Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 23 ก.พ.65 by YLG

- Advertisement -

383

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ 1,888-1,878

จุดทำกำไร     ขายทำกำไร $1,916-1,932

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,863

แนวรับ : 1,878 1,863 1,847  แนวต้าน : 1,916 1,932 1,958

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 5.16 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 9 เดือนที่ 1,914.08 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้ามืดของวันนี้ตามเวลาไทยท่ามกลางแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน หลังจากประธานาธิบดีปูติน ได้ลงนามรับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ซึ่งเป็น 2 แคว้นกบฎในยูเครนตะวันออก พร้อมกับสั่งการให้กองกำลังทหารรัสเซียเข้าประจำการในพื้นที่ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ราคาทองคำเผชิญกับแรงขายทำกำไรในเวลาต่อมา ขณะที่สัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ว่าราคาอยู่ภาวะซื้อมากเกินไปใน TF Daily บวกกับเกิดสัญญาณที่บ่งชี้ว่าโมเมนตัมเชิงบวกอ่อนแรงลงจึงเกิดแรงขายทางเทคนิคเพิมเติม ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมา “ดีเกินคาด” อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐจากมาร์กิต ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.0 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 51.1 ในเดือนม.ค. และ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐจาก CB ปรับตัวลงสู่ระดับ 110.5 ในเดือนก.พ. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 110.0 ส่งผลให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงทดสอบระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,891.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่วิกฤตในยูเครนยังคงตึงเครียดต่อเนื่อง ล่าสุดนานาชาติได้ออกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ขณะที่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐได้ยกเลิกการประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียซึ่งวางแผนไว้ในวันพฤหัสบดีนี้ ทำให้มีแรงซื้อ Buy the dip เข้ามาพยุงราคาทองคำเอาไว้ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) เลขาธิการนาโตยันรัสเซียเตรียมโจมตียูเครนอย่างเต็มรูปแบบนายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวว่า รัสเซียเตรียมการโจมตียูเครนอย่างเต็มรูปแบบ  “สิ่งบ่งชี้ทุกอย่างบอกว่ารัสเซียยังคงเตรียมการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบต่อยูเครน และเราขอเรียกร้องให้รัสเซียถอยหลังกลับ โดยยังไม่สายเกินไปที่จะยกเลิกการโจมตียูเครน” นายสโตลเทนเบิร์กกล่าว
  • (+) สภารัสเซียเปิดประตูสงคราม! ไฟเขียว “ปูติน” ส่งกองทัพช่วยกบฏยูเครน  วุฒิสภารัสเซียมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน สามารถใช้กองทัพรัสเซียนอกประเทศได้เพื่อให้การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครน  ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 153 เสียง โดยไม่มีเสียงคัดค้านแต่อย่างใด  ก่อนหน้านี้ ปธน.ปูตินยื่นคำร้องต่อวุฒิสภาเพื่อขออนุมัติการใช้กำลังทหารนอกประเทศในการสนับสนุนสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์ (DNR) และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ (LNR) ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสทางตะวันออกของยูเครน ซึ่งกลุ่มกบฎฝักใฝ่รัสเซียยึดครองอยู่ และได้ต่อสู้กับกองทัพยูเครนนับตั้งแต่ปี 2557
  • (+) อังกฤษประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย ตอบโต้ “ปูติน” ส่งทหารยึดดอนบาส นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย หลังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย  ทั้งนี้ นายจอห์นสันประกาศคว่ำบาตรธนาคารรัสเซีย 5 แห่ง รวมทั้งชาวรัสเซีย 3 คน เพื่อตอบโต้มาตรการทางทหารของรัสเซียดังกล่าว 
  • (+) นายกฯเยอรมนีประกาศระงับอนุมัติท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2นายโอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศระงับการอนุมัติท่อส่งก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 2 ในวันนี้ หลังจากที่รัสเซียให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย  “เยอรมนีไม่สามารถให้การยอมรับ 2 แคว้นดังกล่าว และเราต้องทำการประเมินสถานการณ์ใหม่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับท่อส่งก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 2” นายโชลซ์กล่าว 
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า ซื้อขายผันผวนจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (22 ก.พ.) ท่ามกลางการซื้อขายที่เป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน หลังจากรัสเซียให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และได้ส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.05% แตะที่ 96.0250  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1338 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1325 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3592 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3603 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7221 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7195 ดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.08 เยน จากระดับ 114.77 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9211 ฟรังก์ จากระดับ 0.9159 ฟรังก์
  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 482.57 จุด,S&P500 ปรับฐาน วิตกสงครามยูเครนปะทุดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (22 ก.พ.) ขณะที่ดัชนี S&P500 เข้าสู่ภาวะปรับฐาน (Correction) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังจากรัสเซียให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของยูเครน และส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,596.61 จุด ลดลง 482.57 จุด หรือ -1.42%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,304.76 จุด ลดลง 44.11 จุด หรือ -1.01% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,381.52 จุด ลดลง 166.55 จุด หรือ -1.23%
  • (-) ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการสหรัฐสูงสุดรอบ 2 เดือนในก.พ.ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.0 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 51.1 ในเดือนม.ค.  ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น อยู่ที่ 57.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 55.5 ในเดือนม.ค.  สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น อยู่ที่ 56.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 51.2 ในเดือนม.ค.
  • (-) Conference Board เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงเดือนที่ 2ผลสำรวจของConference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 โดยร่วงลงสู่ระดับ 110.5 ในเดือนก.พ. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 110.0 จากระดับ 111.1 ในเดือนม.ค.

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More