Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 26 ม.ค.64 (YLG)

- Advertisement -

346

- Advertisement -

คำแนะนำ :

รอการอ่อนตัวลงของราคาหากไม่หลุดบริเวณแนวรับ 1,845-1,837 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พิจารณาเข้าซื้อทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว หากราคาไม่สามารถยืนเหนือบริเวณ 1,870-1,875 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ แนะนำทยอยปิดสถานะซื้อทำกำไร

แนวรับ : 1,837 1,818 1,800  แนวต้าน : 1,875 1,896 1,914

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง  แม้ในระหว่างวันราคาทองคำจะพุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,867.79 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐในประเด็นไต้หวัน  รวมไปถึงเหตุปะทะระหว่างทหารจีนและอินเดียบริเวณชายแดนตามแนวเทือกเขาหิมาลัย  ก่อนที่ราคาทองคำจะอ่อนตัวลงโดยได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไร  ประกอบกับสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากแรงซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย  ท่ามกลางความวิตกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีไบเดนส่อเค้าจะล่าช้า หลังสมาชิกสภาคองเกรสหลายรายทั้งจากพรรครีพับลิกันและเดโมแครตต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ และตั้งข้อสงสัยถึงความจำเป็นของการออกมาตรการดังกล่าว  ขณะที่สกุลเงินยูโรยังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน  หลังจากวานนี้ Ifo เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีร่วงลงเกินคาดสู่ระดับ 90.1 ในเดือนม.ค. แตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน  นอกจากนี้  นักวิเคราะห์ของ Ifo ยังออกมาเตือนอีกว่าความล่าช้าในการกระจายวัคซีน COVID-19 ได้เพิ่มความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ  ซึ่งการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโรช่วยหนุนให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าเพิ่มจนกระตุ้นแรงขายในตลาดทองคำ  ส่งผลให้ราคาทองคำลดช่วงบวกลงมาปิดตลาดบริเวณ 1,855.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ  อาทิ  ดัชนีราคาบ้าน โดย S&P/CS, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก Conference Board  และดัชนีภาคการผลิตจากเฟดริชมอนด์

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) กองทัพจีน-อินเดียปะทะรอบใหม่บริเวณพื้นที่พิพาท  ทหารจีนและอินเดียปะทะกันบริเวณชายแดนตามแนวเทือกเขาหิมาลัยเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน แม้ผู้บัญชาการทั้งสองฝ่ายกำลังพยายามเจรจาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน โดยทหารของทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บหลายรายจากการปะทะกันครั้งนี้ ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณชายแดนทางตอนเหนือของรัฐสิกขิม  กองทัพอินเดียยืนยันว่า มีการเผชิญหน้ากันเล็กน้อยเมื่อวันที่ 20 ม.ค. โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการแก้ไขโดยผู้บัญชาการในพื้นที่แล้ว
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 36.98 จุด กังวลแผนกระตุ้นศก.ล่าช้า  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าในการออกมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,960.00 จุด ลดลง 36.98 จุด หรือ -0.12% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 3,855.36 จุด เพิ่มขึ้น 13.89 จุด หรือ +0.36% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,635.99 จุด เพิ่มขึ้น 92.93 จุด หรือ +0.69%
  • (-) เฟดชิคาโกเผยดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูงกว่าคาดในเดือนธ.ค.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนี Chicago Fed National Activity Index (CFNAI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 0.52 ในเดือนธ.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.10 จากระดับ 0.31 ในเดือนพ.ย.
  • (-) Ifo เตือนเศรษฐกิจเยอรมนีชะงักงันใน Q1/64 จากพิษโควิด  นายเคลาส์ โวห์ราเบ นักวิเคราะห์ของ Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวว่า เศรษฐกิจเยอรมนีจะประสบภาวะชะงักงันในไตรมาสแรก โดยได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลเพื่อสกัดการแพร่ระบาดรอบ 2 ของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ  “เศรษฐกิจเยอรมนีขาดความเชื่อมั่นในช่วงเริ่มต้นปีนี้ ขณะที่ความล่าช้าในการกระจายวัคซีนโควิด-19 ได้เพิ่มความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ” นายโวห์ราเบกล่าว
  • (-) EU จี้แอสตร้าเซนเนก้าเร่งส่งวัคซีนโควิด หลังบริษัทประกาศลดการส่งมอบ  สหภาพยุโรป (EU) เรียกร้องให้บริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเร่งการส่งมอบวัคซีนโควิด-19 หลังจากที่ทางบริษัทประกาศลดการส่งมอบแก่ EU เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา  “เราหวังว่าทางบริษัทจะสามารถหาทางออกเพื่อเร่งการส่งมอบวัคซีน” โฆษกของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของ EU กล่าว  นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระบุว่า EU จะกำหนดให้บริษัทยาทำการลงทะเบียนการส่งออกวัคซีนโควิด-19 เพื่อป้องกันการนำโควต้าวัคซีนของ EU ไปส่งมอบให้แก่ประเทศอื่น  ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้าแถลงเมื่อวันศุกร์ว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ทางบริษัทพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด จะมีการส่งมอบไปยัง EU ต่ำกว่าเป้าหมายจนถึงปลายเดือนมี.ค. อันเนื่องจากปัญหาด้านการผลิต โดยคาดว่าจะมีการลดปริมาณการส่งมอบวัคซีนลง 60% เหลือเพียง 31 ล้านโดส
  • (-) ดอลล์แข็งค่า เหตุวิตกแผนกระตุ้นศก.หนุนคำสั่งซื้อสกุลเงินปลอดภัย  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และความล่าช้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐ  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.17% แตะที่ 90.3900 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8881 ฟรังก์ จากระดับ 0.8860 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2749 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2728 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 103.79 เยน จากระดับ 103.83 เยน  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2139 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2166 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3663 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3681 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7703 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7717 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+/-) สภาผู้แทนฯสหรัฐเตรียมยื่นญัตติถอดถอนทรัมป์เข้าสู่วุฒิสภาวันนี้  สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเตรียมยื่นญัตติถอดถอนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เข้าสู่การพิจารณาไต่สวนของวุฒิสภาในวันนี้ ในข้อหายุยงปลุกปั่นให้กลุ่มผู้สนับสนุนของเขาบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. เพื่อขัดขวางกระบวนการประกาศรับรองชัยชนะของนายโจ ไบเดนในการเลือกตั้งประธานาธิบดี  การยื่นญัตติดังกล่าวจะมีขึ้นในวันนี้เวลา 19.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือพรุ่งนี้เช้าเวลา 07.00 น.ตามเวลาไทย  ทั้งนี้ วุฒิสภาจะเริ่มกระบวนการพิจารณาไต่สวนอดีตปธน.ทรัมป์ในวันที่ 9 ก.พ. เพื่อให้เวลาแก่เขาในการเตรียมต่อสู้คดีถอดถอนดังกล่าว

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More