Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 22 มี.ค.65 by YLG

- Advertisement -

308

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ 1,917-1,913

จุดทำกำไร     ขายเพื่อทำกำไร $1,950-1,958

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,895

แนวรับ : 1,913 1,895 1,877  แนวต้าน : 1,958 1,974 1,991

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.21 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตลอดทั้งวันราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบ 1,940.21-1,918.08 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบกรอบบนท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน หลังจากโฆษกเครมลิน ระบุวานนี้ว่า ความคืบหน้าในการเจรจากับยูเครน ‘น้อยกว่าที่รัสเซียต้องการ’ นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่า กระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียได้เรียกตัวนายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐเข้าพบ เพื่อแจ้งว่าคำพูดของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐ ที่กล่าวโจมตีว่าประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียเป็น “อาชญากรสงคราม” นั้นได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสหรัฐเดินทางเข้าใกล้จุดแตกหัก ประกอบกับ สมาชิกสหภาพยุโรป (EU) กำลังพิจารณาคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียตามรอยสหรัฐ สถานการณ์ดังกล่าวนอกจากจะกระตุ้นแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยแล้วนั้น ยังหนุนราคาน้ำมันให้พุ่งขึ้นแรง จนกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้ออีกด้วย อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของทองคำยังอยู่ในกรอบจำกัด โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังนายเจอโรม พาวเวลล์ประธานเฟด กล่าววานนี้ว่า ด้วยตลาดแรงงานแข็งแกร่งอย่างมาก และอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไป ทำให้เฟดอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 25bps ในบางการประชุม หรือ ในหลายการประชุม “หากมีความจำเป็น” ถ้อยแถลงดังกล่าวกระตุ้นการคาดการณ์การเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย สะท้อนจาก Fed funds futures ที่ปรับตัวรับโอกาส 63% ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุมเดือนพ.ค. โดยเพิ่มขึ้นจากโอกาสประมาณ 52% ในวันก่อนหน้านั่นเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกทองคำ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +1.16 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตจากเฟดริชมอนด์

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) รัสเซียลั่นความสัมพันธ์กับสหรัฐใกล้ถึงจุดแตกหัก หลังไบเดนจวกปูตินเป็นอาชญากรสงคราม  กระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียเปิดเผยในวันนี้ว่า ทางการได้เรียกตัวนายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐเข้าพบ เพื่อแจ้งว่าคำพูดของปธน.โจ ไบเดน แห่งสหรัฐ ที่กล่าวโจมตีว่าปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียเป็น “อาชญากรสงคราม” นั้น ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสหรัฐเดินทางเข้าใกล้จุดแตกหัก  ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้น หลังเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปธน.ไบเดนกล่าวโจมตีว่า ปธน.ปูตินเป็นอาชญากรสงคราม หลังส่งกองกำลังทหารหลายหมื่นนายเข้าบุกโจมตียูเครน  แถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียระบุว่า  “ถ้อยแถลงดังกล่าวจากประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งไม่คู่ควรกับการเป็นรัฐบุรุษที่มีตำแหน่งสูงเช่นนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสหรัฐใกล้แตกสลาย” ขณะทำเนียบเครมลินระบุว่า คำกล่าวของผู้นำสหรัฐถือเป็นการดูถูกปธน.ปูตินเป็นการส่วนตัวด้วย  นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังระบุด้วยว่า การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัสเซียจะได้รับการตอบโต้อย่างเด็ดขาด
  • (+) น้ำมัน WTI ปิดพุ่ง $7.42 รับข่าว EU เล็งคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย  สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 7% ในวันจันทร์ (21 มี.ค.) หลังมีรายงานข่าวว่า ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) กำลังพิจารณาคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียตามรอยสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพรุ่งนี้  ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 7.42 ดอลลาร์ หรือ 7.09% ปิดที่ 112.12 ดอลลาร์/บาร์เรล  สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 7.69 ดอลลาร์ หรือ 7.12% ปิดที่ 115.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 201.94 จุด หลังพาวเวลส่งสัญญาณเร่งขึ้นดบ.  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (21 มี.ค.) หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ในระดับที่สูงเกินไป และเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,552.99 จุด ลดลง 201.94 จุด หรือ -0.58%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,461.18 จุด ลดลง 1.94 จุด หรือ -0.04% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,838.46 จุด ลดลง 55.38 จุด หรือ -0.40%
  • (-) ดอลล์แข็งค่า หลังพาวเวลส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ย  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (21 มี.ค.) หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ในระดับที่สูงเกินไป และเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.27% แตะที่ 98.4970 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 119.46 เยน จากระดับ 119.12 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9335 ฟรังก์ จากระดับ 0.9320 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2597 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2600 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1019 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1056 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3163 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3184 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7393 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7409 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+/-) นักวิเคราะห์คาด “สี จิ้นผิง” จะไม่ดำเนินนโยบายที่หักหน้า “ปูติน” กรณีบุกยูเครน  นายสกอตต์ เคนเนดี นักวิเคราะห์จากศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติ (CSIS) ระบุว่า จีนไม่ต้องการแสดงจุดยืนที่อาจทำให้รัสเซียเสียผลประโยชน์ ท่ามกลางแรงกดดันจากนานาชาติที่ร่วมกันคว่ำบาตรัสเซียจากกรณีการเข้าบุกโจมตียูเครนเมื่อเดือนที่ผ่านมา
  • (+/-) นักวิเคราะห์คาดรัสเซียไม่น่าชนะสงคราม เริ่มส่งสัญญาณหมดหวังแล้ว  เคิร์ท โวลเกอร์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำนาโต ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนว่า “ผมไม่คิดว่ารัสเซียจะชนะสงครามนี้ได้” เนื่องจากรัสเซียติดหล่ม มีปัญหากับซัพพลายและอาวุธยุทธภัณฑ์ ทั้งยังยึดครองเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญจริง ๆ ไม่ได้ แม้รัสเซียรุกรานยูเครนเข้าสัปดาห์ที่สี่แล้ว  นอกจากนี้ รัสเซียยังส่งสัญญาณที่สะท้อนให้เห็นว่ากำลังหมดหวัง ไม่ว่าจะขอความช่วยเหลือจากจีน หรือขู่โจมตีซัพพลายอาวุธที่ชาติสมาชิกนาโตส่งให้ยูเครน และขู่ใช้อาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพในการทำสงครามกับยูเครน

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More