Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 22 ต.ค.63 (YLG)

- Advertisement -

397

- Advertisement -

ให้ขายลดพอร์ตการลงทุนหากขยับขึ้นไม่ผ่าน 1,931-1,934 ดอลลาร์ต่อออนซ์ การเข้าซื้อเก็งกำไรระยะสั้นรอแนวรับโซน 1,907-1,894 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,894 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

แนวรับ : 1,907 1,894 1,884  แนวต้าน : 1,934 1,943 1,955

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.35 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยได้รับแรงหนุนจากความหวังที่ว่าสหรัฐจะสามารถผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังรอบใหม่ได้ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย.นี้  ท่ามกลางความเห็นเชิงบวกของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐ  อาทิ  นายแลร์รี่ คุดโลว์ หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายศก.ประจำทำเนียบขาวที่ออกมาระบุว่า  การเจรจายังคงมีแนวโน้มที่ดีและกำลังมุ่งไปยังทิศทางที่ถูกต้อง  ขณะที่นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ  กล่าวว่า เธอมีทัศนะบวกเกี่ยวกับโอกาสในการมีข้อตกลง  ส่วนประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า เขาเต็มใจที่จะยอมรับร่างกฎหมายความช่วยเหลือครั้งใหญ่ แม้ว่ามีกระแสคัดค้านภายในพรรครีพับลิกันก็ตาม  มุมมองเชิงบวกดังกล่าวกดดันดัชนีดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยให้อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์  พร้อมกับกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของสกุลเงิน  ส่งผลให้ราคาทองคำทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,931.42 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา  เนื่องจากนักลงทุน และนักเศรษฐศาสตร์บางส่วน อาทิ Goldman Sachs และมองว่าสภาคองเกรสสหรัฐจะไม่สามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย.  จึงกระตุ้นแรงขายทำกำไรทองคำออกมา  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลด -0.58 ตันสู่ระดับ 1,269.35 ตัน  สำหรับวันนี้ยังคงต้องเกาะติดความคืบหน้าของการเจรจาเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐเช่นเดิม  พร้อมกับติดตามการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน, ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจาก CB และยอดขายบ้านมือสอง

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

- Advertisement -

  • (+) ดอลล์อ่อนค่า ขณะตลาดหวังสหรัฐบรรลุข้อตกลงกระตุ้นศก.รอบใหม่  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 ต.ค.) ขณะที่นักลงทุนขายดอลลาร์ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย เนื่องจากยังคงมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่ แม้ว่าทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ก็ตาม  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.49% สู่ระดับ 92.6082  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 104.53 เยน จากระดับ 105.44 เยน, และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9046 ฟรังก์ จากระดับ 0.9064 ฟรังก์ แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3130 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3118 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1860 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1827 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3157 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2942 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าสู่ระดับ 0.7126 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7064 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) แบงก์ชาติอังกฤษขวางใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ  นายเดฟ แรมสเดน รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าระดับ 0% จะส่งผลกระทบต่อความสามารถของธนาคารอังกฤษในการปล่อยกู้ และขณะนี้ไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับ BoE ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ  “อาจมีบางเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่ยังไม่ใช่ในขณะนี้” นายแรมสเดนกล่าว  นายแรมสเดนระบุว่า การซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ถือเป็นแนวทางที่ดีกว่าในการกระตุ้นอุปสงค์
  • (+) “คุดโลว์” เชื่อมั่นเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคืบหน้า  นายแลร์รี่ คุดโลว์ หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า เขามีความเชื่อมั่นว่าการเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตจะมีความคืบหน้า  “ผมคิดว่าการเจรจายังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยกำลังมุ่งไปยังทิศทางที่ถูกต้อง ถึงแม้ผมให้สัญญาอะไรไม่ได้ แต่สิ่งที่ได้พบเห็นก็กำลังดีขึ้นเรื่อยๆ” นายคุดโลว์กล่าว
  • (+) ทำเนียบขาวเชื่อมั่นบรรลุข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนสุดสัปดาห์นี้  นายมาร์ค มีโดว์ส หัวหน้าคณะทำงานของทำเนียบขาวเปิดเผยว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และพรรคเดโมแครตมีความคืบหน้าในการเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาชาวสหรัฐและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  อย่างไรก็ดี นายมีโดว์สกล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายยังคงต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาบางประเด็นเพื่อให้มีการบรรลุข้อตกลงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย.  นอกจากนี้ นายมีโดว์สแสดงความเชื่อมั่นว่าการเจรจาของทั้งสองฝ่ายจะมีความคืบหน้าในวันนี้และพรุ่งนี้ โดยจะมีข้อตกลงก่อนสุดสัปดาห์นี้
  • (-) “โกลด์แมน แซคส์” คาดคองเกรสอนุมัติมาตรการกระตุ้นศก.ไม่ทันเลือกตั้งปธน.  โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า สภาคองเกรสสหรัฐจะไม่สามารถออกกฎหมายว่าด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย.  ทั้งนี้ ในขณะที่เหลือเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และนายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ ยังคงมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ การให้เงินช่วยเหลือต่อมลรัฐต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินของภาคธุรกิจ  “หลายประเด็นสำคัญยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้การบรรลุข้อตกลงไม่น่าจะเป็นไปได้” นายอเล็ก ฟิลลิปส์ นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ ระบุในรายงาน  “ในขณะนี้ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมาก และเวลาก็เหลือน้อยลง ทำให้คุณเพโลซีและคุณมนูชินคงไม่สามารถบรรลุข้อตกลงก่อนการเลือกตั้ง และต่อให้ทั้งสองคนบรรลุข้อตกลง ก็แทบเป็นไปไม่ได้ที่สภาคองเกรสจะอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ก่อนการเลือกตั้ง” รายงานระบุ
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดลบ 97.97 จุด นลท.ผิดหวังสหรัฐยังไม่บรรลุข้อตกลงกระตุ้นศก.  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่ทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในการผลักดันมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่ และคาดการณ์กันว่า ตลาดอาจจะต้องรอมาตรการดังกล่าวไปจนกว่าจะถึงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 3 พ.ย.  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 28,210.82 จุด ลดลง 97.97 จุด หรือ -0.35%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,435.56 จุด ลดลง 7.56 จุด หรือ -0.22% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,484.69 จุด ลดลง 31.80 จุด หรือ -0.28%

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More