Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

หมอแนะ 5 วิธี ที่ช่วยเด็กเล็กให้ห่างไกลเชื้อไวรัส โควิด -19

- Advertisement -

419

- Advertisement -

สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ยังคงน่าเป็นห่วง แม้ว่าเด็กเล็กไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงหลัก แต่คงไม่มีผู้ปกครองคนใดที่วางใจกับความเสี่ยงนี้ ซึ่ง พญ.วราลี ผดุงพรรค กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลนครธน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 สำหรับเด็กว่า แม้เด็กจะใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้าน จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำกว่าผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่อาจจะเป็นคนนำเชื้อมาสู่เด็กในครอบครัว ดังนั้น ผู้ใหญ่จึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิดในเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กเล็กในครอบครัวปลอดภัยจากโรคได้

1.อันตรายของโรคโควิดในเด็ก คือ อาการที่ทำให้ปอดบวมรุนแรง ขาดออกซิเจน หายใจลำบากจนต้องเข้า ICU และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่อระบบอื่นของร่างกาย เช่น ช็อก ตับอักเสบ ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

2.อาการติดเชื้อโควิดในเด็ก เชื้อไวรัสโคโรนามักจะเดินทางลงไปที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ส่งผลทำให้หลอดลมอักเสบ ปอดบวม ดังนั้น เด็กจะมีไข้ตัวร้อนเจ็บคอ อาจจะมีหรือ ไม่มีน้ำมูก คัดจมูก แต่จะมีอาการ ไอแห้ง ๆ ไอเยอะ ไอรุนแรง ซึ่งแสดงถึงพยาธิภาพที่หลอดลมและปอด อาจเกิดปอดบวม และหายใจล้มเหลวได้เช่นกัน ปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่เด็กจะมีอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา อาจมีบางรายที่มีปอดบวมอักเสบ แต่มักไม่รุนแรงและสามารถรักษาหายได้โดยเร็ว

3.การแพร่กระจายของเชื้อในเด็ก เชื้อไวรัสโคโรนาจะอยู่ในน้ำมูกหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำลาย เสมหะ เป็นต้น สามารถแพร่เชื้อได้เมื่อมีอาการไอ จาม หรือพูดคุยอยู่ในระยะที่ใกล้เคียงกัน แล้วมีน้ำลายกระเด็นใส่หรือเป็นละอองฝอยลอยอยู่ในอากาศ รวมถึง การใช้ภาชนะร่วมกัน รับประทานอาหารร่วมกัน โดยไม่มีช้อนส่วนตัวซึ่งเป็นช้อนสำหรับตักอาหาร

ทั้งนี้ เชื้อไวรัสสามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายของเด็กได้ 3 ช่องทาง คือ 1.ตา ซึ่งเด็ก ๆ อาจไปจับสิ่งของใดที่ติดเชื้อแล้วนำมาขยี้ตา 2.จมูก โดยพฤติกรรมเด็กส่วนใหญ่จะชอบแคะ จับ ขยี้จมูก และ 3.ปาก โดยเด็กเล็ก ๆ จะชอบนำมือเข้าไปในปาก หรือ อมของเล่นต่าง ๆ ที่วางไว้ในบ้าน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส หรือ แม้แต่การใช้ภาชนะร่วมกันกับผู้ใหญ่ ก็มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิดในเด็กได้

- Advertisement -

4.การรักษาโรคโควิด เป็นการรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาลดไข้ เช็ดตัวเพื่อลดไข้ ระวังไม่ให้ไข้สูงและชัก หรือการกินยาแก้ไอละลายเสมหะ เป็นต้น ซึ่งพบว่าเด็กที่เป็นโรคโควิด จะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดาที่ไม่รุนแรง แต่ในกรณีของคนที่มีอาการรุนแรง จะใช้ออกซิเจนในการช่วยเหลือ และ พ่นยาเมื่อจำเป็น หากเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ขวบ เด็กที่มีโรคประจำตัว หรือ รายที่มีอาการปอดบวมอักเสบ และเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงที่จะมีความรุนแรงข้อใดข้อหนึ่ง แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาจำเพาะ ซึ่งจะใช้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาฆ่าเชื้อ ตามแนวทางการปฏิบัติของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก

5.ดูแลเด็กอย่างไรให้ห่างไกลโรคโควิด สิ่งสำคัญที่สุด คือ เรื่องของสุขอนามัยของทุกคนในครอบครัว ซึ่งต้องเริ่มจากผู้ใหญ่ภายในบ้านก่อน โดยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคด้วยการงดออกไปในสถานที่ชุมชน หากจำเป็นต้องออกไป ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง และมี Social Distancing กับผู้คน โดยเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมูก น้ำลายกระเด็นใส่ นอกจากนี้ยังควรงดการใช้ภาชนะร่วมกันภายในบ้าน

ที่สำคัญ ผู้ใหญ่ควรสอนให้เด็กรู้จักดูแลตัวเอง โดยสอนให้เด็ก ๆ มีความเข้าใจว่า ทุกครั้งที่จะสัมผัส ตา จมูก ปาก จะต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลก่อน

CR : ข่าวสดออนไลน์

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More