Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

วิเคราะห์ราคาทองคำ (YLG)

- Advertisement -

674

- Advertisement -

คำแนะนำการลงทุนทองคำวันนี้

หากระหว่างวันราคาทองคำไม่ทะลุแนวต้าน 1,732-1,747 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ราคาอาจแกว่งตัวออกด้านข้างและอาจจะเห็นการอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับบริเวณ 1,706-1,693  ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ1,7061,6931,674
แนวต้าน1,7471,7611,787
แนวรับ – แนวต้าน ราคาทองคำประจำวันที่ 16 เมษายน 2563

วานนี้ราคาหยุดการสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันก่อนหน้า หากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,732-1,747 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ (ระดับสูงสุดของวานนี้ และระดับสูงสุดของปี 2020 )อาจทำให้เกิดการอ่อนตัวลงของราคา แต่หากสามารถยืนเหนือโซนแนวรับ 1,706-1,693  ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ บ่งชี้ว่าแรงขายไม่มากและแนวโน้มราคายังคงเป็นทิศทางขาขึ้น

- Advertisement -

สรุป ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 7.05 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไร  หลังจากราคาทะยานขึ้นทำระดับสูงสุดปีนี้ครั้งใหม่ในวันทำการก่อนหน้า  ประกอบกับราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์หลังนักลงทุนกลับเข้าซื้อสกุลเงินปลอดภัย  เนื่องจากข้อมูลยอดค้าปลีกและภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐออกมาย่ำแย่เกินคาด  แสดงถึงความรุนแรงของกิจกรรมเศรษฐกิจที่ทรุดตัวลงจากการระบาดของ COVID-19  ทั้งนี้  ยอดค้าปลีกสหรัฐดิ่งลงเกินคาดถึง -8.7% ในเดือนมี.ค. ดิ่งลงหนักที่สุดนับตั้งแต่ที่รัฐบาลเริ่มมีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 1992 ส่วนดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ดิ่งลงเกินคาดเช่นกันแตะระดับ -78.2 ซึ่งต่ำกว่าระดับ -34.3 ที่ทำไว้ในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงิน  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำปรับตัวลดลงในกรอบจำกัด  เพราะตัวเลขเศรษฐกิจที่แย่เกินคาดนั่นบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ยังมีความจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินต่อไป  เพื่อฟื้นฟูความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะยังคงสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกแก่ราคาทองคำ  จึงมีแรงซื้อเข้ามาพยุงราคาทองคำเอาไว้  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่มวานนี้อีก +4.10 ตัน  สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจากเฟดฟิลาเดลเฟีย, การอนุญาตก่อสร้างและข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน

ข่าวสารประกอบการลงุทน

  • (+) “Beige Book” เผยเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวรุนแรงและทันทีจากโควิด-19  รายงาน “Beige Book” ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ฉบับล่าสุดระบุว่า กิจกรรมเศรษฐกิจแสดงการปรับลงอย่างหนักจากมาตรการต่างๆที่ใช้ในช่วงโควิด-19 โดยจนถึงขณะนี้ภาคสันทนาการและบริการ รวมทั้งค้าปลีกได้รับผลกระทบมากที่สุด  นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุว่า พื้นที่ส่วนใหญ่แสดงการปรับลงของภาคการผลิต ซึ่งมีความหลากหลายในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้ผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์มีอุปสงค์แข็งแกร่ง แต่เผชิญอุปสรรคในการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน  “กิจกรรมเศรษฐกิจหดตัวอย่างหนักทันทีทั่วทุกภูมิภาคในสหรัฐจากผลของการระบาดของโควิด-19 ทุกเขตรายงานแนวโน้มที่มีความไม่แน่นอนอย่างสูงในกลุ่มผู้ติดต่อธุรกิจ โดยส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ภาวะต่างๆจะรุนแรงขึ้นในหลายเดือนข้างหน้า”
  • (+) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกทรุด 8.7% ดิ่งหนักเป็นประวัติการณ์จากพิษโควิด  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกทรุดตัวลง 8.7% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการดิ่งลงหนักที่สุดนับตั้งแต่ที่รัฐบาลเริ่มมีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวตั้งแต่ปี 2535 และย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะร่วงลง 8.0% หลังจากลดลง 0.4% ในเดือนก.พ.  ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีการปิดร้านค้า ขณะที่ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน และลดการใช้จ่าย รวมทั้งลดการเดินทาง ซึ่งทำให้ยอดขายของสถานีบริการน้ำมันดิ่งลง
  • (+) เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมทรุดหนักสุดรอบ 74 ปีจากพิษโควิด  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐดิ่งลง 5.4% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงหนักที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2489 หลังจากเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.พ.  การปรับตัวลงของการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีสาเหตุจากการที่ห่วงโซ่อุปทานได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • (+) เฟดนิวยอร์คเผยดัชนีภาคการผลิตทรุดหนักเป็นประวัติการณ์จากพิษโควิด  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ดิ่งลงแตะระดับ -78.2 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ -32.5  นอกจากนี้ ดัชนีภาคการผลิตยังปรับตัวต่ำกว่าระดับ -34.3 ที่ทำไว้ในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงิน
  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 445.41 จุด วิตกผลประกอบการทรุดตัว,ข้อมูลศก.สหรัฐย่ำแย่  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) หลังจากธนาคารยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ซึ่งรวมถึงโกลด์แมน แซคส์ และแบงก์ ออฟ อเมริกา รายงานผลกำไรที่ทรุดตัวลงในไตรมาสแรกปีนี้ นอกจากนี้ ทางการสหรัฐยังได้เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่หลายรายการ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ดิ่งลงอย่างหนักในเดือนมี.ค. อันเนื่องมาจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดในสหรัฐ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,504.35 จุด ร่วงลง 445.41 จุด หรือ -1.86% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,783.36 จุด ลดลง 62.70 จุด หรือ -2.20% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,393.18 จุด ลดลง 122.56 จุด หรือ -1.44%
  • (-) ดอลล์แข็งเทียบสกุลเงินหลัก นักลงทุนแห่ซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหลังข้อมูลศก.สหรัฐย่ำแย่  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อดอลลาร์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกและดัชนีภาคการผลิตที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก  ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 107.45 เยน จากระดับ 107.16 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9636 ฟรังก์ จากระดับ 0.9602 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.4083 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3909 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0921 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0979 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2550 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2627 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6329 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6434 ดอลลาร์

ขอขอบคุณ บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More