Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 25 มี.ค.64 (YLG)

- Advertisement -

918

- Advertisement -

คำแนะนำ : การลงทุนทองคำ

บริเวณ 1,724-1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่หลุด แนะนำเข้าซื้อ เพื่อทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว  ทั้งนี้ สามารถทยอยแบ่งปิดสถานะซื้อทำกำไร หากราคาดีดตัวขึ้นไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,737-1,743 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,717 1,707 1,690 แนวต้าน : 1,743 1,759 1,776

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.93 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำในระหว่างวันได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อ Buy the dip ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้น 

- Advertisement -

อาทิ  ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐหลังจากล่าสุดวานนี้ก.ล.ต.สหรัฐ ได้เริ่มใช้มาตรการตามกฎหมายใหม่ที่อาจจะถอดหุ้นของบริษัทจีนออกจากตลาดหุ้นสหรัฐแล้ว หากบริษัทเหล่านี้ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการตรวจสอบบัญชีของสหรัฐ 

ขณะที่เช้าวันนี้เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้  ญี่ปุ่นและสหรัฐ  ระบุตรงกันว่า  เกาหลีเหนือได้ยิงจรวดอย่างน้อย 2 ลูกซึ่งเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าอาจเป็นขีปนาวุธ(ballistic missiles)  อีกทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีได้ปรับตัวลดลงต่อ  หลังจากวานนี้ความต้องการประมูลพันธบัตรสหรัฐอายุ 5 ปีเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง 

ปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนให้ราคาทองคำสามารถฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดในแดนบวกได้  แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ก็ตาม 

ทั้งนี้  ดัชนีดอลลาร์ยังคงแข็งค่าต่อเนื่องเป็นวันทำการ 3 ติดต่อกัน  หลังจากวานนี้นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดและนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐได้แสดงความเชื่อมั่นว่า  “เศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงแข็งแกร่ง” 

ส่วนสกุลเงินยูโรยังอยู่ภายใต้แรงกดดันท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 ซึ่งช่วยสร้างแรงหนุนให้กับสกุลเงินดอลลาร์เพิ่มเติม 

- Advertisement -

นั่นทำให้การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำยังเป็นไปอย่างจำกัดเช่นกัน  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -2.33 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยประมาณการครั้งสุดท้ายจีดีพีไตรมาส 4/2020  และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 3.09 จุด จากแรงขายหุ้นเทคโนโลยี  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (24 มี.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการที่ประเทศยุโรปยังคงใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยปัจจับลบดังกล่าวได้บดบังแรงบวกจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ได้แสดงความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,420.06 จุด ลดลง 3.09 จุด หรือ -0.01% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,889.14 จุด ลดลง 21.38 จุด หรือ -0.55% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,961.89 จุด ลดลง 265.81 จุด หรือ -2.01%
  • (+) ก.ล.ต.สหรัฐเริ่มใช้มาตรการเปิดช่องถอดบริษัทจีนออกจากตลาดหุ้นสหรัฐแล้ว  คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) หรือก.ล.ต.สหรัฐ ได้เริ่มใช้มาตรการตามกฎหมายใหม่ที่อาจจะถอดหุ้นของบริษัทจีนออกจากตลาดหุ้นสหรัฐแล้ว หากบริษัทเหล่านี้ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการตรวจสอบบัญชีของสหรัฐ  ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในกฎหมาย Holding Foreign Companies Accountable Act ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่พุ่งเป้าถอดหลักทรัพย์ของบริษัทต่างๆ ออกจากตลาดสหรัฐ หากไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการตรวจสอบบัญชี Public Accounting Oversight Board (PCAOB) ของสหรัฐภายในระยะเวลา 3 ปี  ทั้งนี้ แม้กฎหมายดังกล่าวมีการบังคับใช้กับบริษัทต่างชาติทั้งหมดที่จดทะเบียนในสหรัฐ แต่ก็ถูกมองว่าเป็นการพุ่งเป้าไปยังบริษัทของจีนโดยเฉพาะ ซึ่งนับเป็นความพยายามอีกครั้งของอดีตปธน.ทรัมป์ที่จะเพิ่มความตึงเครียดกับจีน ก่อนที่เขาจะอำลาตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ
  • (+) ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการเบื้องต้นสหรัฐขยับลงเล็กน้อย  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของสหรัฐ อยู่ที่ระดับ 59.1 ในเดือนมี.ค. ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 59.5 ในเดือนก.พ.  ดัชนี PMI ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐมีการขยายตัว โดยได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมในภาคบริการ ส่วนในแง่ของยอดการผลิตนั้นขยายตัวได้ไม่มากนักเพราะมีปัญหาด้านซัพพลาย
  • (+) สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ. ลดลงครั้งแรกในรอบ 10 เดือน  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลง 1.1% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.5% ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.8%  ขณะที่ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ซึ่งเป็นคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน และสินค้าด้านอาวุธ โดยเป็นสิ่งบ่งชี้แผนการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ ลดลง 0.8% ในเดือนก.พ. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5%
  • (-) เนเธอร์แลนด์ขยายเวลาล็อกดาวน์ หลังผู้ติดเชื้อโควิดยังเพิ่มต่อเนื่อง  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายมาร์ค รุตเตอ นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลจะขยายเวลามาตรการล็อกดาวน์ออกไปจนถึงวันที่ 20 เม.ย. หลังจากที่ยังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้ต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น  นายรุตเตอกล่าวว่า “จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่ในแผนกผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเสี่ยงจะเกิดการแพร่ระบาดรอบ 3 จึงต้องขยายเวลาบังคับใช้มาตรการที่มีอยู่ต่อไป”
  • (-) ดอลล์แข็งค่า รับพาวเวล-เยลเลนมั่นใจแนวโน้มศก.สหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 มี.ค.) นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ แสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.21% แตะที่ 92.5328 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9355 ฟรังก์ จากระดับ 0.9338 ฟรังก์ แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 108.70 เยน จากระดับ 108.74 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2565 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2568 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1821 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1852 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3693 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3758 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7597 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7643 ดอลลาร์สหรัฐ

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More