Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 5 พ.ค.65 by YLG

- Advertisement -

393

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ 1,889-1,877

จุดทำกำไร     ขายเพื่อทำกำไร $1,920-1,934

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,860

แนวรับ : 1,877 1,860 1,841  แนวต้าน : 1,920 1,934 1,948

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในระหว่างวันราคาทองคำทรงตัวเหนือบริเวณ 1,861.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน หลังจากนางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) เสนอให้ประเทศสมาชิก EU ระงับการนำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันกลั่นจากรัสเซีย ก่อนที่ราคาทองคำจะเริ่มปรับตัวขึ้น

หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)มีมติ “ขึ้น” อัตราดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 bps สู่ระดับ 0.75-1.00% พร้อมประกาศแผนการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening หรือ QT) ซึ่งจะ “เริ่มต้น” ดำเนินการปรับลดงบดุลในวันที่ 1 มิ.ย. ในวงเงิน 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน (แบ่งเป็นลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาล 3 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และลดการถือครองหลักทรัพย์ MBS 1.75 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน) และการลดงบดุลจะเพิ่มขึ้นจนแตะระดับสูงสุดที่ 9.5หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนภายใน 3 เดือน

อย่างไรก็ดี ปัจจัยหลักที่หนุนราคาทองคำมาจากถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด ที่ได้ปฏิเสธแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยมากถึง 0.75% แม้มีความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นรุนแรงก็ตาม นั่นทำให้นักลงทุนปิดโอกาสความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย. ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปีของสหรัฐลดลงสู่ระดับ 2.9149%

ส่วนดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 102.457 จนเป็นที่มาที่ทำให้ราคาทองคำทะยานขึ้นจนกระทั่งทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,903.28 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้าของวันนี้ในตลาดเอเชีย ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี) และติดตามการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน

- Advertisement -

• (+) ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 57.1 ในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 58.5 หลังจากแตะระดับ 58.3 ในเดือนมี.ค.

• (+) ADP เผยการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย. ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 247,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 395,000 ตำแหน่ง

• (+) ดอลล์อ่อนค่า หลังพาวเวลปฏิเสธแนวโน้มขึ้นดบ. 0.75% ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (4 พ.ค.) หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปฏิเสธแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยมากถึง 0.75% แม้มีความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นรุนแรงก็ตาม

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.85% แตะที่ 102.5860 ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 128.73 เยน จากระดับ 130.18 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9747 ฟรังก์ จากระดับ 0.9786 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2740 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2840 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0621 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0529 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.2581 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2491 ดอลลาร์

• (+) น้ำมัน WTI ปิดพุ่ง $5.40 รับข่าว EU จ่อคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 5% ในวันพุธ (4 พ.ค.) ขานรับรายงานที่ว่า ประธานสหภาพยุโรป (EU) เสนอให้บรรดาประเทศสมาชิกระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้ตลาดน้ำมันเผชิญภาวะตึงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. พุ่งขึ้น 5.40 ดอลลาร์ หรือ 5.3% ปิดที่ 107.81 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. พุ่งขึ้น 5.17 ดอลลาร์ หรือ 4.9% ปิดที่ 110.14 ดอลลาร์/บาร์เรล

• (+) “พาวเวล” ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% ในการประชุมครั้งหน้า แต่ปฏิเสธขึ้นแรง 0.75% นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงต่อสื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินในวันพุธ (4 พ.ค.) ว่า ตลาดแรงงานของสหรัฐอยู่ในภาวะตึงตัวมาก และอัตราเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับที่สูงเกินไป โดยเฟดจะเร่งดำเนินการเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 0.75% – 1.00% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2543 และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 20 ปี “คณะกรรมการเฟดมีความเห็นว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% ในการประชุม 2 ครั้งข้างหน้า อย่างไรก็ดี ขณะนี้คณะกรรมการเฟดยังไม่ได้พิจารณาเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงถึง 0.75%” นายพาวเวลกล่าว

• (+) สหรัฐเผยขาดดุลการค้าสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐพุ่งขึ้น 22.3% สู่ระดับ 1.098 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.07 แสนล้านดอลลาร์

• (-) ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐต่ำสุดรอบ 3 เดือนในเม.ย. เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 55.6 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 58.0 ในเดือนมี.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 54.7

• (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 932.27 จุด หลังเฟดขึ้นดบ. 0.5% ตามคาด ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 900 จุดในวันพุธ (4 พ.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดได้ปฏิเสธแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงถึง 0.75% ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,061.06 จุด พุ่งขึ้น 932.27 จุด หรือ +2.81%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,300.17 จุด เพิ่มขึ้น 124.69 จุด หรือ +2.99% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,964.86 จุด พุ่งขึ้น 401.10 จุด หรือ +3.19%

• (+/-) เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ตามคาด เริ่มทำ QT เดือนหน้า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 0.75-1.00% ในการประชุมวันนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2543 และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 20 ปี

นอกจากนี้ เฟดยังเปิดเผยแผนทยอยปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิ.ย. ซึ่งงบดุลดังกล่าวประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) โดยขณะนี้มีมูลค่ารวม 8.9 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. เฟดจะลดขนาดงบดุลในวงเงิน 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน

โดยจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ และตราสารหนี้ MBS วงเงิน 1.75 หมื่นล้านดอลลาร์ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม และหลังจากนั้น 3 เดือน เฟดจะเพิ่มการลดขนาดงบดุลเป็น 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน โดยจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ และตราสารหนี้ MBS วงเงิน 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More