Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 20 ธ.ค.64 by YLG

- Advertisement -

305

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ 1,793-1,789

จุดทำกำไร     ขายทำกำไร $1,808-1,815

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,772

แนวรับ : 1,789 1,772 1,753  แนวต้าน : 1,815 1,834 1,849

สรุป  

- Advertisement -

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 1.07 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ในระหว่างวันราคาทองคำจะปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วขึ้นซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ  ปัจจัยดังกล่าวกดดันดัชนีดาวโจนส์ให้ปิดลดลง 532.20 จุดจนกระตุ้นแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยในวงกว้าง  ขณะที่แรงซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  เป็นปัจจัยกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ปรับตัวลงต่ำกว่า 1.4% ซึ่งช่วยหนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเพิ่ม  ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือนบริเวณ 1,814.21 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยเผชิญกับแรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิค  ประกอบกับดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากแรงซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย  และความเห็นในเชิง Hawkish ของเจ้าหน้าที่เฟด ทั้งนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการเฟดที่กล่าวในวันศุกร์ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะเกิดขึ้น “ไม่นานนัก” หลังจากที่มาตรการ QE สิ้นสุดลงในเดือนมี.ค.  ส่วนนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดนิวยอร์กกล่าวว่า  เจ้าหน้าที่เฟดให้ความสำคัญกับการลดอัตราเงินเฟ้อลงสู่เป้าหมายที่ 2% และยุติการซื้อสินทรัพย์ภายในเดือนมี.ค. เพื่อให้เฟดมี “ทางเลือก” มากขึ้นในปีหน้าในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากจำเป็น  นั่นทำให้ราคาทองคำร่วงลงปิดตลาดในแดนลบในที่สุด  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +0.87 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจาก Conference Board

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 532.20 จุด แรงขายหุ้นเทคโนฯฉุดตลาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 500 จุดในวันศุกร์ (17 ธ.ค.) โดยถูกกดดันจากการเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสโอมิครอน รวมถึงการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วขึ้น  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,365.44 จุด ลดลง 532.20 จุด หรือ -1.48%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,620.64 จุด ลดลง 48.03 จุด หรือ -1.03% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,169.68 จุด ลดลง 10.75 จุด หรือ -0.07%
  • (+) WHO เผยพบโอมิครอนแล้วใน 89 ประเทศ ชี้เชื้อระบาดเพิ่ม 2 เท่าใน 3 วัน  องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยวานนี้ว่า ขณะนี้มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนแล้วใน 89 ประเทศ และผู้ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก 1 วันครึ่งถึง 3 วันหากมีการแพร่ระบาดในชุมชน  WHO เปิดเผยว่า อัตราการแพร่เชื้อของโอมิครอนนั้นรวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา ซึ่งหมายความว่าในท้ายที่สุดนั้นมีแนวโน้มที่เชื้อไวรัสโอมิครอนจะครองการระบาดสูงสุดในประเทศที่เกิดการติดเชื้อภายในชุมชน  นอกจากนี้ รายงานยังระบุอีกด้วยว่า แม้ในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงนั้นก็ยังพบการแพร่ระบาดของโอมิครอนในอัตราที่ค่อนข้างรวดเร็ว โดยขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า สาเหตุที่โอมิครอนแพร่เชื้อได้เร็วนั้นเป็นเพราะสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนหรือภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้หรือไม่
  • (+) วิจัยชี้ “โอมิครอน” เพิ่มโอกาสติดเชื้อซ้ำมากกว่า “เดลตา” 5 เท่า  ผลการวิจัยของอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน (ICL) บ่งชี้ว่า ความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนั้นมากกว่าสายพันธุ์เดลตาถึง 5 เท่า และยังไม่มีสัญญาณว่า การติดเชื้อไวรัสโอมิครอนนั้นมีความรุนแรงน้อยกว่าการติดเชื้อเดลตา ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นทั่วยุโรป และจะส่งผลกระทบต่อเทศกาลต่าง ๆ ในช่วงสิ้นปี
  • (+) ดัชนี PPI เยอรมนีพุ่งเกือบ 20% ในเดือนพ.ย. เหตุต้นทุนพลังงานดีดตัว  สำนักงานสถิติของเยอรมนี (Destatis) เผยวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของเยอรมนีดีดตัวขึ้น 19.2% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2494 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยได้แรงหนุนจากราคาพลังงานที่ดีดตัวขึ้น  ทั้งนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์โดยสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ดัชนี PPI เดือนพ.ย. จะปรับตัวขึ้น 19.9% เมื่อเทียบรายปี และปรับขึ้น 0.8% เมื่อเทียบรายเดือน
  • (-) ดอลล์พุ่งขึ้น วิตกโอมิครอนหนุนแรงซื้อ  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (17 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนได้พากันเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.55% แตะที่ 96.5741  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 113.69 เยน จากระดับ 113.59 เยน, แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9238 ฟรังก์ จากระดับ 0.9193 ฟรังก์ และดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2878 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2795 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1250 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1324 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าแตะที่ระดับ 1.3250 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3308 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7135 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7171 ดอลลาร์
  • (-) “ซิตี้กรุ๊ป” คาดเฟดประเดิมขึ้นดอกเบี้ยมี.ค.65 ทันทีที่ปิดฉาก QE  ซิตี้กรุ๊ปออกรายงานระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค.2565 ซึ่งเป็นเดือนที่เฟดยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)  “ในระยะกลาง ดอลลาร์ยังคงได้รับปัจจัยหนุนให้ดีดตัวขึ้น ขณะที่เฟดมีแนวโน้มเริ่มต้นวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค.2565” รายงานระบุ  นอกจากนี้ รายงานยังเปิดเผยว่า สกุลเงินและตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่มักปรับตัวลง ก่อนที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ธนาคารกลางในเอเชียยังไม่มีความจำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อไม่รุนแรงเหมือนชาติตะวันตก และเศรษฐกิจยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นการฟื้นตัว

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More