Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

วิเคราะห์ราคาทองคำ 25 พ.ค.64(YLG)

- Advertisement -

358

- Advertisement -

คำแนะนำ :

รอจังหวะการอ่อนตัวลงของราคาบริเวณโซน 1,870-1,859 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จึงค่อยเข้าซื้อ หรือ หากราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,900-1,906 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วน แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายออกไป

แนวรับ : 1,870 1,859 1,845  แนวต้าน : 1,906 1,918 1,934

สรุป

ราคาทองคำปิดปรับตัวลดลง  1.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำในระหว่างวันมีการดีดตัวขึ้นไปทดสอบใกล้ระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือน  โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  หลังการคาดการณ์เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง  กระตุ้นแรงซื้อสกุลเงินอื่นๆที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงและให้ผลตอบแทนสูงกว่าจนบั่นทอนความต้องการดอลลาร์  นอกจากนี้  ทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 1.594%  ท่ามกลางแรงซื้อพันธบัตรหลังจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหุ้นและสกุลเงินดิจิทัล  ทำให้เกิดการหมุนเวียนการลงทุนกลับสู่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  ประกอบกับนางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟด, นายเจมส์  บูลลาร์ด  ประธานเฟดเซนต์หลุยส์  และนายราฟาเอล  บอสติก ประธานเฟดแอตแลนตา  ต่างออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของเฟดจึงเป็นปัจจัยกดดันดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรซึ่งช่วยหนุนทองคำเพิ่มเติม  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  พร้อมกับเผชิญแรงขายทำกำไรสลับออกมาเป็นระยะ  ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้น  ส่วน Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลกดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในระหว่างวัน  จนเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดแรงขายทำกำไรในตลาดทองคำเพิ่ม  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +3.20ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จาก CB, ยอดขายบ้านใหม่ และดัชนีภาคการผลิตจากเฟดสาขาริชมอนด์

- Advertisement -

จจัยทางเทคนิค :

  • (+) เฟดชิคาโกเผยดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนี Chicago Fed National Activity Index (CFNAI) ปรับตัวลงสู่ระดับ 0.24 ในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.20 จากระดับ 1.71 ในเดือนมี.ค.  ดัชนีได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงของการบริโภค ขณะที่การจ้างงานชะลอตัวลง  ดัชนี CFNAI เป็นดัชนีถ่วงน้ำหนักตัวชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐจำนวน 85 รายการ โดยดัชนี CFNAI ที่มีค่าเป็นบวกจะบ่งชี้ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงกว่าแนวโน้ม ขณะที่ดัชนี CFNAI ที่มีค่าเป็นลบจะบ่งชี้ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าแนวโน้ม  ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐจำนวน 38 รายการปรับตัวลงในเดือนเม.ย. ขณะที่ 47 รายการมีค่าเป็นบวก
  • (+) ดอลล์อ่อน นักลงทุนแห่ซื้อสินทรัพย์เสี่ยงหลังคาดการณ์ศก.แข็งแกร่ง  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนพากันเทขายดอลลาร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย และหันไปซื้อสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงเช่นยูโร หลังมีกระแสคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.19% แตะที่ 89.8439 เมื่อคืนนี้  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2213 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2180 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.4158 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4154 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7755 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7732 ดอลลาร์  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 108.78 เยน จากระดับ 108.91 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8968 ฟรังก์ จากระดับ 0.8979 ฟรังก์
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 186.14 จุด หุ้นเทคโนฯพุ่งหลังบอนด์ยีลด์ชะลอตัว  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 วันเมื่อคืนนี้ (24 พ.ค.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นกว่า 1.4% เนื่องจากการชะลอตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนหุ้นเติบโต (growth stocks) เช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,393.98 จุด เพิ่มขึ้น 186.14 จุด หรือ +0.54% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,197.05 จุด เพิ่มขึ้น 41.19 จุด หรือ +0.99% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,661.17 จุด เพิ่มขึ้น 190.18 จุด หรือ +1.41%
  • (-) ยอดติดเชื้อ-เสียชีวิตจากโควิดในสหรัฐฯ ต่ำสุดรอบเกือบปี แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนการ์ดอย่าตก  ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อจากโควิด-19 โดยเฉลี่ยของสหรัฐฯ ลดลงอยู่ในระดับไม่ถึง 30,000 รายต่อวันในสัปดาห์นี้ และมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบเจ็ดวันอยู่ที่ 552 คนต่อวันนั้น หลายรัฐได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ และผู้คนทั่วไปก็หวังว่าใกล้จะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้  อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขก็เตือนว่า อัตราการรับวัคซีนในบางพื้นที่ซึ่งยังต่ำอยู่มากอาจทำให้มีการระบาดครั้งใหม่และเป็นโอกาสที่เชื้อจะกลายพันธุ์ได้  ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาล และผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับโดยเฉลี่ยต่ำที่สุดในรอบเกือบหนึ่งปีนั้น ผู้คนในหลายพื้นที่ของสหรัฐฯ ก็เริ่มกลับไปใช้ชีวิตแบบเกือบปกติ เช่นมีการสวมกอด ถอดหน้ากาก และมีกิจกรรมจัดงานซึ่งมีการรวมตัวของผู้คนจำนวนมากเป็นต้น  ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขให้คำอธิบายว่าการเร่งกระจายวัคซีนในสหรัฐฯ อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้อเมริกามาถึงจุดนี้ได้ โดยขณะนี้ตัวเลขโดยรวมแสดงว่ากว่า 60% ของคนอเมริกันอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็มและมีเกือบ 50% ที่ได้วัคซีนครบโดสแล้ว
  • (+/-) เฟดเผยกำลังพัฒนาการออกสกุลเงินดอลลาร์ดิจิทัล  นางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดกำลังทำการวิจัยและพัฒนาการออกสกุลเงินดอลลาร์ในรูปแบบดิจิทัล ขณะที่ผู้บริโภคเพิ่มการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัล และรัฐบาลชาติอื่นๆก็กำลังผลักดันการออกสกุลเงินดิจิทัลของตนเองเช่นกัน
  • (+/-) “เยลเลน” เตรียมประชุมรมว.คลัง G7 ที่อังกฤษ 4-5 มิ.ย.  กระทรวงการคลังสหรัฐแถลงว่า นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ จะเดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศ G7 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 4-5 มิ.ย. ซึ่งจะเป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกของนางเยลเลนนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังสหรัฐ  แถลงการณ์ระบุว่า นางเยลเลนจะใช้การประชุมดังกล่าวเพื่อย้ำพันธกรณีของสหรัฐในการผลักดันนโยบายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนนโยบายการคลัง การเข้าถึงและแจกจ่ายวัคซีน  นอกจากนี้ นางเยลเลนจะหารือเกี่ยวกับความสำคัญของการฟื้นฟูระบบสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่ และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจโลกในการรับมือปัญหาโลกร้อน

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More