Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

ทองวานนี้ปิดเพิ่มขึ้น $13.03 รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ (YLG)

- Advertisement -

0 364

- Advertisement -

23-6-20

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว หากราคาขยับขึ้นควรแบ่งขายทำกำไรหากราคาทองคำไม่ผ่านโซน 1,763-1,765 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงใกล้แนวรับบริเวณ 1,746-1,737ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ :

1,746 1,737 1,726 

- Advertisement -

แนวต้าน :

1,765 1,776 1,787

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.03 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  หลังสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เผยว่า ยอดขายบ้านมือสองลดลงเกินคาดถึง 9.7% สู่ระดับ 3.91 ล้านยูนิตในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเดือนที่สามติดต่อกัน  นอกจากนี้ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19โดยเฉพาะในสหรัฐ  ซึ่งบั่นทอนความหวังเรื่องการฟื้นตัวทางทางเศรษฐกิจ  ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐได้รับอานิสงค์จากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเช่นกัน  สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 0.676% จึงช่วยสร้างแรงหนุนให้กับทองคำเพิ่มเติม  ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนบริเวณ 1,763.53 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างการซื้อขายวานนี้  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +6.73 ตัน  ขณะที่เช้านี้  สัญญาฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐดิ่งแรง  หลังนายPeter Navarro ที่ปรึกษาด้านการค้าของทำเนียบขาว ให้สัมภาษณ์กับ Fox News ว่า ข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนนั้น “จบลงแล้ว”  โดยให้เชื่อมโยงกับความไม่พอใจของสหรัฐที่มีต่อจีนเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19  ส่งผลให้ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยได้รับแรงหนุนในระยะสั้นในระหว่างการซื้อขายเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการบริการและภาคการผลิต, ยอดขายบ้านใหม่ และดัชนีภาคการผลิตจากเฟดริชมอนด์

จจัยทางเทคนิค :

- Advertisement -

ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้าน1,763-1,765 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันก่อนหน้าและเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปีครึ่ง อาจต้องระวังแรงขายทำกำไรที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ระยะสั้น ประเมินแนวรับแรกที่ 1,746 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากหลุดแนวรับแรก กรอบด้านล่างจะอยู่ที่ 1,737 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เสี่ยงเปิดสถานะขายทำกำไรระยะสั้นหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,763-1,765 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคายืน 1,765 ดอลลาร์ต่อออนซ์) และเข้าซื้อคืนเพื่อเก็งกำไรหากราคาอ่อนตัวลงแล้วสามารถยืนเหนือโซนแนวรับ1,746-1,737 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อนเทียบสกุลเงินหลัก วิตกผลกระทบศก.หลังโควิดระบาดเพิ่ม ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในสหรัฐ นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงด้วย  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.6% สู่ระดับ 97.037 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9474ฟรังก์ จากระดับ 0.9516ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3524 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3604 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 106.92 เยน จากระดับ 106.86 เยน  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1260 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1186 ดอลลาร์ ส่วนเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2471 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2355 ดอลลาร์
  • (+) สหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองร่วงต่อเป็นเดือนที่ 3 จากผลกระทบโควิด แต่เชื่อจะเริ่มฟื้นตัว สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองลดลง 9.7% สู่ระดับ 3.91 ล้านยูนิตในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเดือนที่สามติดต่อกัน อันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่  ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค.ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียง 3% หลังจากที่ร่วงลงถึง 17.8% ในเดือนเม.ย.
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 153.50 จุด รับแรงซื้อหุ้นเทคโนฯ,คาดศก.ฟื้นตัว  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (22 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมทั้งมุมมองบวกที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเพิ่มขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนคาดหวังว่า สภาคองเกรสสหรัฐจะอนุมัติแผนการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานวงเงินเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,024.96 จุด เพิ่มขึ้น 153.50 จุด หรือ +0.59% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,117.86 จุด เพิ่มขึ้น 20.12 จุด หรือ +0.65% และดัชนี Nasdaqปิดที่ 10,056.47 จุด เพิ่มขึ้น 110.35 จุด หรือ +1.11%
  • (-) เฟดชิคาโกเผยดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจดีดตัวขึ้นสู่แดนบวกในเดือนพ.ค.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนี Chicago Fed National Activity Index (CFNAI) ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ +2.61 ในเดือนพ.ค. จากระดับ -17.89 ในเดือนเม.ย. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาขยายตัว
  • (-) ผู้เชี่ยวชาญเชื่อยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในปักกิ่งดิ่งลงหนักสัปดาห์นี้ เหตุควบคุมได้ดี อู่ เหา ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า ยอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) รายใหม่ในกรุงปักกิ่งจะดิ่งลงอย่างหนักสัปดาห์นี้ เนื่องจากทางการจีนควบคุมต้นตอการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี  ผู้เชี่ยวชาญรายนี้เปิดเผยว่า ทางการจีนควบคุมต้นตอการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ตนเชื่อว่ายอดผู้ติดเชื้อจะปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  นอกจากนี้ กรุงปักกิ่งไม่น่าจะเผชิญกับมาตรการล็อกดาวน์ขนานใหญ่เหมือนกับที่เคยประกาศไว้กับเมืองอู่ฮั่นซึ่งเป็นต้นตอการแพร่ระบาดครั้งแรก เพราะขณะนั้นยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสดังกล่าวมากนัก
  • (-) Gilead เตรียมทดลองยาเรมเดซิเวียร์ชนิดสูดในผู้ป่วยโควิด ส.ค.นี้  บริษัท Gilead Sciences เปิดเผยในวันนี้ว่า บริษัทวางแผนที่จะเริ่มทดลองยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ชนิดสูด ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในเดือนสิงหาคมนี้บริษัทระบุในแถลงการณ์ว่า ยาชนิดสูดนี้จะให้ผ่านเครื่องพ่น เพื่อให้สามารถให้ยานอกโรงพยาบาลได้ง่ายขึ้น โดยการทดลองจะเริ่มกับผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงก่อนที่จะย้ายไปทดลองกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงเป็นลำดับต่อไป

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

Leave A Reply

Your email address will not be published.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More