ราคาทอง 2 เม.ย.67
สรุปภาพรวมราคาทองคํา
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (1 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่แข็งแกร่งเกินคาดและส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้น ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,566.85 จุด ลดลง 240.52 จุด หรือ -0.60%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,243.77 จุด ลดลง 10.58 จุด หรือ -0.20% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,396.83 จุด เพิ่มขึ้น 17.37 จุด หรือ +0.11%
- ตลาดหุ้นยุโรปปิดทำ การวันที่ 1 เม.ย. เนื่องในเทศกาลอีสเตอร์
สรุปข่าว
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (1 เม.ย.) ขานรับความหวังที่ว่าเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐและจีนจะเป็นปัจจัยหนุนอุปสงค์น้ำ มัน นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากแนวโน้มอุปทานน้ำมันตึงตัว อันเนื่องมาจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส และการโจมตีโรงกลั่นน้ำมันในรัสเซีย ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 83.71 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 42 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 87.42 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (1 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วน (PCE) สอดคล้องกับการคาดการณ์ ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 18.70 ดอลลาร์ หรือ 0.84% ปิดที่ 2,257.10 ดอลลาร์/ออนซ์
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (1 เม.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.46% แตะที่ระดับ 105.019
ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯวันนี้
- ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จาก JOLTs (ก.พ.)
- ยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน (เดือนต่อเดือน)(ก.พ.)
- คำกล่าวของสมาชิก FOMC โบว์แมน
- แนวรับรายวัน : 2,237 $ 2,231 $
- แนวต้านรายวัน : 2,261 $ 2,268 $
Comments are closed.