Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 28 ต.ค.63 (YLG)

- Advertisement -

392

- Advertisement -

เน้นการซื้อขายเก็งกำไรระยะสั้น พิจารณาขายเพื่อหวังทำกำไรช่วงสั้นหากไม่ผ่านแนวต้าน 1,914 ดอลลาร์ต่อออนซ์(ตัดขาดทุนหากราคายืนเหนือ 1,914 ดอลลาร์ต่อออนซ์) เข้าซื้อคืนหรือเสี่ยงเปิดสถานะซื้อเพื่อทำกำไรระยะสั้นบริเวณแนวรับ 1,881-1,872 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,881 1,872 1,862  แนวต้าน : 1,914 1,926 1,934

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.58 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ว่าแรงขายจะกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,897.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างวัน  แต่ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นหลังจากนั้น  โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อ Buy the dip ประกอบกับสกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากที่ Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 100.9 ในเดือนต.ค. จากระดับ 101.3 ในเดือนก.ย. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 102.0  ปัจจัยดังกล่าวหนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดบริเวณ 1,911.43 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  การปรับตัวขึ้นยังเป็นไปอย่างจำกัด  ส่วนหนึ่งเพราะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐบางรายการกลับออกมาดีเกินคาด  อาทิ  ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน, ดัชนีราคาบ้านและดัชนีภาคการผลิตจากเฟดริชมอนด์  จึงทำให้การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นไปอย่างจำกัด  อีกทั้งทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครต “ไม่” สามารถบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 3 พ.ย. จึงเป็นปัจจัยลดทอนความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช้วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและสกุลเงิน  นอกจากนี้  นักลงทุนบางส่วนยังระมัดระวังในการถือครองสถานะเพิ่มเติมก่อนหน้าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในสัปดาห์หน้า  จึงส่งผลให้ราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวขึ้นลงในกรอบจำกัด  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +2.92 ตันสู่ระดับ 1,266.72 ตัน  สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

- Advertisement -

  • (+) ดอลล์อ่อน หลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐชะลอตัว  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) หลังจากผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงในเดือนต.ค. อันเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.11% แตะที่ 92.9426  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 104.48 เยน จากระดับ 104.84 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3165 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3201 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.9076 ฟรังก์ จากระดับ 0.9073 ฟรังก์  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1810 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1812 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3055 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3018 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7132 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7125 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) Conference Board เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐต่ำกว่าคาดในต.ค.  ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 100.9 ในเดือนต.ค. จากระดับ 101.3 ในเดือนก.ย. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 102.0  ดัชนีความเชื่อมั่นร่วงลงจากการที่ผู้บริโภคมีความวิตกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • (-) “ทรัมป์”ยอมรับไม่มีข้อตกลงเยียวยาเศรษฐกิจก่อนวันเลือกตั้ง  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐยอมรับเมื่อวานนี้ว่า มีแนวโน้มบรรลุข้อตกลงเยียวยาเศรษฐกิจจากผลพวงของโควิด-19 หลังการเลือกตั้งวันที่ 3 พ.ย. โดยทำเนียบขาวไม่สามารถประสานความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับสมาชิกพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาสหรัฐ รวมทั้งสมาชิกพรรคเดโมแครตในสภาคองเกรส  เขากล่าวว่า “หลังการเลือกตั้ง เราจะมีแผนกระตุ้นที่ดีที่สุดที่พวกคุณเคยเห็นมา”  ปธน.ทรัมป์และนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐตำหนิซึ่งกันและกันสำหรับทางตันเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่ฉบับใหม่วงเงินราว 2 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อช่วยชาวอเมริกันฝ่าฟันโรคระบาด
  • (-) ทำเนียบขาวยอมรับไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจทันเลือกตั้งปธน.  นางเคย์ลีจ์ แมคเอนนานี โฆษกทำเนียบขาว กล่าวยอมรับว่า รัฐบาลและพรรคเดโมแครตคงไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 3 พ.ย.  นางแมคเอนนานีตำหนินางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ว่าทำการเรียกร้องมากเกินไป  “โอกาสริบหรี่ลงเมื่อคุณมีคนอย่างแนนซี เพโลซี มาทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ซึ่งเมื่อคุณพิจารณาข้อเสนอของพวกเขา ข้อเสนอเหล่านี้ก็ยังคงค้างคาอยู่” นางแมคเอนนานีกล่าว
  • (-) “เอสแอนด์พี”เผยราคาบ้านสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.7% ในเดือนส.ค.  ผลสำรวจของเอสแอนด์พี คอร์โลจิก เคส ชิลเลอร์ ระบุว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.7% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว หลังจากเพิ่มขึ้น 4.8% ในเดือนก.ค.  ส่วนดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.2% หลังจากเพิ่มขึ้น 4.1% ในเดือนก.ค.
  • (-) สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสูงกว่าคาดในเดือนก.ย.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป พุ่งขึ้น 1.9% ในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5%  นอกจากนี้ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ซึ่งเป็นคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน และสินค้าด้านอาวุธ โดยเป็นสิ่งบ่งชี้แผนการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนก.ย. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.5% หลังจากพุ่งขึ้น 2.1% ในเดือนส.ค.
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดร่วง 222.19 จุด วิตกแผนกระตุ้นศก.ไม่คืบก่อนวันเลือกตั้ง  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากโฆษกทำเนียบขาวส่งสัญญาณว่า รัฐบาลสหรัฐและพรรคเดโมแครตอาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ก่อนวันเลือกตั้งประธานาธิบดี อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ก่อนที่บริษัทรายใหญ่อย่างไมโครซอฟท์และแอปเปิลจะเปิดเผยผลประกอบการ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 27,463.19 จุด ลดลง 222.19 จุด หรือ -0.80% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,390.68 จุด ลดลง 10.29 จุด หรือ -0.30% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,431.35 จุด เพิ่มขึ้น 72.41 จุด หรือ +0.64%

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More