Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 17 ก.ย.64 by YLG

- Advertisement -

368

- Advertisement -

คำแนะนำ :

เสี่ยงเข้าซื้อบริเวณแนวรับ 1,745-1,739 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำพยายามยืนเหนือโซนแนวรับดังกล่าวได้ ทำให้ราคายังคงมีโอกาสขยับขึ้นเพื่อทดสอบแนวต้าน 1,766-1,779 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เน้นการเก็งกำไรระยะสั้น

แนวรับ : 1,739 1,713 1,697  แนวต้าน : 1,766 1,779 1,802

สรุป  

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง  39.27  ดอลลาร์ต่อออนซ์  ตลอดทั้งวันราคาทองคำได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์  แม้ว่าช่วงเช้าในตลาดเอเชียราคาทองคำจะดีดตัวขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,796.19  ดอลลาร์ต่อออนซ์  แต่ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยปรับตัวลดลงตลอดทั้งวันจนทำลายระดับต่ำสุดของสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นแรงขายทางเทคนิค  ก่อนที่ราคาทองคำได้รับแรงกดดันเพิ่มเติม  หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ปรับตัวขึ้น 0.7% เมื่อเทียบรายเดือน สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 0.8%  ส่วนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก พุ่งขึ้นสู่ระดับ 30.7 ในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 18.7 จากระดับ 19.4 ในเดือนส.ค.  ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ “ดีเกินคาด” ช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ  ซึ่งส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 สัปดาห์ที่ 92.964  ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 1.351% จนเป็นปัจจัยเพิ่มเติมที่กดดันให้ราคาทองดิ่งลงกว่า 50 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับสูงสุดในระหว่างวัน  สู่ระดับต่ำสุดบริเวณ 1,745.47 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่จะมีแรงซ้อเข้ามาพยุงไว้หลังจากราคาเข้าสู่ภาวะขายมากเกินไป ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +1.46 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภค จาก UoM

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) จีนโต้เดือด! หลังอเมริกา-อังกฤษ ช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์จีนตอบโต้อย่างไม่พอใจต่อข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับอังกฤษ ที่จะช่วยออสเตรเลียพัฒนาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ภายใต้สนธิสัญญาความมั่นคงไตรภาคีซึ่งมุ่งเน้นที่ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก  ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศความตกลงดังกล่าวในวันพุธที่ทำเนียบขาว โดยระบุว่า “เราจำเป็นต้องสามารถจัดการสภาพแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต” และว่า อนาคตของโลกและประเทศต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความเสรีและเปิดกว้างของอินโด-แปซิฟิก ในช่วงหลายทศวรรษจากนี้  ทางด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน จ้าว หลี่เจียน แถลงข่าวในวันพฤหัสบดีว่า ข้อตกลงระหว่างสามประเทศกำลังบ่อนทำลายสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคนี้ พร้อมทั้งกล่าวหาว่า ทั้งสามประเทศมีพฤติกรรมที่ไร้ความรับผิดชอบอย่างรุนแรง และขอให้ยุติแนวคิดจากยุคสงครามเย็นนี้เสีย
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 63.07 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดหุ้นร่วงหนักดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (16 ก.ย.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐได้ฉุดหุ้นกลุ่มที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มวัสดุ โดยผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้สกัดปัจจัยบวกจากรายงานยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ
  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้วกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 332,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 330,000 ราย  อย่างไรก็ดี ตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งถือเป็นมาตรวัดตลาดแรงงานที่ดีกว่า เนื่องจากขจัดความผันผวนรายสัปดาห์ ลดลงสู่ระดับ 335,750 ราย โดยเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ
  • (-) เฟดฟิลาเดลเฟียเผยดัชนีภาคการผลิตพุ่งเกินคาด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก พุ่งขึ้นสู่ระดับ 30.7 ในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 18.7 จากระดับ 19.4 ในเดือนส.ค. 
  • (-) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกพุ่งเกินคาดในเดือนส.ค. ขานรับ back-to-schoolกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลง 0.8% เมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 15.1% ในเดือนส.ค.  ส่วนยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร พุ่งขึ้น 2.5% ในเดือนส.ค. หลังจากร่วงลง 1.9% ในเดือนก.ค.
  • (-) อย.สหรัฐฯ ยืนยัน ‘วัคซีนเข็มสาม’ ของไฟเซอร์ ช่วยกระตุ้นภูมิได้สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ เอฟดีเอ เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่สามของบริษัทไฟเซอร์ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ และยืนยันว่า วัคซีนสองเข็มที่ใช้อยู่ในขณะนี้ก็สามารถป้องกันอาการป่วยหนักจากโคโรนาไวรัสได้ดีเช่นกันเอฟดีเอกำลังพิจารณาคำร้องของบริษัทไฟเซอร์ที่ต้องการให้ฉีดวัคซีนเข็มที่สามเพื่อกระตุ้นภูมิให้แก่ประชาชนที่ได้รับวัคซีนไปแล้วสองเข็ม โดยไฟเซอร์ระบุว่า ภูมิคุ้มกันจะเริ่มลดลงเมื่อผ่านไป 6-8 เดือนหลังจากได้รับเข็มที่สอง โดยผลการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 300 คน พบว่าวัคซีนเข็มที่สามสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เพิ่มขึ้น 3-5 เท่า
  • (-) ดอลล์แข็งเทียบสกุลเงินหลัก ขานรับยอดค้าปลีกสหรัฐสดใสดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 ก.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดในเดือนส.ค. ซึ่งช่วยคลายความวิตกเกี่ยวการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้นักลงทุนคาดว่า ยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งอาจเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.42% แตะที่ 92.9311 เมื่อคืนนี้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.70 เยน จากระดับ 109.39 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9269 ฟรังก์ จากระดับ 0.9198 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2679 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2641 ดอลลาร์แคนาดายูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1754 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1808 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.3789 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3833 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7294 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7326 ดอลลาร์
  • (+/-) สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.5%สอดคล้องคาดการณ์กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากดีดตัวขึ้น 0.9% ในเดือนมิ.ย.  เมื่อเทียบรายปี สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจพุ่งขึ้น 7.2% ในเดือนก.ค.

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More