ราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวไซด์เวย์ในกรอบ $1720-50 แต่แนวโน้มยังไม่สู้ดี เพราะดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อเนื่อง ประกอบกับในสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานที่คาดว่าจะออกมาดี ทำให้กดดันราคาทองคำโดยตรง
ภาพรวมการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังอยู่ในกรอบ 1,720-1,750 ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยลบจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสุดในรอบ 4 เดือน หลังจากการแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ร่วมกับรมว.คลังสหรัฐ ที่ได้แสดงมุมมองบวกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนั้นยังมาจากตัวเลขการจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สหรัฐ เดือน มี.ค.ทะยานขึ้นมากสุดในรอบเกือบ 8 ปี
ส่วนปัจจัยบวกต่อราคาทองคำมาจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากที่ประเทศในยุโรปยังคงใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19
ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วงเช้าที่ผ่านมา ราคาทองคําแกว่งตัวในกรอบ 1725-1732 ดอลลาร์ เมื่อราคาขยับขึ้น ยังเห็นแรงขายสลับออกมา (ดูกราฟการเคลื่อนไหวราคาทองคำ..) ด้าน Dollar Index ยังทรงตัวไม่ไกลจากระดับสูงสุดรอบ 4 เดือน ซึ่งล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 92.80 จุด และยังคงเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน จึงกระตุ้นแรงขายทองคํา ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี อยู่ที่ 1.641% ส่วนราคาทองคำในประเทศที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำ วันนี้จนถึง ณ เวลา 14.30 น. ประกาศปรับเปลี่ยน 4 ครั้ง รวมลดลงบาทละ 50 บาท (ดูตารางราคาทองคำของสมาคมค้าทองคำ )
สัปดาห์นี้ประเด็นสำคัญติดตามตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐเดือนมี.ค. ซึ่งถ้าตัวเลขจริงออกมาดีกว่าหรือแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้อย่างมาก คาดจะทำให้ราคาทองคำเคลื่อนไหวผันผวนมาก ซึ่งตลาดคาดการจ้างงานภาคเอกชน ADP และการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.จะเพิ่มขึ้น 557,000 ตำแหน่ง และ 663,000 ตำแหน่ง ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ยังต้องติดตาม ได้แก่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ทิศทางเงินดอลลาร์ แรงซื้อขายทองคำของกองทุนอีทีเอฟทองคำ
ไปดูการคาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวราคาทองคำวันนี้
แนวต้าน 1,745 ดอลลาร์ 1,759 ดอลลาร์ และ1,776 ดอลลาร์
แนวรับ 1,717 ดอลลาร์ 1,707 ดอลลาร์ และ 1,690 ดอลลาร์
(อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..คลิก..)
แนวต้าน 1,735 ดอลลาร์ 1,745 ดอลลาร์ และ1,750 ดอลลาร์
แนวรับ 1,720 ดอลลาร์ 1,715 ดอลลาร์ และ 1,710 ดอลลาร์
(อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..คลิก..)
แนวต้าน 1,743 ดอลลาร์ 1,748 ดอลลาร์ และ1,753 ดอลลาร์
แนวรับ 1,720 ดอลลาร์ 1,715 ดอลลาร์ และ 1,710 ดอลลาร์
(อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..คลิก..)
แนวรับ 1,720 ดอลลาร์ และ 1,700 ดอลลาร์
แนวต้าน 1,740 ดอลลาร์ และ 1,750-55 ดอลลาร์
(อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..คลิก..)
จุดซื้อ 1,719 ดอลลาร์ หรือบาทละ 25,410 บาท
จุดขาย 1,738 ดอลลาร์ หรือบาทละ 25,620 บาท
(อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..คลิก..)
แนวรับ 1,700-1,710 ดอลลาร์
แนวต้าน 1,740 ดอลลาร์
(อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..คลิก..)
หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช่การชักชวนให้ซื้อ-ขาย หรือลงทุน หรือเป็นเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ และอาจะไม่สะท้อนถึงความเห็นของ GoldAround.com ทั้งนี้ทีมงานไม่ยอมรับความผิดในความสูญเสีย และหรือ ความเสียหายที่เกิดจากการใช้ข้อมูลข้างต้น
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.