Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 1 มี.ค.64 (YLG)

- Advertisement -

340

- Advertisement -

คำแนะนำ :

หาจังหวะที่ราคาอ่อนตัวลงเสี่ยงเข้าซื้อลงทุนระยะสั้น แม้ว่าแนวโน้มราคาเป็นลบแต่หากราคาทองคำสามารถยืน 1,730-1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ราคามีโอกาสดีดตัวขึ้น  และให้ทยอยแบ่งทองคำออกขายหากราคาไม่ผ่านแนวต้าน

แนวรับ : 1,730 1,710 1,703  แนวต้าน : 1,754 1,776 1,795

สรุป

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดดิ่งลง 37.47 ดอลลาร์ต่อออนซ์ปิดตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยการปรับตัวลดลงราว -3% พร้อมกับปิดเดือนก.พ.ด้วยการปรับตัวลดลงกว่า -6% ซึ่งเป็นเดือนที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2016 โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น  และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่พุ่งขึ้นซึ่งส่งผลกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ย  ทั้งนี้  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปีที่ 1.614% ในวันศุกร์จากการคาดการณ์ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง  ส่วนดัชนีดอลลาร์ขยับขึ้นทดสอบระดับสูงสุด 90.97 และปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6%จากวันพฤหัสบดีหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  รวมถึงการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีเกินคาด อาทิ  การใช้จ่ายส่วนบุคคลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งสุดในรอบ 7 เดือน  นอกจากนี้  ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากแรงขายทางเทคนิคหลังจากราคาทองคำทำระดับต่ำสุดของปีนี้ครั้งใหม่  ซึ่งกระตุ้นแรงขาย(Sell stop)จนส่งผลให้ราคาทองคำทิ้งตัวลงแรง  ขณะที่นักลงทุนยังคงลดสถานะในการลงทุน ETF ทองอย่างต่อเนื่อง  สะท้อนจากข้อมูล Fund Flow รายสัปดาห์ของ BofA ที่แสดงให้เห็นว่าเกิดกระแสเงินทุนไหลออกจากกองทุน ETF ทองคำมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันพุธ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลงในวันศุกร์ -6.70 ตัน  ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดกดดันให้ทองคำดิ่งลงอย่างหนักจนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนครั้งใหม่บริเวณ 1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนจะมีแรงซื้อหนุนให้ราคาลดช่วงติดลบในช่วงปลายตลาด  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐ

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 469.64 จุด วิตกเงินเฟ้อ-บอนด์ยีลด์พุ่งกดดันตลาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอีกกว่า 400 จุดเมื่อคืนนี้ (26 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นออกมาท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐซึ่งปรับตัวขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี แต่ดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้นสวนทางตลาดโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดีดตัวขึ้นหลังจากร่วงลงอย่างหนักก่อนหน้านี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,932.37 จุด ลดลง 469.64 จุด หรือ -1.50%, ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 3,811.15 จุด ลดลง 18.19 จุด หรือ -0.48% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,192.34 จุด เพิ่มขึ้น 72.91 จุด หรือ +0.56%
  • (+) ไบเดนเตือนอิหร่านให้ระวัง หลังสั่งกองทัพสหรัฐโจมตีทางอากาศในซีเรีย  ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐได้กล่าวเตือนอิหร่านให้ระวัง เมื่อถูกถามว่า เขากำลังส่งสารใดให้กับอิหร่านในการสั่งโจมตีทางอากาศในซีเรีย  “คุณไม่สามารถกระทำการโดยไม่ต้องรับโทษ จงระวัง” ปธน.ไบเดนตอบคำถามผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (26 ก.พ.) ขณะเขาเดินทางอยู่ที่รัฐเท็กซัส
  • (-) ดอลล์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก ตามบอนด์ยีลด์พุ่ง  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (26 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ปรับตัวขึ้น 0.82% สู่ระดับ 90.8690 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 106.61 เยน จากระดับ 106.20 เยน, แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9090 ฟรังก์ จากระดับ 0.9046 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2703 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2576 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2078 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2184 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3945 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4036 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7711 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7902 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) สหรัฐไฟเขียวใช้วัคซีนโควิดของ “จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน” ในกรณีฉุกเฉินแล้ว  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐได้ให้การอนุมัติวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้วเมื่อวันเสาร์ (27 ก.พ.)  การอนุมัติดังกล่าวส่งผลให้วัคซีนของ J&J เป็นวัคซีนตัวที่ 3 ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานเป็นกรณีฉุกเฉิน (EUA) ในสหรัฐ ตามหลังวัคซีนของไฟเซอร์-บิออนเทค และของโมเดอร์นา  นอกจากนี้ วัคซีนของ J&J ยังนับเป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดเพียงเข็มเดียว ซึ่งจะถูกใช้งานในสหรัฐเป็นตัวแรก  FDA ระบุว่า หลังจากที่ผ่านการอนุมัติให้ใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว วัคซีนของ J&J จะได้รับอนุญาตให้แจกจ่ายให้กับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • (-) สหรัฐเผยดัชนี PCE เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.2%  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE ดีดตัวขึ้น 1.5% ในเดือนม.ค.  ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค.  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 1.5% ในเดือนม.ค.
  • (+/-) สหรัฐเผยการใช้จ่ายผู้บริโภคพุ่งขึ้น 2.4% ในเดือนม.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้น 2.4% ในเดือนม.ค. แต่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.5% หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนธ.ค.  นอกจากนี้ รายได้ส่วนบุคคลพุ่งขึ้น 10% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนธ.ค.
  • (+/-) สภาผู้แทนฯสหรัฐไฟเขียวมาตรการเยียวยาโควิด 1.9 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว  สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้อนุมัติร่างกฎหมายเยียวยาผลกระทบจากโรคโควิด-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ที่เสนอโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดนแล้วในเช้าวันนี้ (27 ก.พ.) ตามเวลาสหรัฐ และจะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้กับวุฒิสภาพิจารณาต่อไป โดยสมาชิกสภาพรรคเดโมแครตได้เร่งที่จะอนุมัติกฎหมายดังกล่าวก่อนที่โครงการช่วยเหลือผู้ว่างงานในสหรัฐจะหมดอายุลงในวันที่ 14 มี.ค.นี้  สภาผู้แทนฯสหรัฐได้อนุมัติมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโรคโควิด-19 ด้วยคะแนน 219 ต่อ 212 เสียง โดยสมาชิกพรรครีพับลิกันทั้งหมดและสมาชิกพรรคเดโมแครต 2 รายลงมติคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว  ทั้งนี้ วุฒิสภาสหรัฐจะเริ่มพิจารณากฎหมายนี้ต่อไปในสัปดาห์หน้า
  • (+/-) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงในเดือนก.พ.  ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 76.8 ในเดือนก.พ. จากระดับ 79.0 ในเดือนม.ค. แต่สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More