Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 29 พ.ย.64 by YLG

- Advertisement -

314

- Advertisement -

คำแนะนำ       ซื้อ $1,779-1,766

จุดทำกำไร     ขายทำกำไร $1,815-1,821 ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,766

แนวรับ : 1,779 1,766 1,758  แนวต้าน : 1,821 1,833 1,849

สรุป  

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน แม้ตลาดสหรัฐจะเปิดทำการในวันศุกร์แค่เพียงครึ่งวันเนื่องในวัน Black Friday ทั้งนี้  ราคาทองคำปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงต้นวัน  โดยได้รับแรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ที่พบในแอฟริกาใต้  ที่นอกจากจะมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆแล้ว  ยังอาจจะดื้อวัคซีนอีกด้วย  สถานการณ์ดังกล่าวทำให้นักลงทุนพากันเทขายสินทรัพย์เสี่ยง  พร้อมเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยในวงกว้าง ทั้งทองคำ  เงินเยนญี่ปุ่น  ฟรังก์สวิส และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ  ขณะที่แรงซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ให้ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดนั้บตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย.ที่ 1.4765% จนเป็นปัจจัยหนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเพิ่ม  นั่นทำให้ราคาทองคำทะยานขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ  1,815.27 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนที่ราคาทองคำจะดิ่งลงกว่า 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับสูงสุดสู่ระดับต่ำสุดบริเวณ 1,780.86 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิค  หลังจากทองคำเข้าสู่ภาวะซื้อมากเกินไป  และเกิดสัญญาณทางเทคนิคที่บ่งชี้ว่าแรงซื้อเริ่มชะลอตัวลง  อีกทั้งดัชนีดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดที่  95.753 หลังเผชิญกับแรงขายทำกำไรในช่วงก่อนหน้า ปัจจัยกดดันดังกล่าวลดช่วงบวกของทองคำในช่วงปลายตลาด  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +1.74 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย  และถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดเพื่อเปิดงานสัมมนาทางเว็บที่จัดขึ้นโดยเฟดสาขานิวยอร์ก

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+)  ผลสำรวจชี้ชาวอเมริกัน 77% มองว่าเงินเฟ้อกระทบชีวิตประจำวันผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยยาฮูนิวส์ (Yahoo News) และยูกอฟ (YouGov) ระบุว่า ชาวอเมริกัน 77% คิดว่าภาวะเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันในระดับหนึ่ง  หนังสือพิมพ์นิวยอร์กโพสต์รายงานผลสำรวจดังกล่าว ซึ่งระบุเพิ่มเติมว่าชาวอเมริกัน 61% รู้สึกว่าวิกฤตห่วงโซ่อุปทานที่กำลังเกิดขึ้นและนำไปสู่การขาดแคลนอาหารและบริการนั้น ได้ก่อให้เกิดความไม่สะดวกสบายในชีวิต  ขณะเดียวกัน ชาวอเมริกัน 51% แสดงความกังวลว่าจะไม่มีศักยภาพพอที่จะซื้อของที่ต้องการในช่วงเทศกาลเนื่องจากเงินเฟ้อ ขณะที่ 45% เกรงว่าจะไม่สามารถซื้อของที่ต้องการได้เพราะห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก สำนักข่าวซินหัวรายงาน
  • (+) ยอดติดโควิดพุ่งแรงใน 2 เมืองใหญ่ในแอฟริกาใต้ ขณะนักวิทย์เจอ “โอไมครอน”สภาวิจัยทางการแพทย์ของแอฟริกาใต้ (SAMRC) เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์น้ำเสียพบว่า การติดเชื้อโควิด-19 กำลังพุ่งขึ้นใน 2 เมืองใหญ่  SAMRC ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ (26 พ.ย.) ว่า จำนวนไวรัสที่พบในตัวอย่างน้ำเสียได้พุ่งขึ้นในเดือนนี้ในเมืองชวาเน และเมืองจีเคอเปอร์ฮา
  • (+) CDC สหรัฐเฝ้าระวัง เผยยังไม่พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ “โอไมครอน”ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ (26 พ.ย.) ว่า ยังไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ในสหรัฐ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตก  “จนถึงขณะนี้ยังไม่พบสายพันธุ์ดังกล่าวในสหรัฐ โดย CDC ทำการตรวจสอบไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และระบบเฝ้าระวังไวรัสของสหรัฐได้ตรวจพบสายพันธุ์ใหม่ ๆ ในประเทศได้อย่างน่าเชื่อถือ เราคาดว่า โอไมครอนจะถูกตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว หากเกิดขึ้นในสหรัฐ
  • (+) สหรัฐห้ามผู้เดินทางจาก 8 ชาติในแอฟริกาเข้าประเทศ สกัดโควิดพันธุ์ใหม่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐประกาศในวันศุกร์ (26 พ.ย.) ว่า สหรัฐจะกำหนดข้อจำกัดด้านการเดินทางกับ 8 ประเทศในแอฟริกา เนื่องจากตรวจพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ในทวีปดังกล่าว  ปธน.ไบเดนระบุว่า ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 29 พ.ย. คณะบริหารของเขาจะสั่งจำกัดการเดินทางทางอากาศจากแอฟริกาใต้, บอตสวานา, ซิมบับเว, นามิเบีย, เลโซโท, เอสวาตินี, โมซัมบิก และมาลาวี เพื่อเป็นมาตรการป้องกันล่วงหน้าไม่ให้ไวรัส “โอไมครอน” ซึ่งเป็นไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ แพร่ระบาดเข้าสู่สหรัฐ 
  • (+) อนามัยโลกตั้งชื่อโควิดพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ประกาศเป็นสายพันธุ์น่าวิตกองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศในวันศุกร์ (26 พ.ย.) ว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ที่พบในแอฟริกาใต้นั้น เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตก โดยระบุว่า อาจแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ   WHO ระบุในแถลงการณ์ว่า จากหลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ และมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตรายในด้านระบาดวิทยาของไวรัสโควิด-19
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า นลท.เทขายจากวิตกโควิดพันธุ์ใหม่  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (26 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนพากันขายสินทรัพย์เสี่ยงและเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.75% แตะที่ 96.0468 ในวันศุกร์  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 113.13 เยน จากระดับ 115.36 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9217 ฟรังก์ จากระดับ 0.9357 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2783 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2648 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1313 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1209 ดอลลาร์ และเงินปอนด์แข็งค่าแตะที่ระดับ 1.3335 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3321 ดอลลาร์
  • (+) ดาวโจนส์ปิดดิ่ง 905.04 จุด วิตกโควิดพันธุ์ใหม่ทุบตลาดดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทรุดตัวลงอย่างรุนแรงในวันศุกร์ (26 พ.ย.) โดยหุ้นกลุ่มเดินทาง, กลุ่มธนาคาร และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ร่วงลงอย่างหนักจากแรงเทขายท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับรายงานการพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่อาจจะดื้อวัคซีน  ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,899.34 จุด ร่วงลง 905.04 จุด หรือ -2.53%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,594.62 จุด ร่วงลง 106.84 จุด หรือ -2.27% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,491.66 จุด ร่วงลง 353.57 จุด หรือ -2.23%
  • (-) บริษัทผลิตวัคซีนรายใหญ่เร่งตรวจสอบ พร้อมปรับวัคซีนสู้โควิด “โอไมครอน”  บรรดาบริษัทผลิตวัคซีนโควิด-19 รายใหญ่ของโลกเปิดเผยในวันศุกร์ (26 พ.ย.) ว่า พวกเขากำลังดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อตรวจสอบและปรับวัคซีนที่มีอยู่ให้สามารถป้องกันไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่  สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เปิดเผยในวันศุกร์ว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ โอไมครอนเป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ  ไฟเซอร์และไบออนเทคระบุว่า พวกเขากำลังตรวจสอบไวรัสโอไมครอน หรือ B.1.1.529 และสามารถที่จะปรับวัคซีนที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว หากจำเป็น 

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More