Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 5 ม.ค.65 by YLG

- Advertisement -

313

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิด/ถือสถานะซื้อ 1,805-1,799

จุดทำกำไร     ขายทำกำไร $1,831

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,798

แนวรับ : 1,798 1,783 1,767  แนวต้าน : 1,813 1,844 1,859

สรุป  

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ระหว่างวันราคาทองคำจะได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ที่ 96.462   และอัตราผลตอบแทนรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.6858% ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วสุดในการประชุมเดือนมี.ค. ปัจจัยดังกล่าวกดดันให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงทำระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,798.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนที่จะเริ่มมีแรงซื้อ Buy the dip เข้ามาพยุงไว้เนื่องจากราคาทองคำอ่อนตัวลงแต่ยกระดับต่ำสุดขึ้น  ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทะยานขึ้นทำสถิติใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก  นำโดยสหรัฐที่รายงานผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากกว่า 1 ล้านรายในวันจันทร์  นอกจากนี้  ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาแย่เกินคาด  ทั้งตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ที่ลดลงสู่ระดับ 10.6 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 11.075 ล้านตำแหน่ง  ส่วนดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐจาก ISM ปรับตัวลงสู่ระดับ 58.7 ในเดือนธ.ค. แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2021 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 60.1 ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ลดช่วงบวกจนเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำให้ทะยานขึ้นจากระดับต่ำสุดสู่ระดับสูงสุดบริเวณ 1,816.57 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +4.65 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP, ดัชนี PMI ภาคการบริการจากมาร์กิต และรายงานการประชุมเฟดประจำเดือนธ.ค.

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) CDC เผยโอมิครอนใกล้ยึดสหรัฐครบ 100% แล้ว  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ณ วันที่ 1 ม.ค. จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในสหรัฐมีสัดส่วนราว 95.4% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมดในประเทศ ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตามีสัดส่วนเพียง 4.6%  ทั้งนี้ ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐ โดยสามารถแทนที่สายพันธุ์เดลตา หลังจากที่เริ่มมีการตรวจพบสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ธ.ค.2564 
  •   ผลสำรวจของ CNBC/Change Research พบว่า คะแนนความไม่พอใจของชาวอเมริกันต่อการทำงานของประธานาธิบดีโจ ไบเดนพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธ.ค.2564 โดยมีการมองว่าปธน.ไบเดนประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19  ทั้งนี้ ผู้ถูกสำรวจจำนวน 56% ไม่พึงพอใจต่อการทำงานของปธน.ไบเดน ซึ่งเป็นตัวเลขย่ำแย่ที่สุดของปธน.ไบเดนก่อนที่เขาจะครบรอบ 1 ปีแรกของการทำหน้าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ  ผลสำรวจก่อนหน้านี้ในเดือนเม.ย.และก.ย.ปีที่แล้ว แสดงจำนวนผู้ที่ไม่พึงพอใจอยู่ที่ระดับ 49% และ 54% ตามลำดับ  ขณะเดียวกัน ผลสำรวจล่าสุดระบุว่า ผู้ที่พึงพอใจต่อการทำงานของปธน.ไบเดนมีจำนวน 44% ลดลงจากผลสำรวจในเดือนเม.ย.และก.ย.ปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ 51% และ 46% ตามลำดับ
  •   สถาบัน Mediterranee Infection University Hospital Institute หรือ IHU ออกแถลงการณ์ระบุว่า มีการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งมีจำนวนตำแหน่งการกลายพันธุ์มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอน  สายพันธุ์ดังกล่าวมีชื่อว่า B.1.640.2 หรือ IHU โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่พบผู้ติดเชื้อดังกล่าวจำนวน 12 ราย ซึ่งผู้ติดเชื้อบางรายมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศแคเมอรูน  ทั้งนี้ ไวรัสสายพันธุ์ IHU มีการกลายพันธุ์จำนวน 46 ตำแหน่ง ซึ่งมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอน และอาจทำให้สายพันธุ์ IHU แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าโอมิครอน รวมทั้งสามารถต้านทานวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์อื่น
  •   สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 529,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.6 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ย. ต่ำกว่าที่นักิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 11.075 ล้านตำแหน่ง
  •   สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 58.7 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 60.1 จากระดับ 61.1 ในเดือนพ.ย.
  • .  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (4 ม.ค.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี ดอลลาร์แข็งค่าเพียงเล็กน้อยเนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐได้สกัดแรงบวกของดอลลาร์ในระหว่างวัน  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.06% แตะที่ 96.2007 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 116.11 เยน จากระดับ 115.29 เยน แต่ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9162 ฟรังก์ จากระดับ 0.9181 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2705 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2747 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1289 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1297 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3535 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3483 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7241 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7190 ดอลลาร์สหรัฐ
  •   ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮติดต่อกันวันที่ 2 ในวันอังคาร (4 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเดินหน้าซื้อหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่นหุ้นกลุ่มสายการบินและกลุ่มอุตสาหกรรม ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,799.65 จุด เพิ่มขึ้น 214.59 จุด หรือ +0.59%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,793.54 จุด ลดลง 3.02 จุด หรือ -0.06% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,622.72 จุด ลดลง 210.08 จุด หรือ -1.33%

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More