สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำผันผวนตามข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ
สัปดาห์นี้ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ทองคำคาดแกว่งตัวในกรอบแคบรอผลการประชุมเฟด
- สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำ Spot เคลื่อนไหวในกรอบ1,870-1,903 ดอลลาร์โดยนักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ประกาศในวันพฤหัสซึ่งดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายเดือนและเพิ่มขึ้น 5.0% เมื่อเทียบรายปีออกมาสูงกว่าตลาดคาด เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้มีแรงซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ที่ป้องกันอัตราเงินเฟ้อ แต่ในวันศุกร์มีแรงเทขายทองคำออกมาหลังจากสหรัฐประกาศดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นเป็น 86.4สูงกว่าตลาดคาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 84.1ทางด้านกองทุน SPDRGold Trust ซื้อทองคำ1.45 ตันในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- สัปดาห์นี้ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดการณ์ว่ายังคงตรึงนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไปแต่ต้องติดตามว่าเฟดอาจจะมีการส่งสัญญาณว่าจะปรับลดวงเงินในมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หรือไม่ที่อาจกระทบทางลบต่อราคาทองคำ นอกจากนี้ติดตามดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐเดือนพ.ค.ซึ่งตลาดคาดเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายเดือนและเพิ่มขึ้น 6.3% เมื่อเทียบรายปี
- แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดแกว่งตัวในกรอบแคบ เพื่อรอผลการประชุมเฟดที่จะทราบผลในคืนวันพุธทั้งนี้ควรระวังแรงขายในกรณีที่ไม่สามารถยืนเหนือแนวรับ 1,870 ดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาทองอ่อนตัวกลับลงไปยังแนวรับบริเวณ 1,850-1,855 ดอลลาร์ต่อไป
ราคาทองตลาดโลก
Close | chg. | Support | Resistance |
1,876.60 | -21.4 | 1,870/1,850 | 1,890/1,900 |
ราคาทองแท่ง 96.5%
Close | chg. | Support | Resistance |
27,650 | -200 | 27,500/27,250 | 27,800/27,950 |
โกลด์ฟิวเจอร์ส
Close | chg | Support | Resistance |
27,770 | -200 | 27,640/27,390 | 27,910/28,080 |
การเข้าซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวแนะนำเมื่อราคาทองคำ Spot ปรับลงมาที่1,870ดอลลาร์ (GF27,860บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,860ดอลลาร์ (GF 27,740บาท)
การลงทุนในทองแท่ง แนะนำทยอยสะสมเมื่อราคาทองคำ Spot ปรับลงมาที่1,850ดอลลาร์
โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์
Close | chg | Support | Resistance |
1,878.50 | -15.20 | 1,872/1,852 | 1,892/1,902 |
การเข้าซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวแนะนำเมื่อราคา GOM21 ปรับลงมาที่1,872ดอลลาร์โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,862ดอลลาร์
ค่าเงิน
ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 31.0-31.20 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเนื่องจากสหรัฐประกาศดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ของมหาวิทยาลัยมิชิแกนเพิ่มขึ้นเป็น 86.4สูงกว่าตลาดคาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 84.1สำหรับ USD Futures เดือนมิ.ย.2564 คาดจะมีแนวรับที่ 31.0 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 31.20 บาท/ดอลลาร์
News
ตลาดการเงินต่างประเทศ: ดอลล์แข็งค่าขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (11 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นในวันศุกร์หลังจากที่เปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินเพิ่มขึ้น 0.53% แตะที่ 90.5547 เมื่อคืนนี้
ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ :ทองปิดลบ $16.8 เหตุดอลล์แข็ง-ข้อมูลศก.แกร่งกดดันราคา
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 11 มิ.ย.) ที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐได้สร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยนอกจากนี้แรงขายทำกำไรถ่วงราคาทองคำลงด้วยหลังจากที่ราคาปรับตัวขึ้นติดต่อกันหลายวันจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐทั้งนี้สัญญาทองคำตลาดCOMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 16.8 ดอลลาร์หรือ 0.89% ปิดที่ 1,879.6 ดอลลาร์/ออนซ์ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 มิ.ย. และปรับตัวลง 0.7% ในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 11.5 เซนต์หรือ 0.41% ปิดที่ 28.146 ดอลลาร์/ออนซ์
ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ :น้ำมันWTI ปิดบวก 62 เซนต์ขานรับคาดการณ์ดีมานด์ฟื้นตัว
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (11 มิ.ย.) แตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีขานรับสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกจะกลับคืนสู่ระดับก่อนเกิดโรคโควิด-19 ระบาดได้ภายในสิ้นปีหน้าสัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 62 เซนต์หรือ 0.9% ปิดที่ 70.91 ดอลลาร์/บาร์เรลซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2561 และเพิ่มขึ้นเกือบ 1.9% ในรอบสัปดาห์นี้โดยเป็นการปรับตัวขึ้นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 17 เซนต์หรือ 0.2% ปิดที่ 72.69 ดอลลาร์/บาร์เรลซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2562 และปรับตัวขึ้น 1.1% ในรอบสัปดาห์นี้
ตลาดหุ้นต่างประเทศ :ดาวโจนส์ปิดบวก 13.36 จุดบอนด์ยีลด์ลดหนุนหุ้นเทคโนโลยี
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (11 มิ.ย.) และดัชนีS&P500 ปิดที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์อีกครั้งโดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ลดลงซึ่งช่วยหนุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นแม้นักลงทุนยังคงกังวลกับการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐก็ตามดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,479.60 จุดเพิ่มขึ้น 13.36 จุดหรือ +0.039%, ดัชนีS&P500 ปิดที่ 4,247.44 จุดเพิ่มขึ้น 8.26 จุดหรือ +0.19% และดัชนีNasdaq ปิดที่ 14,069.42 จุดเพิ่มขึ้น 49.09 จุดหรือ +0.35% ในรอบสัปดาห์นี้ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 0.8%, ดัชนีS&P500 เพิ่มขึ้น 0.4% และดัชนีNasdaq เพิ่มขึ้น 1.9%
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.