาคารของธนาคารกลาง ได้ออกมาเตือนว่า การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐจะเป็นปัจจัยกดดันแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีหนี้สินสกุลเงินดอลลาร์จำนวนมาก  อัตราหนี้สินสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐของตลาดเกิดใหม่เทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบแตะระดับ 10% แล้ว จากเพียง 3.5% สมัยวิกฤติการเงินโลกปี 2551  นักวิจัยของ BIS พบว่า การที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 1% เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินนั้น จะทำให้แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาปรับตัวลดลง 0.3%  BIS เปิดเผยว่า สิ่งนี้เคยปรากฏให้เห็นแล้วในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบแรก ซึ่งขณะนั้นดัชนีดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 10% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ จนส่งผลให้เกิดพันธบัตรไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ทำสถิติเป็นประวัติการณ์

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More