Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 6 ต.ค.63 (YLG)

- Advertisement -

0 503

- Advertisement -

เข้าซื้อลงทุนระยะสั้นในบริเวณ 1,902-1,894 ดอลลาร์ต่อออนซ์(ตัดขาดทุนหากหลุด 1,894 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ทั้งนี้ ควรเน้นการลงทุนระยะสั้นและไม่ควรถือสถานะจำนวนมาก เมื่อราคาทองคำดีดตัวขึ้นจะมีแนวต้านบริเวณ 1,926-1,932 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,896 1,883 1,868  แนวต้าน : 1,932 1,941 1,955

สรุป  

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  12.78 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ในระหว่างวันราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจะร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ  1,886.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์  จากรายงานที่ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีอาการดีขึ้นจากการป่วยด้วย COVID-19  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งหลังจากนั้นโดยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย  ได้แก่  (1.) การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  หลังนักลงทุนเทขายดัชนีดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย  ขานรับแนวโน้มที่ทำเนียบขาวจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับสภาคองเกรสเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่  (2.) การแข็งค่าของสกุลเงินยูโร  หลังการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคบริการยูโรโซน, อิตาลี และเยอรมนี ที่ล้วนแล้วแต่ออกมาดีเกินคาด และ (3.) การแข็งค่าของค่าเงินปอนด์  ขานรับแนวโน้มที่อังกฤษและสหภาพยุโรป (EU)จะทำข้อตกลงการค้าร่วมกันได้  หลังจากนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันของอังกฤษและนางอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ผู้นำคณะบริหารของสหภาพยุโรป (EU) เห็นพ้องในการเพิ่มการเจรจาเพื่อขจัด “ทัศนะที่แตกต่างกันอย่างมาก”  ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการทำข้อตกลงการค้า ทั้งนี้  การแข็งค่าของสกุลเงินยูโรและปอนด์เป็นอีกปัจจัยที่กดดันดอลลาร์เพิ่มเติม   นั่นส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง -0.35% จนเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำให้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,918.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผย JOLTS Job Openings และดุลการค้า  รวมไปถึงถ้อยแถลงนายเจอโรม พาวเวลล์  ประธานเฟด

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

- Advertisement -

  • (+) ทำเนียบขาวคาดมีแนวโน้มสูงบรรลุดีลคองเกรสออกมาตรการกระตุ้นศก.  นายมาร์ก มีโดวส์ หัวหน้าคณะทำงานประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า มีแนวโน้มสูงที่ทำเนียบขาวจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับสภาคองเกรสเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์มุ่งมั่นที่จะผลักดันให้มีข้อตกลงดังกล่าว  นายมีโดวส์กล่าวว่า ในช่วงที่ปธน.ทรัมป์เข้ารับการรักษาอาการป่วยจากโควิด-19 ที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันศุกร์ เขาก็ได้ทำการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ และนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • (+) โฆษกทำเนียบขาวยอมรับติดเชื้อโควิด  นางเคย์ลีจ์ แมคเอนนานี โฆษกทำเนียบขาว ทวีตข้อความในวันนี้ระบุว่า ตนได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งผลออกมาเป็นบวก  “หลังจากที่ดิฉันมีผลตรวจออกมาเป็นบวก ดิฉันก็จะเข้าสู่กระบวนการกักตัว และจะยังคงทำงานต่อไปสำหรับชาวอเมริกัน” ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
  • (+) WHO เตือนทั่วโลกติดเชื้อโควิดมากกว่า 760 ล้านคนแล้ว  นายแพทย์ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวเตือนว่า ตัวเลขประมาณการที่ดีที่สุดของ WHO ระบุว่า ขณะนี้ประชากรราว 1 ใน 10 ของทั่วโลกได้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ซึ่งสูงกว่าตัวเลขที่มีการรายงานกว่า 20 เท่า  หากประชากรราว 1 ใน 10 ของทั่วโลกติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะหมายความว่า ขณะนี้มีประชากรมากกว่า 760 ล้านคนทั่วโลกที่ติดเชื้อโควิด-19 จากจำนวนประชากรทั้งหมด 7,600 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีการรายงานจาก WHO และมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ที่ระดับมากกว่า 35 ล้านคน
  • (+) เงินดอลล์อ่อน นักลงทุนขายสินทรัพย์ปลอดภัยหลังตลาดหุ้นพุ่งแรง  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (5 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งรวมถึงหุ้น หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กทะยานขึ้นกว่า 400 จุดเมื่อคืนนี้ ขานรับข่าวประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีอาการดีขึ้นจากการป่วยด้วยโรคโควิด-19 รวมทั้งความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.35% แตะที่ 93.5166 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9160 ฟรังก์ จากระดับ 0.9205 ฟรังก์ และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3268 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3302 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 105.72 เยน จากระดับ 105.37 เยน  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1774 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1712 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2971 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2931 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7174 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7158 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ภาคบริการสหรัฐพุ่งเกินคาดในเดือนก.ย. สูงกว่าช่วงก่อนโควิด  ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 57.8 ในเดือนก.ย. จากระดับ 56.9 ในเดือนส.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 56.0
  • (-) ทรัมป์ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ลั่นพร้อมลุยหาเสียงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ออกจากศูนย์การแพทย์ทหารแห่งชาติวอลเตอร์ รีดแล้วในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาไทย หลังเข้ารับการรักษาอาการป่วยด้วยโรคโควิด-19 เป็นเวลา 4 วัน โดยปธน.ทรัมป์ซึ่งสวมหน้ากากอนามัยด้วยนั้น เดินออกจากศูนย์การแพทย์ทางประตูด้านหน้า และขึ้นเฮลิคอปเตอร์ “Marine One” เพื่อมุ่งหน้าไปยังทำเนียบขาว
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 465.83 จุด รับข่าวทรัมป์อาการดีขึ้น,มาตรการกระตุ้นศก.คืบหน้า  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทะลุแนว 28,000 จุดเมื่อคืนนี้ (5 ต.ค.) ขานรับข่าวประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีอาการดีขึ้น และล่าสุดได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว หลังเข้ารับการรักษาอาการป่วยจากโรคโควิด-19 นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ รวมทั้งรายงานดัชนีภาคบริการของสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาด  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 28,148.64 จุด เพิ่มขึ้น 465.83 จุด หรือ +1.68% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,332.49 จุด เพิ่มขึ้น 257.47 จุด หรือ +2.32% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,408.63 จุด เพิ่มขึ้น 60.19 จุด หรือ +1.80%
  • (+/-) ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐปรับตัวลงในเดือนก.ย.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 54.6 ในเดือนก.ย. จากระดับ 55.0 ในเดือนส.ค.

ขอขอบคุณ: บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Leave A Reply

Your email address will not be published.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More